โดย..เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ
“ดนตรี” ไม่ได้ถูกรังสรรค์เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ได้จำกัดเพียงว่าคนที่มีร่างกายครบ 32 เท่านั้น ที่จะบรรเลงบทเพลงต่างๆ ออกมาได้อย่างไพเราะ เพราะวันนี้ นายยงสิทธิ์ ยงค์กมล หรือ นิล อายุ 25 ปี นักศึกษาปริญญาโทชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่แม้จะพิการทางสายตา แต่ฝีไม้ฝีมือและลีลาการเล่นแซกโซโฟน ของชายหนุ่มคนนี้ ได้ปรากฏให้ชาวโลก และได้ประจักษ์แล้วว่า ความพิการไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับผู้มีใจรักดนตรี
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ น้องนิล ได้รับรางวัล VSA International Young Soloists Award 2012 ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะเป็นการคัดสรรผลงานทางดนตรีของผู้พิการที่ไม่จำกัดแนว ทั้งคลาสสิก ร๊อค ป๊อป คันทรี ฯลฯ ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม ที่มีอายุตั้งแต่ 14-25 ปีจากทั่วโลก ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วคัดกรองจนเหลือนักดนตรีระดับหัวกะทิ เพียง 4 คน และ น้องนิล ก็ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 4 คนจากทั่วโลก ได้เงินรางวัลมูลค่า 5,000 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 150,000 บาท) พร้อมได้รับเชิญไปแสดงที่ Millennium Stage ใน John F.Kennedy Center กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศอเมริกา ซึ่งเป็นสถานที่ดังกล่าวดังไม่แพ้ คาร์เนกีฮอล์ ในวันที่ 17 มิถุนายน 2555 นี้
“รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลนี้ มีอาจารย์และเพื่อนๆ หลายคนบอกว่าที่ Millennium Stage ใน John F.Kennedy Center เป็นฮอลล์ที่ใหญ่ และนักดนตรีทั้งโลกใฝ่ฝันจะได้ไปเล่น ซึ่งผมโชคดีที่กำลังจะมีโอกาสไปเล่นเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายแต่เมื่อรู้ว่าได้ก็ภูมิใจ ทั้งนี้ รางวัลดังกล่าวนั้นเป็นรางวัลที่จัดขึ้นเพื่อผู้พิการทั่วโลก มีความสามารถทางดนตรีเข้าร่วมการแข่งขัน โดยผมได้ส่งวีดีโอการแสดงแซกโซโฟนเข้าร่วมออดิชัน เพราะได้รับคำแนะนำจาก David Nabb อาจารย์ที่เคยมาสอน Master class ว่า น่าจะลองส่งผลงานเข้าประกวดในรายการนี้ จึงตัดสินใจส่งเข้าประกวด ซึ่งก็มีแอบหวังว่าจะได้รับการคัดเลือกแต่ไม่ได้คาดหวังมาก เพราะรู้สึกว่าเราเล่นแซกโซโฟนมาเพียง 9 ปีไม่ได้เก่งเหมือนเด็กฝรั่งคนอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่จะเล่นดนตรีแต่เด็กๆ”น้องนิล บอกเล่าความในใจ
ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของเส้นทางสายดนตรีนั้น น้องนิล เล่าว่า “เริ่มเล่นดนตรี อายุประมาณ 5 ขวบ มีครอบครัวทั้งคุณปู่ พ่อแม่ และอา ซึ่งท่านมองว่าผมน่าจะเล่นได้ดีจึงส่งเสริมให้เล่น ซึ่งดนตรีชิ้นแรกที่เล่นนั้น คือ เปียโน โดยทางบ้านได้จ้างครูมาสอนให้ แต่เพราะมีปัญหาการมองเห็นอันเป็นผลจากที่แม่คลอดก่อนกำหนด เมื่อตอนจะต้องเข้าตู้อบทางเจ้าหน้าที่ลืมปิดตา ออกซิเจนเผาจอประสาทตาทำให้ดวงตามองไม่เห็น