แพทยสภา เล็ง ชง สธ.ออกประกาศกระทรวง กรณีแนวทางตรวจเอชไอวีในเด็กวัยรุ่น เร่งหาข้อสรุปช่วงอายุ คาด เสนอ รมว.สธ.ได้ มิถุนายนนี้
จากกรณีที่คณะอนุกรรมการแพทยสภา ได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเรื่องเอดส์ เพื่ออนุญาตให้แพทย์ตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครองนั้น ล่าสุด ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่เลขา ที่ปรึกษาแพทยสภา ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาแนวทางปฏิบัติการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าว ว่า จากการหารือกันเพิ่มเติมนั้น แพทยสภาจะมีการเสนอเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้ดำเนินการต่อ เพื่อออกเป็นประกาศกระทรวง โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ) เป็นผู้ลงนาม แต่ในเนื้อหาของร่างจะดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการแพทยสภา ซึ่งในเบื้องต้นมีข้อความเห็นเพิ่มเติมว่า อาจจะต้องกำหนดอายุในการตรวจหาเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ขณะที่อีกความเห็นระบุว่า ควรตรวจตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรรมการแพทยสภาต้องหารือเพื่อกำหนดอายุที่แน่ชัด ก่อนที่นายกแพทยสภาจะเสนอให้ สธ.พิจารณาต่อไป ซึ่งเชื่อว่า ไม่นาจะมีปัญหามากนักเพราะปัจจุบันสิทธิการรักษาจากระบบหลักประกันสุขภาพก็มีความครอบคลุมเด็กที่ไม่มีรายได้อยู่แล้ว
“ขณะนี้ทางแพทยสภาเห็นควรว่าจะต้องเสนอให้ สธ.ออกเป็นประกาศกระทรวงแทน ข้อบังคับแพทยสภา เนื่องจากการลงความเห็นครั้งล่าสุด พบว่า แพทย์ยังมีความกังวลเรื่องของการถูกดำเนินคดี และฟ้องร้อง และที่สำคัญเห็นว่า เรื่องของการตรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น มีความเชื่อมโยงทั้งร่างกายและจิตใจของตัวเด็กและผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ด้าน ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า เบื้องต้นทางกรรมการแพทยสภาขอเวลาในการหาข้อสรุปก่อนว่าจะสามารถกำหนดอายุของผู้ที่มีสิทธิตรวจอยู่ที่กี่ปี และจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจเด็กและผู้ปกครองน้อยที่สุด เช่น จะกำหนดขอบเขตของการเก็บข้อมูลผู้ป่วยได้ด้วยวิธีใดบ้าง และหาทางรักษาอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตในสังคมได้โดยไม่รู้สึกแตกต่าง รวมทั้งทำข้อเสนอในเรื่องของการระบุอาชีพต้องห้ามของผู้ติดเชื้อฯด้วยเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่น เช่น อาชีพ ประกอบอาหาร ก็ไม่ควรทำเพราะเสี่ยงต่อการถูกมีด หรือ ของมีคมบาดมือแล้วเลือดติดภาชนะหรืออาหารได้ ก็นับว่าเสี่ยงต่อการติดต่อของเอชไอวี โดยในต่างประเทศเกิดขึ้นมาแล้ว
ด้าน ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากได้ข้อสรุปที่ลงตัวแล้วว่าจะเสนอให้ตรวจได้ในอายุเท่าใด ก็จะเสนอให้ รมว.สธ.รับทราบต่อไป โดยคาดว่า จะเสนอได้ราวเดือนมิถุนายน 2555 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สธ.มีการรณรงค์ให้ป้องกันเอดส์ และเอชไอวี อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นที่ประเด็นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นการบริการเชิงส่งเสริมสุขภาพแล้ว ก็อยากฝากให้ สธ.เน้นที่เรื่องการตรวจคัดกรองเพื่อดำเนินการรักษาอย่างทันท่วงทีต่อไป เพราะสุขภาพวัยรุ่นก็สำคัญไม่แพ้วัยผู้ใหญ่
