สพผท.ชี้ ระบบหลักประกันสุขภาพไทย ทำมาตรฐานการแพทย์ตกต่ำ จี้กำหนดมาตรฐานการแพทย์ขั้นต่ำเหมือนยุโรป-สหรัฐฯ
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่ รร.เซ็นทาราแกรนด์ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สพผท.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง มาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย โดยมีแพทย์ บุคลากร ทางการแพทย์ และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมประมาณ 60 คน ว่า นับตั้งแต่เกิดระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เมื่อ ปี 2545 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในระบบการแพทย์ และสาธารณสุขของไทย โดยเฉพาะจากการที่ประชาชนมาระบบบริการที่โรงพยาบาล (รพ.) มากขึ้น ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทำให้ รพ.มีภาระงานมาก บุคลากรต้องรีบทำงาน ตรวจรักษาผู้ป่วย โดยจากการเก็บข้อมูลของ กองควบคุมโรคกับแพทยสภา ในปี 2550 พบว่า แพทย์มีเวลาตรวจผู้ป่วยนอกแค่ 2 นาที่ต่อผู้ป่วย 1 คน โดยแพทย์แต่ละคนที่สังกัด สธ.ต้องจำยอมทำงาน สัปดาห์ละ 80-120 ชม.ขณะที่การจัดสรรงบประมาณให้กับ รพ.ของ สปสช.ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ที่ รพ.ใช้ในการรักษาผู้ป่วยจริง ซึ้งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้มาตรฐานการแพทย์ และ สธ.ตกต่ำกว่าในอดีต จากการที่ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้เต็มที่ ท้ายที่สุด ผลกระทบจะย้อนกลับมาสู่ตัวผู้ป่วยที่จะเสี่ยงต่อความผิดพลาดในการรักษามากกว่าขึ้นด้วย
พญ.เชิดชู กล่าวอีกว่า การจะทำให้การแพทย์และสาธารณสุขไทย กลับมามีมาตรฐาน เบื้องต้น ควรมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้กับประชาชน ที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง โดยควรกำหนดในลักษณะที่คล้ายคลึงกับสหรัฐอเมริกา หรือ สหภาพยุโรป ที่มีการกำหนดมาตรฐานขั้นตำไว้ชัดเจน ว่า ประชาชนจะได้สิทธิตามรัฐบาลสนับสนุนในโรคอะไร แค่ไหน อย่างไร และต้องใช้ยาตัวใด อีกทั้งควรระบุด้วยว่า 1 ปี รับบริการทางการแพทย์ได้กี่ครั้ง ส่วนกรณีหากประชาชนมีความต้องการสิทธิในการรักษาพยาบาลนอกเหนือที่รัฐบาลกำหนด ก็ต้องพร้อมที่จะต้องร่วมจ่าย ไม่ใช่ให้รัฐรับผิดชอบทั้งหมด
“หากดำเนินการได้เช่นนี้ จะส่งผลให้เกิดมาตรฐานในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ไม่ใช่กำหนดรูปแบบการรักษา รูปแบบเดียว แต่ใช้กับประชาชนทุกคน เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ เพราะการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ จะทำให้ประชาชนกลุ่มที่ต้องการสิทธิมากกว่าที่กำหนด มีทางเลือกในการรักษาพยาบาลมากขึ้น และมีความเหมาะสมเฉพาะรายนั้น หากให้ประชาชนมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลจะทำให้การรักษาพยาบาลมีความเหมาะสมเฉพาะราย ทำให้เกิดคุณภาพได้มาตรฐานที่ดี ซึ่งยืนยันว่า การผลักดันทั้งหมดนี้ไม่ใช่ไม่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้สิทธิรักษาฟรี แต่ต้องการความพอดีของระบบหลักประกันสุขภาพ ระหว่างค่าใช้จ่ายในการรักษา กับงบประมาณเข้า รพ.เท่านั้น” พญ.เชิดชู กล่าว
ประธาน สพผท.กล่าวต่อว่า แม้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) มีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างมาก แต่ไม่ได้เป็นการสะท้อน ว่า ประชาชนมีคามพึงพอใจในคุณภาพการรักษา เพราะหากพอใจในคุณภาพจะต้องเห็นจากการที่ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่ใช่วัดจากการไปเข้า รพ.แล้วไม่ต้องจ่ายเงิน ซึ่งสะท้อนได้จากการที่ไข้ฟ้องแพทย์ เพราะไม่พอใจผลการรักษา แสดงให้เห็นว่า การแพทย์ฯ ยังไม่เป็นที่พอใจของประชาชน