และจะค่อยเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ ดังนั้นเวลาเรียนเปียโนนั้น ครูก็จะสอน เช่น จับนิ้ววางบนแป้นเปียโน บอกโน้ตเพลงแบบปากต่อปาก มารู้จักโน้ตเพลงที่เป็นอักษรเบรลตอนโต ซึ่งในวัยเด็กนั้นผมก็เริ่มต้นเล่นเพลงง่ายๆ เช่น เพลงหนูมาลี เพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์ ซึ่งการฝึกซ้อมเท่าที่ผมจำได้ไม่ได้ใช้เวลานานมากนัก ฝึกประมาณ 2-3 ชั่วโมงก็จำได้เล่นได้ แต่ในวัยเด็กนั้นยอมรับว่าไม่ได้เล่นแต่ดนตรีเสียทีเดียว ผมยังมีกิจกรรมอื่นๆ เล่นกับเพื่อนๆ แต่ระหว่างนั้นก็ฝึกเล่นเปียโนอยู่ตลอด”
“จุดเปลี่ยนของผมเกิดเมื่อตอนอายุ 12 ปีที่เริ่มเล่นดนตรีจริงมากขึ้น และได้อาจารย์สุกรี (รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.)) สอนเล่นแซกโซโฟน ก็รู้สึกชอบ สนุกเพราะได้เล่นรวมวงกับเพื่อนๆ นับแต่นั้นมาก็หันมาเล่นแซกโซโฟนอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุ 15 ปีที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพราะเรียนช้ากว่าเกณฑ์ แต่ว่าผมได้ฝีกซ้อมบ่อยเล่นบ่อยเรียกว่าซึบซับจนรู้สึกชอบ และตอนนั้นผมได้เริ่มเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งแรกๆ ก็ตกรอบยังไม่ได้รางวัลใด และก็สอบเข้าเรียนหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์”
ส่วนความแตกต่างหรืออุปสรรคของการเรียนรู้และเล่นเปียโน และแซกโซโฟนนั้น น้องนิล บอกว่า การแสดงอารมณ์ผ่านบทเพลงนั้นๆ ไม่ต่างกัน แต่ทางกายภาพ เช่น การใช้นิ้ว ระหว่างเปียโน และแซกโซโฟน ต่างกันโดยเปียโน มือและเท้าต้องสัมพันธ์กัน ขณะที่แซกโซโฟนนั้นเปรียบเสมือนกระบอกเสียงต้องใช้นิ้ว ลมปาก และลิ้นให้สัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม ความยากของผมอยู่ที่การเรียน การฝึกซ้อม เพราะต้องยอมรับคนที่มีความพิการทางสายตานั้นเราต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และฝึกซ้อมสูงมากกว่าเพื่อนๆ ประมาณ 1 เท่าครึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเพลงที่ยากขึ้น ก็ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมและเรียนรู้มากกว่าเพื่อน
“บางครั้งเคยท้อ อย่างเวลารวมวงบางทีเพื่อนเล่นได้หมดแล้วแต่เรายังไม่ได้ ก็รู้สึกว่าทำไมเราต้องมาทำอะไรแบบนี้ ในขณะที่เพื่อนบางคนก็ไปเที่ยวเล่น ชอปปิ้ง เคยอยากเลิกเล่นแต่สุดท้ายก็ไม่เคยหยุดเล่นเลย เวลาผมเครียดก็ใช้วิธีออกมาจากตรงนั้น ไปหาสิ่งอื่นๆ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ผมชอบหลักการของพระพุทธเจ้า คำว่า โลกนี้อนิจจัง หากเราทำอะไรไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันไป เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ถ้าหากว่าเรามัวแต่ใฝ่หาสิ่งที่เราทำไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เรื่องทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นหลักการที่จะปลดเปลื้องทุกข์ได้ เราอย่าไปฝืนกับโลกและพยายามทำเต็มที่กับสิ่งที่เราทำได้ และคิดว่า หากเราทำได้ดีแล้วก็โอเค แต่หากทำไม่สำเร็จ ก็อย่าทุกข์กับมันมาก เราทุกคนมีทุกข์แต่อย่าไปจมกับมัน” น้องนิล เล่าถึงคำสอนที่สร้างกำลังใจ
