สพฐ.เตรียมยกเครื่องนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียนใหม่ ผ่อนคลายกฎเหล็กขยายห้องเรียนได้ตามความต้องการผู้ปกครอง แต่ยังเปิดช่องรับ นร.เงื่อนไขพิเศษ บอกโรงเรียนจะได้คัดเด็กที่มีความสามารถพิเศษเข้ามาเสริมเอกลักษณ์สถานศึกษาได้ แต่หากเกิดปัญหาก็พร้อมปรับแก้
วันนี้ (22 พ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หยิบยกกรณีของนักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ออกมาเรียกร้องว่า ถูกตัดสิทธิ์การเข้าเรียนต่อ ม.4 โรงเรียนเดิมขึ้นมาหารือ เพื่อทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน สังกัด สพฐ.ปีการศึกษา 2555 โดยจะต้องมีการทบทวนประเด็นหลักๆ อาทิ กรณีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ว่า เงื่อนไขข้อใดที่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ก็อาจจะต้องปรับแก้ให้เกิดความเหมาะสม
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า การกำหนดให้มีเงื่อนไขพิเศษในการรับนักเรียนไม่ได้เป็นอุปสรรค แต่เพื่อให้การรับนักเรียนมีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับจุดเด่นของโรงเรียน เพราะทุกโรงเรียนต้องมีเอกลักษณ์และความโดดเด่น ดังนั้น จึงต้องเปิดช่องตรงนี้ไว้ เพื่อให้โรงเรียนสามารถคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามรถพิเศษเข้ามา แต่อาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติบ้าง ซึ่งเราต้องไปตรวจสอบ และทบทวนอีกครั้งว่าเงื่อนไขข้อใด ที่เป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดปัญหา ก็จะต้องปรับแก้ให้เหมาะสม
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น จะทบทวนในเรื่องอื่นๆ ที่หลายฝ่ายบอกว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่เขียนตายตัวและตึงตัวเกินไป โดยจะมีการปลดล็อกให้ผ่อนคลายมากขึ้น อาทิ เรื่องการขอขยายห้องเรียน กฎเหล็ก บอกว่า เมื่อโรงเรียนเสนอแผนการรับนักเรียนมากี่ห้องแล้ว ต้องเป็นไปตามนั้น ห้ามมาขอเพิ่มทีหลัง และหากเสนอแผนรับนักเรียนเกิน 15 ห้อง ก็ต้องมีเหตุผลรองรับ และดูว่าโรงเรียนมีความพร้อมหรือไม่ ซึ่งต่อไปสพฐ.อาจจะพิจารณาผ่อนคลายเรื่องการเพิ่มห้องเรียน ขยายห้องเรียน ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น โดยจะมอบหมายให้คณะกรรมการเร่งยกร่างเพื่อให้เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณา ภายในเดือนกันยายน 2555
“ระเบียบและกฎเกณฑ์การรับนักเรียนที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายในแต่ละห้วงเวลา ซึ่งเมื่อนโยบายเปลี่ยนกฎกติกาก็ต้องมีการปรับ เมื่อกติกาการรับนักเรียนในปีนี้เกิดปัญหา กติกาการรับนักเรียนในปีหน้าก็คงต้องเปลี่ยน และแนวนโยบายที่ สพฐ.รับมาจากนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่บอกว่าการศึกษาควรจะให้อิสระกับผู้เรียน ใครอยากเรียนอะไรก็ให้เลือกเรียน เหมือนการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ที่สอดคล้องกับปริมาณและความต้องการ” นายชินภัทร กล่าว
วันนี้ (22 พ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หยิบยกกรณีของนักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ออกมาเรียกร้องว่า ถูกตัดสิทธิ์การเข้าเรียนต่อ ม.4 โรงเรียนเดิมขึ้นมาหารือ เพื่อทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน สังกัด สพฐ.ปีการศึกษา 2555 โดยจะต้องมีการทบทวนประเด็นหลักๆ อาทิ กรณีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ว่า เงื่อนไขข้อใดที่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ก็อาจจะต้องปรับแก้ให้เกิดความเหมาะสม
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า การกำหนดให้มีเงื่อนไขพิเศษในการรับนักเรียนไม่ได้เป็นอุปสรรค แต่เพื่อให้การรับนักเรียนมีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับจุดเด่นของโรงเรียน เพราะทุกโรงเรียนต้องมีเอกลักษณ์และความโดดเด่น ดังนั้น จึงต้องเปิดช่องตรงนี้ไว้ เพื่อให้โรงเรียนสามารถคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามรถพิเศษเข้ามา แต่อาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติบ้าง ซึ่งเราต้องไปตรวจสอบ และทบทวนอีกครั้งว่าเงื่อนไขข้อใด ที่เป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดปัญหา ก็จะต้องปรับแก้ให้เหมาะสม
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น จะทบทวนในเรื่องอื่นๆ ที่หลายฝ่ายบอกว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่เขียนตายตัวและตึงตัวเกินไป โดยจะมีการปลดล็อกให้ผ่อนคลายมากขึ้น อาทิ เรื่องการขอขยายห้องเรียน กฎเหล็ก บอกว่า เมื่อโรงเรียนเสนอแผนการรับนักเรียนมากี่ห้องแล้ว ต้องเป็นไปตามนั้น ห้ามมาขอเพิ่มทีหลัง และหากเสนอแผนรับนักเรียนเกิน 15 ห้อง ก็ต้องมีเหตุผลรองรับ และดูว่าโรงเรียนมีความพร้อมหรือไม่ ซึ่งต่อไปสพฐ.อาจจะพิจารณาผ่อนคลายเรื่องการเพิ่มห้องเรียน ขยายห้องเรียน ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น โดยจะมอบหมายให้คณะกรรมการเร่งยกร่างเพื่อให้เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณา ภายในเดือนกันยายน 2555
“ระเบียบและกฎเกณฑ์การรับนักเรียนที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายในแต่ละห้วงเวลา ซึ่งเมื่อนโยบายเปลี่ยนกฎกติกาก็ต้องมีการปรับ เมื่อกติกาการรับนักเรียนในปีนี้เกิดปัญหา กติกาการรับนักเรียนในปีหน้าก็คงต้องเปลี่ยน และแนวนโยบายที่ สพฐ.รับมาจากนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่บอกว่าการศึกษาควรจะให้อิสระกับผู้เรียน ใครอยากเรียนอะไรก็ให้เลือกเรียน เหมือนการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ที่สอดคล้องกับปริมาณและความต้องการ” นายชินภัทร กล่าว