สธ.เปิดตัวการแพทย์แนวใหม่ “เภสัชพันธุศาสตร์” พัฒนาเทคนิคตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงจากยา 3 ชนิด “ยาลมชัก ยาลดกรดยูริก และยาต้านไวรัส” ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างปลอดภัย ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
วันนี้ (7 มิ.ย.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานแถลงข่าว “การตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง” ว่า จากการศึกษาหาลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาบางชนิดในชาวเอเชียและชาวไทย พบว่า พันธุกรรม HLA-B*1502 อัลลีล (อ่านว่า เอชแอลเอบีหนึ่งห้าศูนย์สองอัลลีล) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการแพ้ยากันชัก Carbamazepine และพันธุกรรม HLA-B*5801 อัลลีล (เอชแอลเอบีห้าแปดศูนย์หนึ่งอัลลีล) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการ แพ้ยา Allopurinol ซึ่งเป็นยาลดกรดยูริกในเลือด และพันธุกรรม HLA-B*5701 อัลลีล (เอชแอลเอบีห้าเจ็ดศูนย์หนึ่ง อัลลีล) เกี่ยวข้องกับการแพ้ยา Abacavir ที่เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ลักษณะทางพันธุกรรม HLA-B*1052 พบได้บ่อยในคนเอเชีย รวมทั้งคนไทยและคนจีน ในคนไทยสามารถพบลักษณะทางพันธุกรรมชนิด HLA-B*1502 อัลลีล 15% และ HLA-B*5801 อัลลีล 15% ส่วน HLA-B*5701 พบได้น้อยประมาณ 1% ข้อมูลจากการสำรวจร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ยารุนแรง จากยาลมชัก 6,000-7,500 คน
ทั้งนี้ แนวโน้มการใช้ยาดังกล่าว และยาลดกรดยูริก มีมากขึ้น ส่งผลให้คนไทยมีโอกาสแพ้ยารุนแรงเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นถึงปัญหา จึงได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง ซึ่งถือเป็นการแพทย์แขนงใหม่ ที่เรียกว่า เภสัชพันธุศาสตร์ เป็นการใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วยในการเลือกใช้ยา ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน หรือที่เรียกว่า Personalized medicine โดยการพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเอชเอลเออัลลีลให้กับผู้ป่วยก่อนเริ่มการใช้ยาทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ยากันชัก Carbamazepine ยาลดกรดยูริกในเลือด Allopurinol และยาต้านไวรัส Abacavir ซึ่งการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะผื่นแพ้ยารุนแรงนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการบรรเทาปัญหาการแพ้ยารุนแรงทางผิวหนังในผู้ป่วยชาวไทย และถือเป็นการยกระดับมาตรฐาน การสาธารณสุขของประเทศ จากเดิมที่เพียงแค่ทำการรักษาภาวะผื่นแพ้ยารุนแรงไปสู่การป้องกันการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ด้วยวิทยาการสมัยใหม่
รมข.สธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของผื่นแพ้ยาเป็นกลุ่มอาการที่รวมถึงภาวะการมีไข้และออกผื่น ซึ่งเกิดผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายในด้วย โดยทั่วไปจะเกิดหลังจากได้รับยามาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ส่วนอาการผื่นแพ้ยาแบบรุนแรง หรือ Severe Cutaneous Adverse Reaction นั้นจะรวมถึงกลุ่มอาการ Steven-Johnson Syndrome หรือ SJS และ Toxic Epidermal Necrolysis หรือ TENS ที่ผิวหนังมีอาการอักเสบรุนแรง เป็นแผลพุพองเหมือนโดนไฟไหม้ และมีอาการหลุดลอกของผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุในช่องปาก ริมฝีปาก เยื่อบุทางเดินอาหารและเยื่อบุตา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสพิการและเสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 30 ดังนั้นเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมที่กรมวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น เป็นวิธีการตรวจที่ผ่านการตรวจสอบ ที่ได้มาตรฐาน มีความถูกต้อง แม่นยำสูง ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้เปิดให้บริการตรวจแก่โรงพยาบาลแล้ว การตรวจสารพันธุกรรมให้กับผู้ป่วยก่อนที่จะใช้ยาทั้ง 3 ชนิด จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยประกอบให้แพทย์พิจารณาก่อนการสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงต่อผื่นแพ้ยาดังกล่าวให้แก่ผู้ป่วย หากผลตรวจบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นแทน เป็นการบริหารยารูปแบบใหม่ให้ผู้ป่วยได้รับยา อย่างปลอดภัย ช่วยเพิ่ม ความมั่นใจให้แพทย์ และเภสัชกรในการรักษาผู้ป่วย