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่ รร.เซ็นทาราแกรนด์ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สพผท.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง มาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย โดยมีแพทย์ บุคลากร ทางการแพทย์ และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมประมาณ 60 คน ว่า นับตั้งแต่เกิดระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เมื่อ ปี 2545 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในระบบการแพทย์ และสาธารณสุขของไทย โดยเฉพาะจากการที่ประชาชนมาระบบบริการที่โรงพยาบาล (รพ.) มากขึ้น ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทำให้ รพ.มีภาระงานมาก บุคลากรต้องรีบทำงาน ตรวจรักษาผู้ป่วย โดยจากการเก็บข้อมูลของ กองควบคุมโรคกับแพทยสภา ในปี 2550 พบว่า แพทย์มีเวลาตรวจผู้ป่วยนอกแค่ 2 นาที่ต่อผู้ป่วย 1 คน โดยแพทย์แต่ละคนที่สังกัด สธ.ต้องจำยอมทำงาน สัปดาห์ละ 80-120 ชม.ขณะที่การจัดสรรงบประมาณให้กับ รพ.ของ สปสช.ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ที่ รพ.ใช้ในการรักษาผู้ป่วยจริง ซึ้งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้มาตรฐานการแพทย์ และ สธ.ตกต่ำกว่าในอดีต จากการที่ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้เต็มที่ ท้ายที่สุด ผลกระทบจะย้อนกลับมาสู่ตัวผู้ป่วยที่จะเสี่ยงต่อความผิดพลาดในการรักษามากกว่าขึ้นด้วย
พญ.เชิดชู กล่าวอีกว่า การจะทำให้การแพทย์และสาธารณสุขไทย กลับมามีมาตรฐาน เบื้องต้น ควรมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้กับประชาชน ที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง โดยควรกำหนดในลักษณะที่คล้ายคลึงกับสหรัฐอเมริกา หรือ สหภาพยุโรป ที่มีการกำหนดมาตรฐานขั้นตำไว้ชัดเจน ว่า ประชาชนจะได้สิทธิตามรัฐบาลสนับสนุนในโรคอะไร แค่ไหน อย่างไร และต้องใช้ยาตัวใด อีกทั้งควรระบุด้วยว่า 1 ปี รับบริการทางการแพทย์ได้กี่ครั้ง ส่วนกรณีหากประชาชนมีความต้องการสิทธิในการรักษาพยาบาลนอกเหนือที่รัฐบาลกำหนด ก็ต้องพร้อมที่จะต้องร่วมจ่าย ไม่ใช่ให้รัฐรับผิดชอบทั้งหมด
“หากดำเนินการได้เช่นนี้ จะส่งผลให้เกิดมาตรฐานในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ไม่ใช่กำหนดรูปแบบการรักษา รูปแบบเดียว แต่ใช้กับประชาชนทุกคน เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ เพราะการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ จะทำให้ประชาชนกลุ่มที่ต้องการสิทธิมากกว่าที่กำหนด มีทางเลือกในการรักษาพยาบาลมากขึ้น และมีความเหมาะสมเฉพาะรายนั้น หากให้ประชาชนมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลจะทำให้การรักษาพยาบาลมีความเหมาะสมเฉพาะราย ทำให้เกิดคุณภาพได้มาตรฐานที่ดี ซึ่งยืนยันว่า การผลักดันทั้งหมดนี้ไม่ใช่ไม่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้สิทธิรักษาฟรี แต่ต้องการความพอดีของระบบหลักประกันสุขภาพ ระหว่างค่าใช้จ่ายในการรักษา กับงบประมาณเข้า รพ.เท่านั้น” พญ.เชิดชู กล่าว
ประธาน สพผท.กล่าวต่อว่า แม้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) มีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างมาก แต่ไม่ได้เป็นการสะท้อน ว่า ประชาชนมีคามพึงพอใจในคุณภาพการรักษา เพราะหากพอใจในคุณภาพจะต้องเห็นจากการที่ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่ใช่วัดจากการไปเข้า รพ.แล้วไม่ต้องจ่ายเงิน ซึ่งสะท้อนได้จากการที่ไข้ฟ้องแพทย์ เพราะไม่พอใจผลการรักษา แสดงให้เห็นว่า การแพทย์ฯ ยังไม่เป็นที่พอใจของประชาชน