นักดนตรีคนเก่ง ยอมรับว่า ตอนนี้ผมรู้สึกรักดนตรีเวลาเล่นมีความสุข ดนตรียังเป็นสื่อให้มีโอกาสได้บรรเลงเพลงกับเพื่อนๆ ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ ยิ่งในบางครั้งที่ได้ต้องเล่นบางเทคนิคที่ยากๆ ต้องใช้เวลาแต่เมื่อสามารถเล่นได้ก็รู้สึกเหมือนตอนเราเล่นเกมแล้วผ่านด่านยากๆ ได้สะใจดี
“หากวันหนึ่งมีโอกาสผมอยากจะสอนดนตรีให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาในโรงเรียนทั่วๆ ไป ได้เรียนดนตรีอย่างถูกต้องเพราะส่วนใหญ่โรงเรียนจะใช้ครูวิชาอื่นๆ มาสอน หรือจะเป็นคนที่ประกอบอาชีพอื่นๆ แต่มีใจรักดนตรีอยากจะเรียนดนตรีให้พวกเขาได้มีความรู้ อย่างน้อยก็รู้หลักการทางดนตรีเพราะผมเชื่อว่าดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ทำให้คนมีความอ่อนโยน รู้จักยืดหยุ่นไม่ได้มองหรือคิดแต่แง่ธุรกิจ คิดแต่กำไรขาดทุน จนขาดศีลธรรม ซึ่งผมเชื่อว่า ศิลปะทางดนตรีจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจคนได้” น้องนิล บอกถึงความฝันที่อยากจะทำในอนาคต
ผลงานที่สำคัญ
ในปี 2547 เข้าร่วมแข่งขัน Doctor Sax Competition ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และในปีเดียวกันนั้นยงสิทธิ์ก็ได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มม.ในระดับเตรียมอุดมดนตรี
ในปี 2548 ได้ร่วมเล่นในวง Hyper Saxophone ซึ่งเป็นวงที่อาจารย์ตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าประกวด การแข่งขันดนตรีเครื่องเป่า Asian Symphonic Band และได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ต่อมาในช่วงเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน ยงสิทธิ์ ก็ได้ไปออดิชันเพื่อเล่นในวง ensemble เพื่อไปงานแซกโซโฟนโลกที่ประเทศสโลวีเนีย ซึ่งสอบติดและผ่านเข้าไปเล่น โดยได้เข้าร่วมงาน 14th Saxophone Congress ทำให้ได้สัมผัสกับนักดนตรีที่มีความสามารถในด้านการเป่าแซกโซโฟนมากมายหลายคน รวมถึงได้พบกับบทเพลงใหม่ๆ ที่แต่งให้สำหรับแซกโซโฟนเล่น
ในปี พ.ศ.2552 ได้รางวัลชนะเลิศการประกวดการแข่งขันวง Asian Symphonic Band Competition ในรูปแบบวงใหญ่ ร่วมกับวงโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา หลังจากเมื่อปี พ.ศ.2551 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในรายการนี้
ในปี พ.ศ.2554 ได้เหรียญทองจากการแข่งขันเครื่องดนตรีเดี่ยว เซตเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14 พร้อมได้รับเชิญไปแสดงในงานต่างๆ มากมาย เช่น มหกรรมพลังบวก ignite network shows, เล่นดนตรี งานประชุมวิชาการนานาชาติ i-CREATe 2011 (the international Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology)
ปี พ.ศ.2555 นี้ ได้รับเชิญเป็นศิลปินพิเศษในงานมหกรรมดนตรีคนพิการแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 11 และได้รับรางวัล VSA International Young Soloists Award Program พร้อมได้รับเชิญไปเล่นที่ John F.Kennedy Center ซึ่งเป็นสถานที่การแสดงดนตรีระดับโลก
ปัจจุบัน- จบการศึกษา ระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 และศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
