ครม.อนุมัติงบกว่า 7 พันล้าน ให้ ศธ.ใช้เดินหน้าโครงการ 1 อ.1 ทุน รุ่น 3 ตั้งแต่ปีงบ 55-62 พร้อมไฟเขียวแก้เกณฑ์ทุนรุ่น 3 ใหม่ ไม่จำกัดรายได้ขั้นต่ำของผู้มีสิทธิ์รับทุน พร้อมเปิดโอกาสให้เลือกเรียนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ จากเดิมทีรุ่นที่ 1 และ 2 จะต้องเลือกเรียนแต่ประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเท่านั้น
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอของบประมาณในการดำเนินงานโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน (One District One Scholarship) หรือทุนโอดอส รุ่นที่ 3 มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปีงบ 2555-2562 ประมาณการงบประมาณในการดำเนินการ 7,183,761,700 บาท และขอความเห็นชอบปรับองค์ประกอบคณะกรรมการโครงการ เพื่อให้การดำเนินการรุ่นที่ 3 สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและเกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวม โดยให้มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการรวม 27 คน จากเดิม 25 คน ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตรวจสอบรายชื่อคณะกรรมการในองค์ประกอบคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ที่เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ไม่มีท่านใดดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบตามที่เสนอปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์โครงการ คือ ขอแก้ไขเรื่องรายได้ผู้มีสิทธิขอรับทุน จากเดิมกำหนดให้ผู้ขอรับทุนต้องเป็นคนยากจน มีรายได้ครอบครัวไม่เกินปีละ 150,000 บาท และกำหนดให้ผู้ขอรับทุนต้องมีเอกสารยืนยันรายได้ครอบครัว แต่ ศธ.เห็นว่า การไปกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว กลับเป็นการกีดกัน ไม่ให้เด็กยากจนมาสมัครขอรับทุนได้ ซึ่งทุน 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ก็มีหลายอำเภอที่ไม่มีเด็กมาขอรับทุน เพราะเด็กยากจนไม่สามารถหาผู้ค้ำประกัน หรือเซ็นยืนยันเรื่องรายได้ได้ สุดท้ายกลายเป็นว่า ลูกหลานคนมีเส้นสาย ก็ไปซิกแซกเพื่อให้ได้รับทุน ทั้งที่รายครอบครัวได้ต่อปีอาจจะเกิน 150,000 ต่อปี ดังนั้น จึงมีการแก้ไขเกณฑ์การขอรับทุนใหม่ ยกเลิกการจำกัดรายได้ครอบครัวผู้ขอรับทุน
“ประเทศไทยแบ่งแยก รวยจน ตามภูมิศาสตร์อยู่แล้ว คนรวยก็อยู่ในเมือง คนจนอยู่ตามอำเภอรอบนอก นอกจากนั้น ผมยังมองว่า ประเทศไทยยังเป็นประเทศยากจน ที่ต้องการกำลังคนกลับมาพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะเลือกเฉพาะเด็กยากจน แต่ต้องเลือกที่มีศักยภาพเพียงพอจะเรียนในต่างประเทศได้ดี และกลับมาพัฒนาประเทศได้”รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ศ.ดร.สุชาติ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ยังมีการขอปรับแก้เกณฑ์ส่วนของประเทศที่จะส่งนักเรียนทุนไปศึกษาต่อด้วย จากเดิมกำหนดให้ส่งไปในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ซึ่งในรุ่นที่ 1 และ 2 ได้ไปศึกษาต่อใน 18 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สเปน ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อียิปต์ และประเทศไทย แต่สำหรับรุ่นที่ 3 นั้น ตนเห็นว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้สื่อสารกัน ดังนั้น ควรจะส่งไปเรียนในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งจะพิจารณาจากประเทศที่มีระบบการศึกษาไม่ซับซ้อนมีมหาวิทยาลัยติดอันดับโลก และส่งเสริมให้ได้เรียนในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอของบประมาณในการดำเนินงานโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน (One District One Scholarship) หรือทุนโอดอส รุ่นที่ 3 มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปีงบ 2555-2562 ประมาณการงบประมาณในการดำเนินการ 7,183,761,700 บาท และขอความเห็นชอบปรับองค์ประกอบคณะกรรมการโครงการ เพื่อให้การดำเนินการรุ่นที่ 3 สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและเกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวม โดยให้มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการรวม 27 คน จากเดิม 25 คน ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตรวจสอบรายชื่อคณะกรรมการในองค์ประกอบคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ที่เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ไม่มีท่านใดดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบตามที่เสนอปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์โครงการ คือ ขอแก้ไขเรื่องรายได้ผู้มีสิทธิขอรับทุน จากเดิมกำหนดให้ผู้ขอรับทุนต้องเป็นคนยากจน มีรายได้ครอบครัวไม่เกินปีละ 150,000 บาท และกำหนดให้ผู้ขอรับทุนต้องมีเอกสารยืนยันรายได้ครอบครัว แต่ ศธ.เห็นว่า การไปกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว กลับเป็นการกีดกัน ไม่ให้เด็กยากจนมาสมัครขอรับทุนได้ ซึ่งทุน 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ก็มีหลายอำเภอที่ไม่มีเด็กมาขอรับทุน เพราะเด็กยากจนไม่สามารถหาผู้ค้ำประกัน หรือเซ็นยืนยันเรื่องรายได้ได้ สุดท้ายกลายเป็นว่า ลูกหลานคนมีเส้นสาย ก็ไปซิกแซกเพื่อให้ได้รับทุน ทั้งที่รายครอบครัวได้ต่อปีอาจจะเกิน 150,000 ต่อปี ดังนั้น จึงมีการแก้ไขเกณฑ์การขอรับทุนใหม่ ยกเลิกการจำกัดรายได้ครอบครัวผู้ขอรับทุน
“ประเทศไทยแบ่งแยก รวยจน ตามภูมิศาสตร์อยู่แล้ว คนรวยก็อยู่ในเมือง คนจนอยู่ตามอำเภอรอบนอก นอกจากนั้น ผมยังมองว่า ประเทศไทยยังเป็นประเทศยากจน ที่ต้องการกำลังคนกลับมาพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะเลือกเฉพาะเด็กยากจน แต่ต้องเลือกที่มีศักยภาพเพียงพอจะเรียนในต่างประเทศได้ดี และกลับมาพัฒนาประเทศได้”รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ศ.ดร.สุชาติ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ยังมีการขอปรับแก้เกณฑ์ส่วนของประเทศที่จะส่งนักเรียนทุนไปศึกษาต่อด้วย จากเดิมกำหนดให้ส่งไปในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ซึ่งในรุ่นที่ 1 และ 2 ได้ไปศึกษาต่อใน 18 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สเปน ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อียิปต์ และประเทศไทย แต่สำหรับรุ่นที่ 3 นั้น ตนเห็นว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้สื่อสารกัน ดังนั้น ควรจะส่งไปเรียนในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งจะพิจารณาจากประเทศที่มีระบบการศึกษาไม่ซับซ้อนมีมหาวิทยาลัยติดอันดับโลก และส่งเสริมให้ได้เรียนในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