จากกรณีที่คณะอนุกรรมการแพทยสภา ได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเรื่องเอดส์ เพื่ออนุญาตให้แพทย์ตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครองนั้น ล่าสุด ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่เลขา ที่ปรึกษาแพทยสภา ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาแนวทางปฏิบัติการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าว ว่า จากการหารือกันเพิ่มเติมนั้น แพทยสภาจะมีการเสนอเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้ดำเนินการต่อ เพื่อออกเป็นประกาศกระทรวง โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ) เป็นผู้ลงนาม แต่ในเนื้อหาของร่างจะดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการแพทยสภา ซึ่งในเบื้องต้นมีข้อความเห็นเพิ่มเติมว่า อาจจะต้องกำหนดอายุในการตรวจหาเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ขณะที่อีกความเห็นระบุว่า ควรตรวจตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรรมการแพทยสภาต้องหารือเพื่อกำหนดอายุที่แน่ชัด ก่อนที่นายกแพทยสภาจะเสนอให้ สธ.พิจารณาต่อไป ซึ่งเชื่อว่า ไม่นาจะมีปัญหามากนักเพราะปัจจุบันสิทธิการรักษาจากระบบหลักประกันสุขภาพก็มีความครอบคลุมเด็กที่ไม่มีรายได้อยู่แล้ว
“ขณะนี้ทางแพทยสภาเห็นควรว่าจะต้องเสนอให้ สธ.ออกเป็นประกาศกระทรวงแทน ข้อบังคับแพทยสภา เนื่องจากการลงความเห็นครั้งล่าสุด พบว่า แพทย์ยังมีความกังวลเรื่องของการถูกดำเนินคดี และฟ้องร้อง และที่สำคัญเห็นว่า เรื่องของการตรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น มีความเชื่อมโยงทั้งร่างกายและจิตใจของตัวเด็กและผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ด้าน ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า เบื้องต้นทางกรรมการแพทยสภาขอเวลาในการหาข้อสรุปก่อนว่าจะสามารถกำหนดอายุของผู้ที่มีสิทธิตรวจอยู่ที่กี่ปี และจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจเด็กและผู้ปกครองน้อยที่สุด เช่น จะกำหนดขอบเขตของการเก็บข้อมูลผู้ป่วยได้ด้วยวิธีใดบ้าง และหาทางรักษาอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตในสังคมได้โดยไม่รู้สึกแตกต่าง รวมทั้งทำข้อเสนอในเรื่องของการระบุอาชีพต้องห้ามของผู้ติดเชื้อฯด้วยเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่น เช่น อาชีพ ประกอบอาหาร ก็ไม่ควรทำเพราะเสี่ยงต่อการถูกมีด หรือ ของมีคมบาดมือแล้วเลือดติดภาชนะหรืออาหารได้ ก็นับว่าเสี่ยงต่อการติดต่อของเอชไอวี โดยในต่างประเทศเกิดขึ้นมาแล้ว
ด้าน ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากได้ข้อสรุปที่ลงตัวแล้วว่าจะเสนอให้ตรวจได้ในอายุเท่าใด ก็จะเสนอให้ รมว.สธ.รับทราบต่อไป โดยคาดว่า จะเสนอได้ราวเดือนมิถุนายน 2555 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สธ.มีการรณรงค์ให้ป้องกันเอดส์ และเอชไอวี อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นที่ประเด็นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นการบริการเชิงส่งเสริมสุขภาพแล้ว ก็อยากฝากให้ สธ.เน้นที่เรื่องการตรวจคัดกรองเพื่อดำเนินการรักษาอย่างทันท่วงทีต่อไป เพราะสุขภาพวัยรุ่นก็สำคัญไม่แพ้วัยผู้ใหญ่