สพฐ.วางแผนส่งแท็บเล็ตให้โรงเรียนในเมืองก่อน เริ่มจัดคิวจากเขต 1 ของแต่ละจังหวัด โดยไล่ตามลำดับตัวอักษร ด้าน ศธ.ขอยกเว้นภาษาครุภัณฑ์ทางการศึกษาให้กับแท็บเล็ต
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้วางแผนจัดส่งแท็บเล็ตให้กับโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะจัดส่งให้เป็นรายจังหวัดไล่เรียงไปตามตัวอักษร ตั้งแต่ ก.ไก่ ลงไปจนครบแต่จะให้เฉพาะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เขตที่ 1 ของจังหวัดนั้นๆ ก่อน เมื่อเขต 1 ของทุกจังหวัดได้รับเครื่องครบถ้วนแล้ว จึงวนกลับมาเริ่มแจกเขตอื่นๆ ถัดไปตามละดับ ทั้งนี้ จะให้ สพป.แต่ละแห่งมารับแท็บเล็ตที่ส่วนกลาง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขนส่งจะใช้งบประมาณของ สพฐ.อย่างไรก็ตาม เมื่อ สพป.กระจายไปยังโรงเรียนต่างๆ แล้ว ทางโรงเรียนจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่อง และจะต้องบันทึกข้อมูล เช่น หมายเลขเครื่อง เพื่อส่งข้อมูลไปยัง สพป.ให้ลงบันทึกในฐานข้อมูลต่อไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า โรงเรียนจะได้รับแท็บเล็ตไล่เลี่ยขึ้น เพราะตามแผนที่วางไว้ จะจัดส่งแท็บเล็ตเป็น 4 ล็อตๆ ละ 100,000 เครื่อง แต่ละล็อตห่างกันประมาณ 10 วัน
ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินการทั้ง 4 ด้านพร้อมแล้ว ได้แก่ 1.เครื่องแท็บเล็ต และการขนส่ง 2.เนื้อหาที่บรรจุลงในแท็บเล็ต 3.การพัฒนาครู และ 4.การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยคาดว่า ภายในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 นักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศจะได้รับเครื่องแท็บเล็ตทุกคน สำหรับเครื่องแท็บเล็ตที่ได้มีการจัดส่งมาแล้ว 2,000 เครื่อง เมื่อวันที่ 23 พ.ค.นั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของเครื่องจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วเสร็จ จะมีการนำแท็บเล็ต 1,000 เครื่อง ไปจัดอบรมการใช้เครื่องให้แก่วิทยากรระดับเทพทั้ง 183 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อนำไปขยายผลต่อไป พร้อมกันนี้ สพฐ.ยังได้จัดทำคู่มือการใช้แท็บเล็ต 10 เล่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาทิ การใช้แท็บเล็ตเบื้องต้นตั้งแต่การเปิด-ปิดเครื่อง การแก้ไขปัญหา และคู่มือเชื่อมโยงบทเรียนกับหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งทางโรงเรียนสามารถดาวน์โหลดคู่มือดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์ของ สพฐ.
“ นายกรัฐมนตรีต้องการให้การสอนโดยใช้แท็บเล็ตมีรูปแบบเป็นพี่สอนน้อง โดยให้นักเรียนรุ่นพี่มาช่วยสอนน้อง ป.1 เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครู เพราะในช่วงแรกการใช้เครื่องอาจมีปัญหาบ้าง และครูคนเดียวก็อาจจะดูแลไม่ทั่วถึง พร้อมกันนี้ ยังให้ สพฐ.จัดประกวดการผลิตสื่อมัลติมีเดียที่จะใช้กับแท็บเล็ต โดยเชิญชวนครู นักเรียน และนักศึกษา เข้าร่วมประกวด ซึ่งคาดว่า สิ้นเดือน ก.ย.นี้ สพฐ.จะมีสื่อจำนวนมาก”
ด้านน.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัด ศธ.กล่าวว่า ทาง ศธ.ได้ส่งคณะกรรมการยกเว้นภาษีครุภัณฑ์ทางการศึกษาไปร่วมตรวจสอบเครื่องแท็บเล็ตด้วย โดยทางคณะกรรมการยกเว้นภาษี ได้ขอให้กรมศุลกากรยกเว้นภาษีครุภัณฑ์ทางการศึกษา ให้กับแท็บเล็ต เพราะแท็บเล็ตยังมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมาอีกหลายเรื่อง ทั้งเรื่องภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากร นอกจากนี้ ตนยังได้เซ็นหนังสือไปถึงอธิบดีกรมศุลกากร เพื่อขอให้อำนวยความสะดวกในการออกของเครื่องแท็บเล็ตจำนวน 2,000 เครื่องนี้ด้วย