นายแพทย์บุญชัย สมบูรณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 เป็นวิธีการตรวจสารพันธุกรรมที่พัฒนาขึ้นบนเทคนิคพีซีอาร์ ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง ใช้ตัวอย่างเลือดที่เก็บในสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA อย่างน้อย 1 มิลลิลิตร หรือใช้วิธีเก็บเซลล์จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม ใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ประมาณ 5 วัน ก็ทราบผลแล้ว ซึ่งผลจากการพัฒนาเทคนิกการตรวจใหม่นี้ สามารถช่วยลดงบประมาณในการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงจำนวนมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์เพียง 1,000 บาทต่อราย ซึ่งถูกว่าการตรวจด้วยเทคนิคการตรวจที่นำเข้าจากต่างประเทศจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ 2-5 เท่า นอกจากนี้ข้าราชการสามารถเบิกค่าตรวจวิเคราะห์ได้ ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พร้อมให้บริการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมียาอีกหลายชนิดที่เป็นยาต้องสงสัยที่ทำให้เกิดการแพ้ยารุนแรง เช่น cotrimoxazole, phenytoin, amoxicillin, phenobarbital, ibuprofen, rifampicin, isoniazid เป็นต้น ทางกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และโรงพยาบาลเครือข่ายภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 16 แห่ง ได้มีโครงการวิจัยต่อเนื่องเพื่อค้นหายีนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาที่มีอุบัติการณ์แพ้ยารุนแรงที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาทำการวิจัยอีกประมาณ 2-3 ปี แต่เชื่อว่า ผลที่ได้น่าจะช่วยลดอุบัติการณ์การแพ้ยารุนแรงลงได้อีกมาก ในอนาคตอันใกล้คนไทยจะใช้ยาได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในภาพรวมด้านนโยบายสาธารณสุขของประเทศ ถือเป็นการพัฒนาระบบการสาธารณสุขของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติอีกด้วย
วันนี้ (7 มิ.ย.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานแถลงข่าว “การตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง” ว่า จากการศึกษาหาลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาบางชนิดในชาวเอเชียและชาวไทย พบว่า พันธุกรรม HLA-B*1502 อัลลีล (อ่านว่า เอชแอลเอบีหนึ่งห้าศูนย์สองอัลลีล) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการแพ้ยากันชัก Carbamazepine และพันธุกรรม HLA-B*5801 อัลลีล (เอชแอลเอบีห้าแปดศูนย์หนึ่งอัลลีล) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการ แพ้ยา Allopurinol ซึ่งเป็นยาลดกรดยูริกในเลือด และพันธุกรรม HLA-B*5701 อัลลีล (เอชแอลเอบีห้าเจ็ดศูนย์หนึ่ง อัลลีล) เกี่ยวข้องกับการแพ้ยา Abacavir ที่เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ลักษณะทางพันธุกรรม HLA-B*1052 พบได้บ่อยในคนเอเชีย รวมทั้งคนไทยและคนจีน ในคนไทยสามารถพบลักษณะทางพันธุกรรมชนิด HLA-B*1502 อัลลีล 15% และ HLA-B*5801 อัลลีล 15% ส่วน HLA-B*5701 พบได้น้อยประมาณ 1% ข้อมูลจากการสำรวจร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ยารุนแรง จากยาลมชัก 6,000-7,500 คน
ทั้งนี้ แนวโน้มการใช้ยาดังกล่าว และยาลดกรดยูริก มีมากขึ้น ส่งผลให้คนไทยมีโอกาสแพ้ยารุนแรงเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นถึงปัญหา จึงได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง ซึ่งถือเป็นการแพทย์แขนงใหม่ ที่เรียกว่า เภสัชพันธุศาสตร์ เป็นการใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วยในการเลือกใช้ยา ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน หรือที่เรียกว่า Personalized medicine โดยการพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเอชเอลเออัลลีลให้กับผู้ป่วยก่อนเริ่มการใช้ยาทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ยากันชัก Carbamazepine ยาลดกรดยูริกในเลือด Allopurinol และยาต้านไวรัส Abacavir ซึ่งการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะผื่นแพ้ยารุนแรงนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการบรรเทาปัญหาการแพ้ยารุนแรงทางผิวหนังในผู้ป่วยชาวไทย และถือเป็นการยกระดับมาตรฐาน การสาธารณสุขของประเทศ จากเดิมที่เพียงแค่ทำการรักษาภาวะผื่นแพ้ยารุนแรงไปสู่การป้องกันการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ด้วยวิทยาการสมัยใหม่
