กทม.ย้ำชัด จ้างบีทีเอสเดินรถไม่ใช่การต่อสัญญาสัมปทาน เผย “สุขุมพันธุ์” เตรียมแถลงใหญ่สัปดาห์หน้า ชี้แจงทุกประเด็น พร้อมแจกปกขาวแจงเป็นลายลักษณ์อักษร
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงถึงกรณีว่าจ้างบริษัท ขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เดินรถไฟฟ้าในทำหน้าที่ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 30 ปี ในวงเงิน 190,000 ล้านบาท ว่า ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 89(8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ซึ่งวานนี้ (22 พ.ค.) ได้เดินทางไปชี้แจงข้อสงสัยกรณีดังกล่าวต่อคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา โดยคณะกรรมาธิการ เข้าใจแล้วว่า การว่าจ้างดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่อสัญญาสัมปทาน และการที่กรุงเทพมหานคร ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด สามารถทำได้ตามอำนาจใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งภายหลังจากนี้กรุงเทพมหานครมีคิวต้องเดินทางชี้แจงต่อหน่วยงานตรวจสอบกว่า 10 หน่วยงาน อาทิ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
นายธีระชน กล่าวว่า ขอยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่อสัมปทาน แต่ใช้อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ซึ่งเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ พ.ศ.2535 แล้วมีศักดิ์ศรีทางกฎหมายในฐานะพระราชบัญญัติเท่ากัน โดยกรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาข้อมูล พบว่า การใช้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 89(8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 จะทำให้กรุงเทพมหานครได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าการต่ออายุสัมปทาน และการจ้างในระยะเวลา 30 ปี จะสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 6,000 ล้านบาท รวมถึงสามารถกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารในส่วนต่อขยายเป็น 15 บาทตลอดสายได้ จากเดิมที่คิดตามระยะทางในอัตรา 15-25 บาท ซึ่งการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ เป็นการดำเนินการที่เมืองใหญ่ทั่วโลกกระทำกันมาเป็นเวลานานแล้ว
ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.จะเปิดแถลงข่าวกรณีดังกล่าวในประเด็น “ประชาชนได้อะไร” พร้อมแจกสมุดปกขาวและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินใจในครั้งนี้ โดยเลือกสถานที่แถลงข่าวบน BTS ซึ่งรายละเอียดจะแจ้งให้ทราบต่อไป
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงถึงกรณีว่าจ้างบริษัท ขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เดินรถไฟฟ้าในทำหน้าที่ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 30 ปี ในวงเงิน 190,000 ล้านบาท ว่า ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 89(8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ซึ่งวานนี้ (22 พ.ค.) ได้เดินทางไปชี้แจงข้อสงสัยกรณีดังกล่าวต่อคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา โดยคณะกรรมาธิการ เข้าใจแล้วว่า การว่าจ้างดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่อสัญญาสัมปทาน และการที่กรุงเทพมหานคร ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด สามารถทำได้ตามอำนาจใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งภายหลังจากนี้กรุงเทพมหานครมีคิวต้องเดินทางชี้แจงต่อหน่วยงานตรวจสอบกว่า 10 หน่วยงาน อาทิ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
นายธีระชน กล่าวว่า ขอยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่อสัมปทาน แต่ใช้อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ซึ่งเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ พ.ศ.2535 แล้วมีศักดิ์ศรีทางกฎหมายในฐานะพระราชบัญญัติเท่ากัน โดยกรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาข้อมูล พบว่า การใช้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 89(8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 จะทำให้กรุงเทพมหานครได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าการต่ออายุสัมปทาน และการจ้างในระยะเวลา 30 ปี จะสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 6,000 ล้านบาท รวมถึงสามารถกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารในส่วนต่อขยายเป็น 15 บาทตลอดสายได้ จากเดิมที่คิดตามระยะทางในอัตรา 15-25 บาท ซึ่งการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ เป็นการดำเนินการที่เมืองใหญ่ทั่วโลกกระทำกันมาเป็นเวลานานแล้ว
ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.จะเปิดแถลงข่าวกรณีดังกล่าวในประเด็น “ประชาชนได้อะไร” พร้อมแจกสมุดปกขาวและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินใจในครั้งนี้ โดยเลือกสถานที่แถลงข่าวบน BTS ซึ่งรายละเอียดจะแจ้งให้ทราบต่อไป