“เครื่องแท็บเล็ตจะมีการส่งมาให้เป็นล็อตๆ ต้องหาวิธีการว่าจะส่งอย่างไร ตรวจรับอย่างไร เพราะครั้งต่อไปเครื่องแท็บเล็ตจะถูกส่งมาล็อตละ 1 แสนเครื่อง 4 ครั้ง เท่ากับยังเหลืออีก 380,000 เครื่อง นอกจากนี้ ยังได้ตกลงกันว่าในส่วนของโรงเรียนสาธิตจำนวน 3,800 เครื่อง จะส่งให้เสร็จในครั้งเดียวกัน ส่วนของ สช.กับ สพฐ.นั้น จะให้เป็นของ สช.1 ใน 3 ของ สพฐ.ทุกครั้ง เพื่อทางผู้ส่งจะได้แยกไว้แต่แรกว่าเป็นเครื่องของ สช.หรือของ สพฐ.เพื่อให้การทำงานเป็นระบบไม่ให้เกิดความสับสน”ปลัด ศธ.กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้วางแผนจัดส่งแท็บเล็ตให้กับโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะจัดส่งให้เป็นรายจังหวัดไล่เรียงไปตามตัวอักษร ตั้งแต่ ก.ไก่ ลงไปจนครบแต่จะให้เฉพาะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เขตที่ 1 ของจังหวัดนั้นๆ ก่อน เมื่อเขต 1 ของทุกจังหวัดได้รับเครื่องครบถ้วนแล้ว จึงวนกลับมาเริ่มแจกเขตอื่นๆ ถัดไปตามละดับ ทั้งนี้ จะให้ สพป.แต่ละแห่งมารับแท็บเล็ตที่ส่วนกลาง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขนส่งจะใช้งบประมาณของ สพฐ.อย่างไรก็ตาม เมื่อ สพป.กระจายไปยังโรงเรียนต่างๆ แล้ว ทางโรงเรียนจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่อง และจะต้องบันทึกข้อมูล เช่น หมายเลขเครื่อง เพื่อส่งข้อมูลไปยัง สพป.ให้ลงบันทึกในฐานข้อมูลต่อไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า โรงเรียนจะได้รับแท็บเล็ตไล่เลี่ยขึ้น เพราะตามแผนที่วางไว้ จะจัดส่งแท็บเล็ตเป็น 4 ล็อตๆ ละ 100,000 เครื่อง แต่ละล็อตห่างกันประมาณ 10 วัน
ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินการทั้ง 4 ด้านพร้อมแล้ว ได้แก่ 1.เครื่องแท็บเล็ต และการขนส่ง 2.เนื้อหาที่บรรจุลงในแท็บเล็ต 3.การพัฒนาครู และ 4.การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยคาดว่า ภายในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 นักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศจะได้รับเครื่องแท็บเล็ตทุกคน สำหรับเครื่องแท็บเล็ตที่ได้มีการจัดส่งมาแล้ว 2,000 เครื่อง เมื่อวันที่ 23 พ.ค.นั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของเครื่องจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วเสร็จ จะมีการนำแท็บเล็ต 1,000 เครื่อง ไปจัดอบรมการใช้เครื่องให้แก่วิทยากรระดับเทพทั้ง 183 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อนำไปขยายผลต่อไป พร้อมกันนี้ สพฐ.ยังได้จัดทำคู่มือการใช้แท็บเล็ต 10 เล่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาทิ การใช้แท็บเล็ตเบื้องต้นตั้งแต่การเปิด-ปิดเครื่อง การแก้ไขปัญหา และคู่มือเชื่อมโยงบทเรียนกับหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งทางโรงเรียนสามารถดาวน์โหลดคู่มือดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์ของ สพฐ.
“ นายกรัฐมนตรีต้องการให้การสอนโดยใช้แท็บเล็ตมีรูปแบบเป็นพี่สอนน้อง โดยให้นักเรียนรุ่นพี่มาช่วยสอนน้อง ป.1 เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครู เพราะในช่วงแรกการใช้เครื่องอาจมีปัญหาบ้าง และครูคนเดียวก็อาจจะดูแลไม่ทั่วถึง พร้อมกันนี้ ยังให้ สพฐ.จัดประกวดการผลิตสื่อมัลติมีเดียที่จะใช้กับแท็บเล็ต โดยเชิญชวนครู นักเรียน และนักศึกษา เข้าร่วมประกวด ซึ่งคาดว่า สิ้นเดือน ก.ย.นี้ สพฐ.จะมีสื่อจำนวนมาก”
ด้านน.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัด ศธ.กล่าวว่า ทาง ศธ.ได้ส่งคณะกรรมการยกเว้นภาษีครุภัณฑ์ทางการศึกษาไปร่วมตรวจสอบเครื่องแท็บเล็ตด้วย โดยทางคณะกรรมการยกเว้นภาษี ได้ขอให้กรมศุลกากรยกเว้นภาษีครุภัณฑ์ทางการศึกษา ให้กับแท็บเล็ต เพราะแท็บเล็ตยังมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมาอีกหลายเรื่อง ทั้งเรื่องภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากร นอกจากนี้ ตนยังได้เซ็นหนังสือไปถึงอธิบดีกรมศุลกากร เพื่อขอให้อำนวยความสะดวกในการออกของเครื่องแท็บเล็ตจำนวน 2,000 เครื่องนี้ด้วย
“เครื่องแท็บเล็ตจะมีการส่งมาให้เป็นล็อตๆ ต้องหาวิธีการว่าจะส่งอย่างไร ตรวจรับอย่างไร เพราะครั้งต่อไปเครื่องแท็บเล็ตจะถูกส่งมาล็อตละ 1 แสนเครื่อง 4 ครั้ง เท่ากับยังเหลืออีก 380,000 เครื่อง นอกจากนี้ ยังได้ตกลงกันว่าในส่วนของโรงเรียนสาธิตจำนวน 3,800 เครื่อง จะส่งให้เสร็จในครั้งเดียวกัน ส่วนของ สช.กับ สพฐ.นั้น จะให้เป็นของ สช.1 ใน 3 ของ สพฐ.ทุกครั้ง เพื่อทางผู้ส่งจะได้แยกไว้แต่แรกว่าเป็นเครื่องของ สช.หรือของ สพฐ.เพื่อให้การทำงานเป็นระบบไม่ให้เกิดความสับสน”ปลัด ศธ.กล่าว