แอดมิชชันฟอรัม ชงยกเลิกสอบ PAT1, 2, 3 ใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชาแทน ด้าน ประธาน ทปอ.มอบให้กลับไปศึกษาข้อดีข้อเสียก่อน ขณะที่อธิบดีบางคนระบุวัตถุประสงค์การใช้ต่างกันแทนกันไม่ได้ ชี้หากปรับจะมีผลต่อแอดมิชชันปี 58 “พงษ์อินทร์” แจงเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่รองรับเข้าสู่อาเซียน ย้ำหากปรับเปลี่ยนต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เมื่อเร็วๆ นี้ คณะทำงานแอดมิชชันฟอรัม ที่มี ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นประธาน ได้เสนอให้มีการยกเลิกการสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT ในส่วนของ PAT1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT2 หรือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ และ PAT3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ และใช้คะแนนจากการสอบวิชาสามัญ 7 วิชาแทน ทั้งนี้ ที่ประชุม ทปอ.ยังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว และได้ขอให้คณะทำงานแอดมิชชันฟอรั่ม ไปศึกษาถึงข้อดีข้อเสียเรื่องนี้ก่อน และนำมาเสนอที่ประชุม ทปอ.ในวันที่ 26 สิงหาคมอีกครั้ง หากผลจากการประชุมครั้งนี้มีมติให้มีการยกเลิกสอบ PAT1, 2, 3 ก็จะเริ่มปรับใช้ในปี 2558
“มีการอภิปรายในที่ประชุมค่อนข้างมากเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว โดยท่านอธิการบดี บางส่วนไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิก PAT1, 2, 3 แล้วมาใช้วิชาสามัญ 7 วิชาแทน เพราะเห็นว่าการสอบ PAT เป็นการสอบเฉพาะเรื่องและมีความจำเป็น หากเอาวิชาสามัญ 7 วิชามาแทนคงไม่ได้ เพราะวัตถุประสงค์ของการสอบไม่เหมือนกัน ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนก็จะมีผลต่อระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชัน ในปีการศึกษา 2558 เพราะโดยปกติการปรับเปลี่ยนใดๆ ก็ตามจะต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวผมเองย้ำเสมอว่าไม่อยากให้ปรับบ่อย เพราะยิ่งปรับบ่อยยิ่งมีปัญหาแลไม่ช่วยให้เกิดผลดีกับนักเรียน และผมเชื่อว่า ทุกระบบนั้นมักจะมีปัญหาแต่เราก็สามารถปรับแก้ไขได้” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวของคณะทำงานแอดมิชชันฟอรัมนั้น เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายระยะยาวเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเพราะต่างประเทศก็ไม่มีการสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT/PAT ประเทศไทยเองก็ต้องปรับตัวทำระบบการศึกษาให้มีมาตรฐานเป็นระบบสากล ก็จะทำให้นักเรียนต่างประเทศ หรือนักเรียนไทยที่เรียบจบจากต่างประเทศสามารถเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขมาก ซึ่งสามารถใช้คะแนนสอบวัดผลในระดับมัธยม หรือคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และคะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชามาสมัครมาใช้สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้เลย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาหลายมหาวิทยาลัยได้เสนอให้แยกสอบเป็นรายวิชา อย่างเช่น PAT2 วัดความถนัดในวิชาวิทยาศาสตร์ ให้แยกเป็น PAT2.1 ถนัดเฉพาะวิชาฟิสิกส์ PAT2.3 ถนัดเฉพาะวิชาเคมี และ PAT2.3 เฉพาะวิชาชีววิทยา ส่วน PAT1 และ PAT3 ก็มีปัญหาว่า ผลคะแนนของเด็กที่สอบไม่เป็นไปตามความถนัดที่ต้องการจะเน้นจริงๆ เช่น PAT3 วัดความถนัดด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่ควรเน้นในวิชาฟิสิกส์ก็เป็นการสอบสายวิทยาศาสตร์ร่วมๆ และทั้ง PAT1, 2, 3 สอดคล้องกับการสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ซึ่งมีการสอบวิชาเหล่านี้อยู่แล้ว จึงคิดว่าน่าจะยกเลิกการสอบเหล่านี้ เพื่อลดจำนวนการสอบของเด็กลง
“เวลานี้ยังไม่มีข้อสรุป เพราะ ทปอ.มอบให้คณะทำงานแอดมิชชันฟอรั่ม ไปศึกษาข้อดีข้อเสียก่อน ในการประชุมที่ผ่านมานั้น มีทั้งคนที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยโดยผู้ที่ไม่เห็นด้วย เสนอว่าควรจะให้มีการสอบ GAT/PAT ต่อ เนื่องจากเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเด็กในโรงเรียนดังที่มีคะแนนในวิชาเหล่านี้ดีกว่าเด็กจากต่างจังหวัด จึงขอให้มองผลดีผลเสียให้รอบด้านก่อนสรุป” ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ กล่าว
