รมช.สธ.เผยความคืบหน้าโครงการไข่ใหม่แลกยาเก่า 2 วันที่ผ่านมา ได้รับยาคืนแล้ว 8.7 ล้านเม็ด คาดสิ้นสุดโครงการในวันที่ 5 ก.ค.นี้ จะได้รับยาเก่าคืนประมาณ 20 ล้านเม็ด
วันนี้ (4 ก.ค.) ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าโครงการไข่ใหม่ แลกยาเก่า ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดงบประมาณให้แต่ละจังหวัดๆ ละ 100,000 บาท เพื่อแลกคืนยาเก่าที่เป็นยาแผนปัจจุบัน ประชาชนไม่ได้ใช้แล้ว รวบรวมนำมาคัดแยกทำลายยาที่หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ และนำยาที่ยังใช้ได้กลับเข้าสู่ระบบบริการ ผลการดำเนินงาน 2 วันที่ผ่านมา ได้รับยาเก่าคืนมาจำนวน 8.7 ล้านเม็ด คาดว่า ตลอดช่วงของการรับแลกตั้งแต่วันที่ 2-5 กรกฎาคมนี้ จะได้รับยาคืนทั้งหมดประมาณ 20 ล้านเม็ด และหากพบว่ายังมีประชาชนที่เก็บยาเก่าไว้เหลือค้าง ต้องการที่จะมาแลกไข่เพิ่ม ก็จะพิจารณาขยายเวลาและงบประมาณเพิ่มเติม
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า งบประมาณในการจัดซื้อไข่เพื่อนำมาแลกกับยากลับคืนจากประชาชนนั้น ไม่น่ามีปัญหาเพราะใช้งบประมาณไม่มาก ยกตัวอย่างเช่น ใช้เงินสำหรับการซื้อไข่จำนวน 4,000 บาท แต่ได้ยาคืนมูลค่าประมาณ 70,000-80,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า และเป้าหมายที่แท้จริงของโครงการนี้ ก็คือ ต้องการเก็บคืนและรวบรวมยาเก่าที่ไม่ได้ใช้ ทั้งยาที่ประชาชนซื้อหาเองจากร้านขายยา หรือได้รับยาจากสถานพยาบาลต่างๆ แล้วใช้ไม่ตรงตามที่แพทย์แนะนำหรือลืมรับประทาน ทำให้มียาเหลืออยู่ ซึ่งหากเป็นยาที่หมดอายุแล้วประชาชนนำไปใช้อาจจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมทั้งจะทำให้ทราบจำนวนยาเก่าที่ประชาชนไม่ได้ใช้ว่ามีมากน้อยเพียงใด
“ในอนาคตกระทรวงสาธารณสุขจะมีนโยบายควบคุมการใช้ยา เพื่อไม่ให้มีการใช้ยามากเกินจำเป็น โดยปัจจุบันประเทศไทยใช้ยาปีละประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องมีระบบการควบคุมกระบวนการต่างๆ และจะเร่งสร้างจิตสำนึกในเรื่องของการใช้ยา ทั้งในส่วนของผู้ป่วยและแพทย์ผู้จ่ายยาต่อไปด้วย ในอนาคตสถานบริการแต่ละแห่ง จะมีถุงยาให้กับคนไข้ที่มาตรวจรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อใส่ยาที่เหลือมาพบแพทย์ในการตรวจรักษาครั้งต่อไป เพื่อให้แพทย์สั่งจ่ายยาได้อย่างเหมาะสม”
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าบางพื้นที่ยังไม่ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อไข่นั้น รมช.สธ.กล่าวว่า คิดว่าเป็นเรื่องการบริหารจัดการภายในของแต่ละจังหวัด อย่างไรก็ตาม จะเร่งรัดติดตามการดำเนินงานในทุกพื้นที่ หากจังหวัดใดที่ยังไม่ได้รับเงินงบประมาณก็สามารถสำรองจ่ายไปก่อนได้ หรือหากเงินไม่พอกระทรวงสาธารณสุขพร้อมที่จะบริหารจัดการดูแลในเรื่องนี้
