“นิด้าโพล” สำรวจคนเคยท่วมใน กทม.-ปริมณฑล พบ 74.90% ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว 30.96% กังวลใจมากที่สุดว่าน้ำจะท่วมอีก โดย 60.10% บอกเตรียมวางแผนรับมือน้ำท่วมด้วยการหาที่พักสำรอง รองลงมา 13.60% ซื้อเรือเก็บไว้ ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอบตก ปชช.มั่นใจการทำงาน 30.63%
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความกังวลใจของคนเคยท่วม” จากประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (เฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ปี 2554) จำนวน 1,011 หน่วยตัวอย่าง พบว่า ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ร้อยละ 74.90 ยืนยันว่า ได้รับเงินช่วยหลือจากรัฐบาลแล้ว มีเพียงร้อยละ 22.80 ที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ และจำนวนเงินที่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ผู้ประสบอุทกภัย ร้อยละ 72.15 ได้รับเงินช่วยเหลือ 20,000 บาท อีกร้อยละ 27.85 ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท
เมื่อถามถึงความกังวลใจกับสถานการณ์น้ำท่วม ผู้ประสบอุทกภัย ยอมรับว่า มีความกังวลใจระดับมากถึงมากที่สุด (ร้อยละ 30.46 และ ร้อยละ 30.96) จากความกังวลดังกล่าวทำให้ผู้ประสบภัย ร้อยละ 69.70 มีการวางแผนเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดสถานการณ์น้ำท่วม โดยมีการหาที่พักสำรองไว้ ร้อยละ 60.10 ซื้อเรือเก็บไว้ ร้อยละ 13.60 และทำการซ่อมแซมบ้านยกพื้นบ้านให้สูงขึ้น ร้อยละ 10.00 ด้านความเชื่อมั่นที่มีต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประสบอุทกภัย ยืนยันว่า ยังคงมีความมั่นใจมากที่สุด ร้อยละ 30.63 ท้ายสุดสิ่งที่ผู้ประสบอุทกภัยอยากฝากถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 41.81 บอกว่า ต้องมีความรับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง และร้อยละ 19.21 บอกว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบควรมีความพร้อมของสถานที่พักพิง สิ่งอำนวยความสะดวก และของบริจาค ส่วนอีกร้อยละ 18.98 บอกว่า ควรหามาตรการและวิธีป้องกันในการควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมอีกและแก้ไขได้ทันเมื่อเกิดสถานการณ์น้ำท่วม
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความกังวลใจของคนเคยท่วม” จากประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (เฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ปี 2554) จำนวน 1,011 หน่วยตัวอย่าง พบว่า ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ร้อยละ 74.90 ยืนยันว่า ได้รับเงินช่วยหลือจากรัฐบาลแล้ว มีเพียงร้อยละ 22.80 ที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ และจำนวนเงินที่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ผู้ประสบอุทกภัย ร้อยละ 72.15 ได้รับเงินช่วยเหลือ 20,000 บาท อีกร้อยละ 27.85 ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท
เมื่อถามถึงความกังวลใจกับสถานการณ์น้ำท่วม ผู้ประสบอุทกภัย ยอมรับว่า มีความกังวลใจระดับมากถึงมากที่สุด (ร้อยละ 30.46 และ ร้อยละ 30.96) จากความกังวลดังกล่าวทำให้ผู้ประสบภัย ร้อยละ 69.70 มีการวางแผนเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดสถานการณ์น้ำท่วม โดยมีการหาที่พักสำรองไว้ ร้อยละ 60.10 ซื้อเรือเก็บไว้ ร้อยละ 13.60 และทำการซ่อมแซมบ้านยกพื้นบ้านให้สูงขึ้น ร้อยละ 10.00 ด้านความเชื่อมั่นที่มีต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประสบอุทกภัย ยืนยันว่า ยังคงมีความมั่นใจมากที่สุด ร้อยละ 30.63 ท้ายสุดสิ่งที่ผู้ประสบอุทกภัยอยากฝากถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 41.81 บอกว่า ต้องมีความรับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง และร้อยละ 19.21 บอกว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบควรมีความพร้อมของสถานที่พักพิง สิ่งอำนวยความสะดวก และของบริจาค ส่วนอีกร้อยละ 18.98 บอกว่า ควรหามาตรการและวิธีป้องกันในการควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมอีกและแก้ไขได้ทันเมื่อเกิดสถานการณ์น้ำท่วม