“ธีระชน” อ้างผลศึกษาของพีบีเอเชียและศศินทร์ หากจ้างบีทีเอสซีเดินรถระยะยาว 30 ปี จะช่วย กทม.ประหยัดเงินกว่า 6,000 ล้านบาท
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ในการจัดหาขบวนรถ การว่าจ้างเดินรถไฟฟ้า รวมทั้งค่าซ่อมบำรุงในเส้นทางส่วนต่อขยาย ระยะเวลา 17 ปี ซึ่งหากคิดตามสัญญาสัมปทานในโครงสร้างระบบเดิม จะเป็นเงินประมาณ 10,863 ล้านบาท ทำให้ต้องเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 15-25 บาท กทม.จึงได้ว่าจ้างบริษัท พีบีเอเชีย จำกัด และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นที่ปรึกษาในการศึกษาแนวทางให้ได้ราคาที่ต่ำกว่านี้ เพื่อจะได้เก็บค่าโดยสารให้ถูกลง ผลการศึกษาจึงได้เสนอให้ กทม.ต้องว่าจ้างระยะยาวตามหลักสากล ที่ทุกประเทศที่มีระบบรถไฟฟ้าจะว่าจ้างเดินรถในระยะยาว 30 ปี ดังนั้นเมื่อคิดอัตราจ้างส่วนต่อขยายในระยะยาวดังกล่าว ในระยะ 17 ปีเช่นเดียวกับเส้นทางสัญญาสัมปทาน จะเป็นเงินจ้างประมาณ 4,303 ล้านบาท กทม.จึงมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เจรจาต่อรองค่าจ้างกับบีทีเอสซีตามที่สถาบันที่ปรึกษาเสนอ กระทั่งได้ค่าจ้างที่ 4,658 บาท เมื่อเทียบกับอัตราจ้างในส่วนสัมปทานจะประหยัดไปได้กว่า 6,000 บาท และหากคิดรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยจะประหยัดไปได้มากกว่านี้
“เมื่อเปรียบเทียบเพียง 17 ปี ยังประหยัดเงินจ้างไปได้กว่า 6,000 ล้าน และหากรวมอีก 13 ปี จะยิ่งประหยัดเงินไปได้มากกว่านี้” นายธีระชน กล่าวและว่า การคิดคำนวณทั้งหมดสถาบันที่ปรึกษาจะคิดจากค่าเสื่อมราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศผู้ผลิตอุปกรณ์หลัก อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯ อัตราดอกเบี้ยในประเทศ หรืออัตราแลกเปลี่ยน
ทั้งนี้ หลักการคำนวณจะมีฐานต่างๆ ประกอบ หากจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ยกตัวอย่างจากค่าเสื่อมราคาจะสูงในปีที่จัดหาขบวนรถ และเมื่อมีการใช้งานหลายปี จะมีการเฉลี่ยค่าเสื่อมราคาตามจำนวนปีที่จะใช้งาน เพราะมีการใช้งานแล้วเสื่อมค่าลง เป็นต้น
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ในการจัดหาขบวนรถ การว่าจ้างเดินรถไฟฟ้า รวมทั้งค่าซ่อมบำรุงในเส้นทางส่วนต่อขยาย ระยะเวลา 17 ปี ซึ่งหากคิดตามสัญญาสัมปทานในโครงสร้างระบบเดิม จะเป็นเงินประมาณ 10,863 ล้านบาท ทำให้ต้องเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 15-25 บาท กทม.จึงได้ว่าจ้างบริษัท พีบีเอเชีย จำกัด และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นที่ปรึกษาในการศึกษาแนวทางให้ได้ราคาที่ต่ำกว่านี้ เพื่อจะได้เก็บค่าโดยสารให้ถูกลง ผลการศึกษาจึงได้เสนอให้ กทม.ต้องว่าจ้างระยะยาวตามหลักสากล ที่ทุกประเทศที่มีระบบรถไฟฟ้าจะว่าจ้างเดินรถในระยะยาว 30 ปี ดังนั้นเมื่อคิดอัตราจ้างส่วนต่อขยายในระยะยาวดังกล่าว ในระยะ 17 ปีเช่นเดียวกับเส้นทางสัญญาสัมปทาน จะเป็นเงินจ้างประมาณ 4,303 ล้านบาท กทม.จึงมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เจรจาต่อรองค่าจ้างกับบีทีเอสซีตามที่สถาบันที่ปรึกษาเสนอ กระทั่งได้ค่าจ้างที่ 4,658 บาท เมื่อเทียบกับอัตราจ้างในส่วนสัมปทานจะประหยัดไปได้กว่า 6,000 บาท และหากคิดรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยจะประหยัดไปได้มากกว่านี้
“เมื่อเปรียบเทียบเพียง 17 ปี ยังประหยัดเงินจ้างไปได้กว่า 6,000 ล้าน และหากรวมอีก 13 ปี จะยิ่งประหยัดเงินไปได้มากกว่านี้” นายธีระชน กล่าวและว่า การคิดคำนวณทั้งหมดสถาบันที่ปรึกษาจะคิดจากค่าเสื่อมราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศผู้ผลิตอุปกรณ์หลัก อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯ อัตราดอกเบี้ยในประเทศ หรืออัตราแลกเปลี่ยน
ทั้งนี้ หลักการคำนวณจะมีฐานต่างๆ ประกอบ หากจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ยกตัวอย่างจากค่าเสื่อมราคาจะสูงในปีที่จัดหาขบวนรถ และเมื่อมีการใช้งานหลายปี จะมีการเฉลี่ยค่าเสื่อมราคาตามจำนวนปีที่จะใช้งาน เพราะมีการใช้งานแล้วเสื่อมค่าลง เป็นต้น