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เมื่อเร็วๆ นี้ คณะทำงานแอดมิชชันฟอรัม ที่มี ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นประธาน ได้เสนอให้มีการยกเลิกการสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT ในส่วนของ PAT1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT2 หรือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ และ PAT3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ และใช้คะแนนจากการสอบวิชาสามัญ 7 วิชาแทน ทั้งนี้ ที่ประชุม ทปอ.ยังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว และได้ขอให้คณะทำงานแอดมิชชันฟอรั่ม ไปศึกษาถึงข้อดีข้อเสียเรื่องนี้ก่อน และนำมาเสนอที่ประชุม ทปอ.ในวันที่ 26 สิงหาคมอีกครั้ง หากผลจากการประชุมครั้งนี้มีมติให้มีการยกเลิกสอบ PAT1, 2, 3 ก็จะเริ่มปรับใช้ในปี 2558
“มีการอภิปรายในที่ประชุมค่อนข้างมากเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว โดยท่านอธิการบดี บางส่วนไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิก PAT1, 2, 3 แล้วมาใช้วิชาสามัญ 7 วิชาแทน เพราะเห็นว่าการสอบ PAT เป็นการสอบเฉพาะเรื่องและมีความจำเป็น หากเอาวิชาสามัญ 7 วิชามาแทนคงไม่ได้ เพราะวัตถุประสงค์ของการสอบไม่เหมือนกัน ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนก็จะมีผลต่อระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชัน ในปีการศึกษา 2558 เพราะโดยปกติการปรับเปลี่ยนใดๆ ก็ตามจะต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวผมเองย้ำเสมอว่าไม่อยากให้ปรับบ่อย เพราะยิ่งปรับบ่อยยิ่งมีปัญหาแลไม่ช่วยให้เกิดผลดีกับนักเรียน และผมเชื่อว่า ทุกระบบนั้นมักจะมีปัญหาแต่เราก็สามารถปรับแก้ไขได้” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวของคณะทำงานแอดมิชชันฟอรัมนั้น เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายระยะยาวเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเพราะต่างประเทศก็ไม่มีการสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT/PAT ประเทศไทยเองก็ต้องปรับตัวทำระบบการศึกษาให้มีมาตรฐานเป็นระบบสากล ก็จะทำให้นักเรียนต่างประเทศ หรือนักเรียนไทยที่เรียบจบจากต่างประเทศสามารถเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขมาก ซึ่งสามารถใช้คะแนนสอบวัดผลในระดับมัธยม หรือคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และคะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชามาสมัครมาใช้สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้เลย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาหลายมหาวิทยาลัยได้เสนอให้แยกสอบเป็นรายวิชา อย่างเช่น PAT2 วัดความถนัดในวิชาวิทยาศาสตร์ ให้แยกเป็น PAT2.1 ถนัดเฉพาะวิชาฟิสิกส์ PAT2.3 ถนัดเฉพาะวิชาเคมี และ PAT2.3 เฉพาะวิชาชีววิทยา ส่วน PAT1 และ PAT3 ก็มีปัญหาว่า ผลคะแนนของเด็กที่สอบไม่เป็นไปตามความถนัดที่ต้องการจะเน้นจริงๆ เช่น PAT3 วัดความถนัดด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่ควรเน้นในวิชาฟิสิกส์ก็เป็นการสอบสายวิทยาศาสตร์ร่วมๆ และทั้ง PAT1, 2, 3 สอดคล้องกับการสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ซึ่งมีการสอบวิชาเหล่านี้อยู่แล้ว จึงคิดว่าน่าจะยกเลิกการสอบเหล่านี้ เพื่อลดจำนวนการสอบของเด็กลง
“เวลานี้ยังไม่มีข้อสรุป เพราะ ทปอ.มอบให้คณะทำงานแอดมิชชันฟอรั่ม ไปศึกษาข้อดีข้อเสียก่อน ในการประชุมที่ผ่านมานั้น มีทั้งคนที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยโดยผู้ที่ไม่เห็นด้วย เสนอว่าควรจะให้มีการสอบ GAT/PAT ต่อ เนื่องจากเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเด็กในโรงเรียนดังที่มีคะแนนในวิชาเหล่านี้ดีกว่าเด็กจากต่างจังหวัด จึงขอให้มองผลดีผลเสียให้รอบด้านก่อนสรุป” ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ กล่าว