ไม่ฟันธง ม.3 ขึ้น ม.4 โรงเรียนเดิม 100% “สุชาติ” ย้ำ เดินหน้าขยายสาขาโรงเรียนดัง ขณะที่ “สุขุม” หนุน ชี้ ร.ร.ใน กทม.ทำได้ทันที แนะกรณี ร.ร.คู่พัฒนา ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน สังกัด สพฐ.ปีการศึกษา 2555 เพื่อใช้ในการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2556 ว่า ตนได้มอบกรอบแนวคิดให้ สพฐ.พิจารณาเกณฑ์การรับนักเรียนใหม่ โดยจะเห็นว่า ปัจจุบันผู้ปกครองและนักเรียนนิยมเรียนโรงเรียนดังจำนวนมาก ขณะที่โรงเรียนดังไม่สามารถรับเด็กเข้าเรียนได้ทุกคน ดังนั้น แนวทางหนึ่ง คือ ขยายโรงเรียนดังเหล่านี้เพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน ขณะเดียวกัน นักเรียนจะต้องได้เรียนตามที่อยากเรียน รัฐบาลจะไม่ไปกำหนดว่านักเรียนจะต้องเรียนอะไร เช่น ไปกำหนดว่าจะต้องเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น 40% เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศ แบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ต่อไปเด็กอยากเรียนอะไรต้องได้เรียน โดยรัฐบาลมีหน้าที่จัดงบประมาณสนับสนุน
“ถ้าเด็กอยากเรียนโรงเรียนดังและดี ก็ต้องขยายโรงเรียนเหล่านั้นเพิ่ม ให้เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน โดยรัฐบาลจะเป็นฝ่ายจัดหาทรัพยากรต่างๆ ให้ ทั้งอาคารเรียนและอุปกรณ์การเรียน และมีผู้บริหารคนเดียวกันกับโรงเรียนแม่ ส่วนงบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาโรงเรียนดังเหล่านี้เพิ่มนั้น มีอยู่แล้วในงบรายหัวเด็ก ซึ่งถ้าโรงเรียนใดมีเด็กเรียนเยอะ ก็จะได้รับงบประมาณมาก ส่วนโรงเรียนไหนที่เด็กเรียนน้อยก็จะได้งบรายหัวน้อยตามไปด้วย ซึ่งผมจะมอบให้ สพฐ.ไปสำรวจจำนวนความต้องการของเด็กในพื้นที่ว่าอยากเข้าเรียนโรงเรียนใด เพื่อขยายโรงเรียนดังให้ตรงตามความต้องการ” ศ.ดร.สุชาติ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นโยบายเลื่อนชั้นนักเรียน ม.3 ทุกคนขึ้น ม.4 โดยอัตโนมัติ ยังเดินหน้าอยู่หรือไม่ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่า ตนขอให้ สพฐ.ไปดูเรื่องโรงเรียนดังก่อน โรงเรียนไหนที่คนอยากเข้ามาก ก็ควรขยายเพิ่ม เพื่อให้มีที่รองรับมากขึ้น ส่วนจะให้นักเรียน ม.3 ได้เลื่อนชั้นขึ้น ม.4 ทุกคน 100% ได้เลยหรือไม่นั้น ขอให้ สพฐ.ไปดูในรายละเอียดให้รอบคอบก่อน ยังฟันธงไม่ได้ตอนนี้
ด้าน รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่จะขยายจำนวนโรงเรียนยอดนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเราพูดเรื่องมาตรฐานการเรียนการสอนที่ไม่เท่ากัน และพยายามจะปรับมาตรฐานของโรงเรียนให้เท่ากัน แต่การปฏิบัติจริงไม่ค่อยมี เพราะติดปัญหาแผนการดำเนินงานระยะยาว งบประมาณ และการดำเนินการอย่างจริงจัง ดังนั้น หากเริ่มทำอย่างจริงจังก็จะเห็นผลในทางที่ดีเร็วขึ้น ซึ่งโรงเรียนในกรุงเทพฯ สามารถทำได้ทันที เพราะมีโรงเรียนคู่พัฒนาอยู่แล้ว และควรที่จะกำหนดไปเลยว่าโรงเรียนที่จะเป็นโรงเรียนคู่พัฒนา ไม่ควรเปลี่ยนแต่ชื่อ แต่ควรจะอยู่ใกล้กัน ใช้ทีมผู้บริหารเดียวกัน รวมถึงพัฒนาบุคลากรครูผู้ช่วยควบคู่กันไปด้วย ขณะเดียวกัน จะต้องพัฒนาโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนเล็กไปด้วย ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่สนใจ ส่วนต่างจังหวัดยิ่งไม่มีปัญหา เพราะมีโรงเรียนประจำจังหวัดอยู่แล้ว และที่ผ่านมา มีโรงเรียนประจำอำเภอ หรือตำบล ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาที่ควรจะอาศัยช่วงเวลานี้จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ไปยังโรงเรียนประจำตำบลและอำเภอด้วย และที่สำคัญ ควรจะเพิ่มขวัญกำลังใจให้ครูที่สอนดีด้วยเพื่อให้ครูมีกำลังใจทุ่มเทการสอนมากขึ้น