“ดนตรี” ไม่ได้ถูกรังสรรค์เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ได้จำกัดเพียงว่าคนที่มีร่างกายครบ 32 เท่านั้น ที่จะบรรเลงบทเพลงต่างๆ ออกมาได้อย่างไพเราะ เพราะวันนี้ นายยงสิทธิ์ ยงค์กมล หรือ นิล อายุ 25 ปี นักศึกษาปริญญาโทชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่แม้จะพิการทางสายตา แต่ฝีไม้ฝีมือและลีลาการเล่นแซกโซโฟน ของชายหนุ่มคนนี้ ได้ปรากฏให้ชาวโลก และได้ประจักษ์แล้วว่า ความพิการไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับผู้มีใจรักดนตรี
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ น้องนิล ได้รับรางวัล VSA International Young Soloists Award 2012 ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะเป็นการคัดสรรผลงานทางดนตรีของผู้พิการที่ไม่จำกัดแนว ทั้งคลาสสิก ร๊อค ป๊อป คันทรี ฯลฯ ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม ที่มีอายุตั้งแต่ 14-25 ปีจากทั่วโลก ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วคัดกรองจนเหลือนักดนตรีระดับหัวกะทิ เพียง 4 คน และ น้องนิล ก็ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 4 คนจากทั่วโลก ได้เงินรางวัลมูลค่า 5,000 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 150,000 บาท) พร้อมได้รับเชิญไปแสดงที่ Millennium Stage ใน John F.Kennedy Center กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศอเมริกา ซึ่งเป็นสถานที่ดังกล่าวดังไม่แพ้ คาร์เนกีฮอล์ ในวันที่ 17 มิถุนายน 2555 นี้
“รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลนี้ มีอาจารย์และเพื่อนๆ หลายคนบอกว่าที่ Millennium Stage ใน John F.Kennedy Center เป็นฮอลล์ที่ใหญ่ และนักดนตรีทั้งโลกใฝ่ฝันจะได้ไปเล่น ซึ่งผมโชคดีที่กำลังจะมีโอกาสไปเล่นเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายแต่เมื่อรู้ว่าได้ก็ภูมิใจ ทั้งนี้ รางวัลดังกล่าวนั้นเป็นรางวัลที่จัดขึ้นเพื่อผู้พิการทั่วโลก มีความสามารถทางดนตรีเข้าร่วมการแข่งขัน โดยผมได้ส่งวีดีโอการแสดงแซกโซโฟนเข้าร่วมออดิชัน เพราะได้รับคำแนะนำจาก David Nabb อาจารย์ที่เคยมาสอน Master class ว่า น่าจะลองส่งผลงานเข้าประกวดในรายการนี้ จึงตัดสินใจส่งเข้าประกวด ซึ่งก็มีแอบหวังว่าจะได้รับการคัดเลือกแต่ไม่ได้คาดหวังมาก เพราะรู้สึกว่าเราเล่นแซกโซโฟนมาเพียง 9 ปีไม่ได้เก่งเหมือนเด็กฝรั่งคนอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่จะเล่นดนตรีแต่เด็กๆ”น้องนิล บอกเล่าความในใจ
ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของเส้นทางสายดนตรีนั้น น้องนิล เล่าว่า “เริ่มเล่นดนตรี อายุประมาณ 5 ขวบ มีครอบครัวทั้งคุณปู่ พ่อแม่ และอา ซึ่งท่านมองว่าผมน่าจะเล่นได้ดีจึงส่งเสริมให้เล่น ซึ่งดนตรีชิ้นแรกที่เล่นนั้น คือ เปียโน โดยทางบ้านได้จ้างครูมาสอนให้ แต่เพราะมีปัญหาการมองเห็นอันเป็นผลจากที่แม่คลอดก่อนกำหนด เมื่อตอนจะต้องเข้าตู้อบทางเจ้าหน้าที่ลืมปิดตา ออกซิเจนเผาจอประสาทตาทำให้ดวงตามองไม่เห็น และจะค่อยเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ ดังนั้นเวลาเรียนเปียโนนั้น ครูก็จะสอน เช่น จับนิ้ววางบนแป้นเปียโน บอกโน้ตเพลงแบบปากต่อปาก มารู้จักโน้ตเพลงที่เป็นอักษรเบรลตอนโต ซึ่งในวัยเด็กนั้นผมก็เริ่มต้นเล่นเพลงง่ายๆ เช่น เพลงหนูมาลี เพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์ ซึ่งการฝึกซ้อมเท่าที่ผมจำได้ไม่ได้ใช้เวลานานมากนัก ฝึกประมาณ 2-3 ชั่วโมงก็จำได้เล่นได้ แต่ในวัยเด็กนั้นยอมรับว่าไม่ได้เล่นแต่ดนตรีเสียทีเดียว ผมยังมีกิจกรรมอื่นๆ เล่นกับเพื่อนๆ แต่ระหว่างนั้นก็ฝึกเล่นเปียโนอยู่ตลอด”
“จุดเปลี่ยนของผมเกิดเมื่อตอนอายุ 12 ปีที่เริ่มเล่นดนตรีจริงมากขึ้น และได้อาจารย์สุกรี (รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.)) สอนเล่นแซกโซโฟน ก็รู้สึกชอบ สนุกเพราะได้เล่นรวมวงกับเพื่อนๆ นับแต่นั้นมาก็หันมาเล่นแซกโซโฟนอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุ 15 ปีที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพราะเรียนช้ากว่าเกณฑ์ แต่ว่าผมได้ฝีกซ้อมบ่อยเล่นบ่อยเรียกว่าซึบซับจนรู้สึกชอบ และตอนนั้นผมได้เริ่มเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งแรกๆ ก็ตกรอบยังไม่ได้รางวัลใด และก็สอบเข้าเรียนหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์”
ส่วนความแตกต่างหรืออุปสรรคของการเรียนรู้และเล่นเปียโน และแซกโซโฟนนั้น น้องนิล บอกว่า การแสดงอารมณ์ผ่านบทเพลงนั้นๆ ไม่ต่างกัน แต่ทางกายภาพ เช่น การใช้นิ้ว ระหว่างเปียโน และแซกโซโฟน ต่างกันโดยเปียโน มือและเท้าต้องสัมพันธ์กัน ขณะที่แซกโซโฟนนั้นเปรียบเสมือนกระบอกเสียงต้องใช้นิ้ว ลมปาก และลิ้นให้สัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม ความยากของผมอยู่ที่การเรียน การฝึกซ้อม เพราะต้องยอมรับคนที่มีความพิการทางสายตานั้นเราต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และฝึกซ้อมสูงมากกว่าเพื่อนๆ ประมาณ 1 เท่าครึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเพลงที่ยากขึ้น ก็ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมและเรียนรู้มากกว่าเพื่อน
“บางครั้งเคยท้อ อย่างเวลารวมวงบางทีเพื่อนเล่นได้หมดแล้วแต่เรายังไม่ได้ ก็รู้สึกว่าทำไมเราต้องมาทำอะไรแบบนี้ ในขณะที่เพื่อนบางคนก็ไปเที่ยวเล่น ชอปปิ้ง เคยอยากเลิกเล่นแต่สุดท้ายก็ไม่เคยหยุดเล่นเลย เวลาผมเครียดก็ใช้วิธีออกมาจากตรงนั้น ไปหาสิ่งอื่นๆ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ผมชอบหลักการของพระพุทธเจ้า คำว่า โลกนี้อนิจจัง หากเราทำอะไรไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันไป เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ถ้าหากว่าเรามัวแต่ใฝ่หาสิ่งที่เราทำไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เรื่องทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นหลักการที่จะปลดเปลื้องทุกข์ได้ เราอย่าไปฝืนกับโลกและพยายามทำเต็มที่กับสิ่งที่เราทำได้ และคิดว่า หากเราทำได้ดีแล้วก็โอเค แต่หากทำไม่สำเร็จ ก็อย่าทุกข์กับมันมาก เราทุกคนมีทุกข์แต่อย่าไปจมกับมัน” น้องนิล เล่าถึงคำสอนที่สร้างกำลังใจ