วันนี้ (4 ก.ค.) ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าโครงการไข่ใหม่ แลกยาเก่า ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดงบประมาณให้แต่ละจังหวัดๆ ละ 100,000 บาท เพื่อแลกคืนยาเก่าที่เป็นยาแผนปัจจุบัน ประชาชนไม่ได้ใช้แล้ว รวบรวมนำมาคัดแยกทำลายยาที่หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ และนำยาที่ยังใช้ได้กลับเข้าสู่ระบบบริการ ผลการดำเนินงาน 2 วันที่ผ่านมา ได้รับยาเก่าคืนมาจำนวน 8.7 ล้านเม็ด คาดว่า ตลอดช่วงของการรับแลกตั้งแต่วันที่ 2-5 กรกฎาคมนี้ จะได้รับยาคืนทั้งหมดประมาณ 20 ล้านเม็ด และหากพบว่ายังมีประชาชนที่เก็บยาเก่าไว้เหลือค้าง ต้องการที่จะมาแลกไข่เพิ่ม ก็จะพิจารณาขยายเวลาและงบประมาณเพิ่มเติม
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า งบประมาณในการจัดซื้อไข่เพื่อนำมาแลกกับยากลับคืนจากประชาชนนั้น ไม่น่ามีปัญหาเพราะใช้งบประมาณไม่มาก ยกตัวอย่างเช่น ใช้เงินสำหรับการซื้อไข่จำนวน 4,000 บาท แต่ได้ยาคืนมูลค่าประมาณ 70,000-80,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า และเป้าหมายที่แท้จริงของโครงการนี้ ก็คือ ต้องการเก็บคืนและรวบรวมยาเก่าที่ไม่ได้ใช้ ทั้งยาที่ประชาชนซื้อหาเองจากร้านขายยา หรือได้รับยาจากสถานพยาบาลต่างๆ แล้วใช้ไม่ตรงตามที่แพทย์แนะนำหรือลืมรับประทาน ทำให้มียาเหลืออยู่ ซึ่งหากเป็นยาที่หมดอายุแล้วประชาชนนำไปใช้อาจจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมทั้งจะทำให้ทราบจำนวนยาเก่าที่ประชาชนไม่ได้ใช้ว่ามีมากน้อยเพียงใด
“ในอนาคตกระทรวงสาธารณสุขจะมีนโยบายควบคุมการใช้ยา เพื่อไม่ให้มีการใช้ยามากเกินจำเป็น โดยปัจจุบันประเทศไทยใช้ยาปีละประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องมีระบบการควบคุมกระบวนการต่างๆ และจะเร่งสร้างจิตสำนึกในเรื่องของการใช้ยา ทั้งในส่วนของผู้ป่วยและแพทย์ผู้จ่ายยาต่อไปด้วย ในอนาคตสถานบริการแต่ละแห่ง จะมีถุงยาให้กับคนไข้ที่มาตรวจรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อใส่ยาที่เหลือมาพบแพทย์ในการตรวจรักษาครั้งต่อไป เพื่อให้แพทย์สั่งจ่ายยาได้อย่างเหมาะสม”
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าบางพื้นที่ยังไม่ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อไข่นั้น รมช.สธ.กล่าวว่า คิดว่าเป็นเรื่องการบริหารจัดการภายในของแต่ละจังหวัด อย่างไรก็ตาม จะเร่งรัดติดตามการดำเนินงานในทุกพื้นที่ หากจังหวัดใดที่ยังไม่ได้รับเงินงบประมาณก็สามารถสำรองจ่ายไปก่อนได้ หรือหากเงินไม่พอกระทรวงสาธารณสุขพร้อมที่จะบริหารจัดการดูแลในเรื่องนี้