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน สังกัด สพฐ.ปีการศึกษา 2555 เพื่อใช้ในการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2556 ว่า ตนได้มอบกรอบแนวคิดให้ สพฐ.พิจารณาเกณฑ์การรับนักเรียนใหม่ โดยจะเห็นว่า ปัจจุบันผู้ปกครองและนักเรียนนิยมเรียนโรงเรียนดังจำนวนมาก ขณะที่โรงเรียนดังไม่สามารถรับเด็กเข้าเรียนได้ทุกคน ดังนั้น แนวทางหนึ่ง คือ ขยายโรงเรียนดังเหล่านี้เพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน ขณะเดียวกัน นักเรียนจะต้องได้เรียนตามที่อยากเรียน รัฐบาลจะไม่ไปกำหนดว่านักเรียนจะต้องเรียนอะไร เช่น ไปกำหนดว่าจะต้องเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น 40% เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศ แบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ต่อไปเด็กอยากเรียนอะไรต้องได้เรียน โดยรัฐบาลมีหน้าที่จัดงบประมาณสนับสนุน
“ถ้าเด็กอยากเรียนโรงเรียนดังและดี ก็ต้องขยายโรงเรียนเหล่านั้นเพิ่ม ให้เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน โดยรัฐบาลจะเป็นฝ่ายจัดหาทรัพยากรต่างๆ ให้ ทั้งอาคารเรียนและอุปกรณ์การเรียน และมีผู้บริหารคนเดียวกันกับโรงเรียนแม่ ส่วนงบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาโรงเรียนดังเหล่านี้เพิ่มนั้น มีอยู่แล้วในงบรายหัวเด็ก ซึ่งถ้าโรงเรียนใดมีเด็กเรียนเยอะ ก็จะได้รับงบประมาณมาก ส่วนโรงเรียนไหนที่เด็กเรียนน้อยก็จะได้งบรายหัวน้อยตามไปด้วย ซึ่งผมจะมอบให้ สพฐ.ไปสำรวจจำนวนความต้องการของเด็กในพื้นที่ว่าอยากเข้าเรียนโรงเรียนใด เพื่อขยายโรงเรียนดังให้ตรงตามความต้องการ” ศ.ดร.สุชาติ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นโยบายเลื่อนชั้นนักเรียน ม.3 ทุกคนขึ้น ม.4 โดยอัตโนมัติ ยังเดินหน้าอยู่หรือไม่ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่า ตนขอให้ สพฐ.ไปดูเรื่องโรงเรียนดังก่อน โรงเรียนไหนที่คนอยากเข้ามาก ก็ควรขยายเพิ่ม เพื่อให้มีที่รองรับมากขึ้น ส่วนจะให้นักเรียน ม.3 ได้เลื่อนชั้นขึ้น ม.4 ทุกคน 100% ได้เลยหรือไม่นั้น ขอให้ สพฐ.ไปดูในรายละเอียดให้รอบคอบก่อน ยังฟันธงไม่ได้ตอนนี้
ด้าน รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่จะขยายจำนวนโรงเรียนยอดนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเราพูดเรื่องมาตรฐานการเรียนการสอนที่ไม่เท่ากัน และพยายามจะปรับมาตรฐานของโรงเรียนให้เท่ากัน แต่การปฏิบัติจริงไม่ค่อยมี เพราะติดปัญหาแผนการดำเนินงานระยะยาว งบประมาณ และการดำเนินการอย่างจริงจัง ดังนั้น หากเริ่มทำอย่างจริงจังก็จะเห็นผลในทางที่ดีเร็วขึ้น ซึ่งโรงเรียนในกรุงเทพฯ สามารถทำได้ทันที เพราะมีโรงเรียนคู่พัฒนาอยู่แล้ว และควรที่จะกำหนดไปเลยว่าโรงเรียนที่จะเป็นโรงเรียนคู่พัฒนา ไม่ควรเปลี่ยนแต่ชื่อ แต่ควรจะอยู่ใกล้กัน ใช้ทีมผู้บริหารเดียวกัน รวมถึงพัฒนาบุคลากรครูผู้ช่วยควบคู่กันไปด้วย ขณะเดียวกัน จะต้องพัฒนาโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนเล็กไปด้วย ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่สนใจ ส่วนต่างจังหวัดยิ่งไม่มีปัญหา เพราะมีโรงเรียนประจำจังหวัดอยู่แล้ว และที่ผ่านมา มีโรงเรียนประจำอำเภอ หรือตำบล ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาที่ควรจะอาศัยช่วงเวลานี้จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ไปยังโรงเรียนประจำตำบลและอำเภอด้วย และที่สำคัญ ควรจะเพิ่มขวัญกำลังใจให้ครูที่สอนดีด้วยเพื่อให้ครูมีกำลังใจทุ่มเทการสอนมากขึ้น