รมข.สธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของผื่นแพ้ยาเป็นกลุ่มอาการที่รวมถึงภาวะการมีไข้และออกผื่น ซึ่งเกิดผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายในด้วย โดยทั่วไปจะเกิดหลังจากได้รับยามาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ส่วนอาการผื่นแพ้ยาแบบรุนแรง หรือ Severe Cutaneous Adverse Reaction นั้นจะรวมถึงกลุ่มอาการ Steven-Johnson Syndrome หรือ SJS และ Toxic Epidermal Necrolysis หรือ TENS ที่ผิวหนังมีอาการอักเสบรุนแรง เป็นแผลพุพองเหมือนโดนไฟไหม้ และมีอาการหลุดลอกของผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุในช่องปาก ริมฝีปาก เยื่อบุทางเดินอาหารและเยื่อบุตา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสพิการและเสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 30 ดังนั้นเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมที่กรมวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น เป็นวิธีการตรวจที่ผ่านการตรวจสอบ ที่ได้มาตรฐาน มีความถูกต้อง แม่นยำสูง ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้เปิดให้บริการตรวจแก่โรงพยาบาลแล้ว การตรวจสารพันธุกรรมให้กับผู้ป่วยก่อนที่จะใช้ยาทั้ง 3 ชนิด จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยประกอบให้แพทย์พิจารณาก่อนการสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงต่อผื่นแพ้ยาดังกล่าวให้แก่ผู้ป่วย หากผลตรวจบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นแทน เป็นการบริหารยารูปแบบใหม่ให้ผู้ป่วยได้รับยา อย่างปลอดภัย ช่วยเพิ่ม ความมั่นใจให้แพทย์ และเภสัชกรในการรักษาผู้ป่วย
นายแพทย์บุญชัย สมบูรณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 เป็นวิธีการตรวจสารพันธุกรรมที่พัฒนาขึ้นบนเทคนิคพีซีอาร์ ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง ใช้ตัวอย่างเลือดที่เก็บในสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA อย่างน้อย 1 มิลลิลิตร หรือใช้วิธีเก็บเซลล์จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม ใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ประมาณ 5 วัน ก็ทราบผลแล้ว ซึ่งผลจากการพัฒนาเทคนิกการตรวจใหม่นี้ สามารถช่วยลดงบประมาณในการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงจำนวนมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์เพียง 1,000 บาทต่อราย ซึ่งถูกว่าการตรวจด้วยเทคนิคการตรวจที่นำเข้าจากต่างประเทศจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ 2-5 เท่า นอกจากนี้ข้าราชการสามารถเบิกค่าตรวจวิเคราะห์ได้ ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พร้อมให้บริการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมียาอีกหลายชนิดที่เป็นยาต้องสงสัยที่ทำให้เกิดการแพ้ยารุนแรง เช่น cotrimoxazole, phenytoin, amoxicillin, phenobarbital, ibuprofen, rifampicin, isoniazid เป็นต้น ทางกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และโรงพยาบาลเครือข่ายภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 16 แห่ง ได้มีโครงการวิจัยต่อเนื่องเพื่อค้นหายีนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาที่มีอุบัติการณ์แพ้ยารุนแรงที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาทำการวิจัยอีกประมาณ 2-3 ปี แต่เชื่อว่า ผลที่ได้น่าจะช่วยลดอุบัติการณ์การแพ้ยารุนแรงลงได้อีกมาก ในอนาคตอันใกล้คนไทยจะใช้ยาได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในภาพรวมด้านนโยบายสาธารณสุขของประเทศ ถือเป็นการพัฒนาระบบการสาธารณสุขของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติอีกด้วย