กทม.พบอีก 3 จุดถนนเสี่ยงทรุด ที่ วิทยุ-พญาไท และ พระราม 1 เตรียมติดตั้งป้ายเตือนระหว่างซ่อมแซม เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากได้มอบหมายให้สำนักการโยธา (สนย.) กทม.และสำนักงานเขตสำรวจบริเวณที่มีการซ่อมแซมถนน รวม 157 จุด ใน 36 เขต โดย สนย.ใช้เครื่อง GPR หรือ Ground Penetrating Radar เพื่อสำรวจชั้นใต้ดิน และตรวจสอบความผิดปกติของชั้นใต้ดิน ซึ่งขณะนี้ดำเนินการแล้วประมาณ 100 จุด โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ ทั้งนี้ เบื้องต้นสำรวจพบจุดเสี่ยง 3 แห่ง ได้แก่ 1.ถนนวิทยุ ก่อนเข้า ถนนเพลินจิต บริเวณหน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา 2.ถนนพญาไท หน้าโรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส และ 3.ถนนพระรามที่ 1 บริเวณตอม่อที่ 3 ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬา ซึ่งจะต้องทำการเจาะสำรวจให้ชัดเจนอีกครั้ง โดยภายหลังจากการเจาะสำรวจถนนที่มีการซ่อมแซมทั้งหมดเสร็จแล้ว กทม.จะวางแผนซ่อมแซมถนนแบบถาวรต่อไป
นายธีระชน กล่าวด้วยว่า จากนี้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) สนย.และสำนักงานเขต จะวางแผนร่วมกันในการสำรวจ และติดตั้งป้ายเตือนระหว่างที่มีการซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัยของประชาชน รวมถึงจะมีการบันทึกเวลาการสร้างและซ่อมแซมถนน สะพานข้ามแยก ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร เพื่อตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานและการดูแลรักษา นอกจากนี้ จะประสานงานกับหน่วยงานสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อร่วมกันดูแลท่อ บ่อพัก การตัดถนนใหม่ การเปิดปิดหน้างาน และการซ่อมงานที่เกี่ยวข้องกับทางเท้าและบนผิวจราจรด้วย ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นรอยร้าวบนถนนคอนกรีตบริเวณใกล้บ้าน หรือคาดว่า จะมีหลุมโพรงบนผิวถนน ให้แจ้งสายด่วน กทม. โทร.1555 เพื่อจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบและซ่อมแซมโดยเร็ว
“ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ถนนทรุดตัวบ่อยครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด อาทิ ปทุมธานี อยุธยา นครศรีธรรมราช แต่ที่เกิดในกรุงเทพฯนั้น เป็นชั้นดินอ่อน อาจจะมีช่องโหว่ระหว่างท่อระบายน้ำ เมื่อการเคลื่อนตัวจากน้ำท่วมใหญ่ อาจทำให้อิฐ หิน ทราย ไหลลงไปบริเวณจุดอ่อนหรือช่องโหว่ และทำให้เกิดโพรง แต่หากบริเวณดังกล่าวมีเหล็กเสริมถนนก็จะไม่เกิดการยุบตัว แต่จะมีรอยร้าวเป็นสัญญาณเตือน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเข้าไปดำเนินการซ่อมแซมในทันที” นายธีระชน กล่าว
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากได้มอบหมายให้สำนักการโยธา (สนย.) กทม.และสำนักงานเขตสำรวจบริเวณที่มีการซ่อมแซมถนน รวม 157 จุด ใน 36 เขต โดย สนย.ใช้เครื่อง GPR หรือ Ground Penetrating Radar เพื่อสำรวจชั้นใต้ดิน และตรวจสอบความผิดปกติของชั้นใต้ดิน ซึ่งขณะนี้ดำเนินการแล้วประมาณ 100 จุด โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ ทั้งนี้ เบื้องต้นสำรวจพบจุดเสี่ยง 3 แห่ง ได้แก่ 1.ถนนวิทยุ ก่อนเข้า ถนนเพลินจิต บริเวณหน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา 2.ถนนพญาไท หน้าโรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส และ 3.ถนนพระรามที่ 1 บริเวณตอม่อที่ 3 ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬา ซึ่งจะต้องทำการเจาะสำรวจให้ชัดเจนอีกครั้ง โดยภายหลังจากการเจาะสำรวจถนนที่มีการซ่อมแซมทั้งหมดเสร็จแล้ว กทม.จะวางแผนซ่อมแซมถนนแบบถาวรต่อไป
นายธีระชน กล่าวด้วยว่า จากนี้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) สนย.และสำนักงานเขต จะวางแผนร่วมกันในการสำรวจ และติดตั้งป้ายเตือนระหว่างที่มีการซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัยของประชาชน รวมถึงจะมีการบันทึกเวลาการสร้างและซ่อมแซมถนน สะพานข้ามแยก ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร เพื่อตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานและการดูแลรักษา นอกจากนี้ จะประสานงานกับหน่วยงานสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อร่วมกันดูแลท่อ บ่อพัก การตัดถนนใหม่ การเปิดปิดหน้างาน และการซ่อมงานที่เกี่ยวข้องกับทางเท้าและบนผิวจราจรด้วย ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นรอยร้าวบนถนนคอนกรีตบริเวณใกล้บ้าน หรือคาดว่า จะมีหลุมโพรงบนผิวถนน ให้แจ้งสายด่วน กทม. โทร.1555 เพื่อจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบและซ่อมแซมโดยเร็ว
“ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ถนนทรุดตัวบ่อยครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด อาทิ ปทุมธานี อยุธยา นครศรีธรรมราช แต่ที่เกิดในกรุงเทพฯนั้น เป็นชั้นดินอ่อน อาจจะมีช่องโหว่ระหว่างท่อระบายน้ำ เมื่อการเคลื่อนตัวจากน้ำท่วมใหญ่ อาจทำให้อิฐ หิน ทราย ไหลลงไปบริเวณจุดอ่อนหรือช่องโหว่ และทำให้เกิดโพรง แต่หากบริเวณดังกล่าวมีเหล็กเสริมถนนก็จะไม่เกิดการยุบตัว แต่จะมีรอยร้าวเป็นสัญญาณเตือน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเข้าไปดำเนินการซ่อมแซมในทันที” นายธีระชน กล่าว