นักดนตรีคนเก่ง ยอมรับว่า ตอนนี้ผมรู้สึกรักดนตรีเวลาเล่นมีความสุข ดนตรียังเป็นสื่อให้มีโอกาสได้บรรเลงเพลงกับเพื่อนๆ ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ ยิ่งในบางครั้งที่ได้ต้องเล่นบางเทคนิคที่ยากๆ ต้องใช้เวลาแต่เมื่อสามารถเล่นได้ก็รู้สึกเหมือนตอนเราเล่นเกมแล้วผ่านด่านยากๆ ได้สะใจดี
“หากวันหนึ่งมีโอกาสผมอยากจะสอนดนตรีให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาในโรงเรียนทั่วๆ ไป ได้เรียนดนตรีอย่างถูกต้องเพราะส่วนใหญ่โรงเรียนจะใช้ครูวิชาอื่นๆ มาสอน หรือจะเป็นคนที่ประกอบอาชีพอื่นๆ แต่มีใจรักดนตรีอยากจะเรียนดนตรีให้พวกเขาได้มีความรู้ อย่างน้อยก็รู้หลักการทางดนตรีเพราะผมเชื่อว่าดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ทำให้คนมีความอ่อนโยน รู้จักยืดหยุ่นไม่ได้มองหรือคิดแต่แง่ธุรกิจ คิดแต่กำไรขาดทุน จนขาดศีลธรรม ซึ่งผมเชื่อว่า ศิลปะทางดนตรีจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจคนได้” น้องนิล บอกถึงความฝันที่อยากจะทำในอนาคต
ผลงานที่สำคัญ
ในปี 2547 เข้าร่วมแข่งขัน Doctor Sax Competition ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และในปีเดียวกันนั้นยงสิทธิ์ก็ได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มม.ในระดับเตรียมอุดมดนตรี
ในปี 2548 ได้ร่วมเล่นในวง Hyper Saxophone ซึ่งเป็นวงที่อาจารย์ตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าประกวด การแข่งขันดนตรีเครื่องเป่า Asian Symphonic Band และได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ต่อมาในช่วงเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน ยงสิทธิ์ ก็ได้ไปออดิชันเพื่อเล่นในวง ensemble เพื่อไปงานแซกโซโฟนโลกที่ประเทศสโลวีเนีย ซึ่งสอบติดและผ่านเข้าไปเล่น โดยได้เข้าร่วมงาน 14th Saxophone Congress ทำให้ได้สัมผัสกับนักดนตรีที่มีความสามารถในด้านการเป่าแซกโซโฟนมากมายหลายคน รวมถึงได้พบกับบทเพลงใหม่ๆ ที่แต่งให้สำหรับแซกโซโฟนเล่น
ในปี พ.ศ.2552 ได้รางวัลชนะเลิศการประกวดการแข่งขันวง Asian Symphonic Band Competition ในรูปแบบวงใหญ่ ร่วมกับวงโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา หลังจากเมื่อปี พ.ศ.2551 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในรายการนี้
ในปี พ.ศ.2554 ได้เหรียญทองจากการแข่งขันเครื่องดนตรีเดี่ยว เซตเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14 พร้อมได้รับเชิญไปแสดงในงานต่างๆ มากมาย เช่น มหกรรมพลังบวก ignite network shows, เล่นดนตรี งานประชุมวิชาการนานาชาติ i-CREATe 2011 (the international Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology)
ปี พ.ศ.2555 นี้ ได้รับเชิญเป็นศิลปินพิเศษในงานมหกรรมดนตรีคนพิการแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 11 และได้รับรางวัล VSA International Young Soloists Award Program พร้อมได้รับเชิญไปเล่นที่ John F.Kennedy Center ซึ่งเป็นสถานที่การแสดงดนตรีระดับโลก
ปัจจุบัน- จบการศึกษา ระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 และศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล