กรอ.ส่อวืด หลัง ก.คลัง ไม่เห็นด้วยฟื้น กรอ.ทั้งระบบ เสนอให้เจาะเฉพาะบางสาขา ที่เหลือกู้ผ่าน กยศ.ต่อเหมือนเดิม ด้าน “สุชาติ” ยืนกระต่ายขาเดียว ยัน ต้องฟื้น กรอ.ทั้งหมดตามที่สัญญากับประชาชน รอไปชี้ดำชี้แดงกับในที่ประชุม ครม.
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (24 เม.ย.) นั้น ยังไม่สามารถนำเรื่องการฟื้นกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต หรือ กรอ.เข้าพิจารณาในที่ประชุม ครม.ได้ ทั้งที่ได้นำเสนอเป็นวาระจร เพื่อให้ ครม.พิจารณาแล้ว แต่เนื่องจากกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ดูแลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และจะต้องเป็นผู้ดูแลกองทุน กรอ.ในอนาคต มีความเห็นแย้งกับหลักการที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการ โดย ก.คลัง นั้น ต้องการจะฟื้น กรอ.ในบางสาขาวิชาเท่านั้น โดยเน้นในสาขาที่ขาดแคลน สำหรับสาขาอื่นๆ ก็ให้ปล่อยกู้ผ่านระบบ กยศ.ต่อไป
หากยังใช้หลักการ กยศ.นั่นหมายความว่า ผู้ที่จะสามารถเข้าระบบได้นั้น จำกัดวงเฉพาะผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ที่มีรายได้ครอบครัวรวมกันแล้วไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี ที่สำคัญ ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระหนี้คืนหลังสำเร็จการศึกษา 2 ปี มิฉะนั้น จะถูกฟ้องร้องตามสัญญากู้เงินที่เจ้าตัวทำไว้กับ กยศ.ซึ่งหลักการข้างต้นนั้น ขัดกับหลักการ Income Contingent Loan : ICL ที่รัฐบาลต้องการนำมาใช้กับการกู้ยืมเรียน ซึ่งสารสำคัญของหลักการ ICL คือ ให้ทุกคนที่มีสิทธิกู้ยืมเรียน สิทธินี้จะตามตัวผู้เรียนไป ทำให้เจ้าตัวสามารถเลือกเรียนที่ใดก็ได้ และที่สำคัญ ผู้กู้จะชำระหนี้คืนก็ต่อเมื่อเขามีรายได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ คือ 16,000 บาทต่อเดือน ตรงนี้เป็นการให้ความยุติธรรมกับผู้กู้ อย่างไรก็ตาม หลักการของ กรอ.เช่นนี้นั้น แตกต่างจากหลักการของ กยศ.อย่างมาก ตนจึงไม่เห็นด้วยกับการฟื้น กรอ.มาใช้เป็นบางสาขา ต้องฟื้น กรอ.ทั้งระบบ จึงจะเหมาะสม
“รัฐบาลและผมได้สัญญาไว้กับประชาชน ว่า จะดูลูกหลานของประชาชนเหมือนลูกหลานของตัวเอง และผมก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ของ ก.คลัง ซึ่งก็คงต้องรอไปพูดกันใน ครม.ก็แล้วแต่ ครม.จะว่าอย่างไร แต่ในส่วนตัวของผม ยังคงยืนยันว่า ควรนำ กรอ.มาใช้ทั้งระบบ แทน กยศ.” ศ.ดร.สุชาติ กล่าว
อนึ่ง หลักการของ กรอ.ใหม่ ที่ ศธ.เสนอนั้น จะเป็นการให้ทุนแก่ผู้เรียน ไม่มีการฟ้องร้องเมื่อผู้กู้เบี้ยวการชำระเงิน แต่มีเงื่อนไขกำหนดให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระเงินกู้คืน เมื่อมีรายได้ต่อเดือนถึง 16,000 บาท โดยให้ผ่อนชำระในอัตรา 2-3% ของวงเงินกู้ ให้กู้ทุกสาขาวิชา แต่ในสาขาขาดแคลนจะได้รับการพิจารณาก่อน และให้กู้เป็น 3 ส่วน คือ ค่าเทอม ค่าอุปกรณ์ และค่าครองชีพ ซึ่งในส่วนของค่าครองชีพนั้น ผู้กู้ต้องมาจากครอบครัวที่รายได้ไม่เกิน 300,000 บาท จึงจะเป็นสิทธิขอกู้ได้ ที่สำคัญ ผลการเรียนของผู้กู้จะเป็นตัวตัดสินการปล่อยกู้ต่อด้วย หากผู้กู้ เรียนได้คะแนนตกต่ำ ต้องออกจากการเรียน ก็อาจไม่ได้รับการพิจารณาให้กู้ต่อ เพราะถือเป็นการให้ทุน
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (24 เม.ย.) นั้น ยังไม่สามารถนำเรื่องการฟื้นกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต หรือ กรอ.เข้าพิจารณาในที่ประชุม ครม.ได้ ทั้งที่ได้นำเสนอเป็นวาระจร เพื่อให้ ครม.พิจารณาแล้ว แต่เนื่องจากกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ดูแลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และจะต้องเป็นผู้ดูแลกองทุน กรอ.ในอนาคต มีความเห็นแย้งกับหลักการที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการ โดย ก.คลัง นั้น ต้องการจะฟื้น กรอ.ในบางสาขาวิชาเท่านั้น โดยเน้นในสาขาที่ขาดแคลน สำหรับสาขาอื่นๆ ก็ให้ปล่อยกู้ผ่านระบบ กยศ.ต่อไป
หากยังใช้หลักการ กยศ.นั่นหมายความว่า ผู้ที่จะสามารถเข้าระบบได้นั้น จำกัดวงเฉพาะผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ที่มีรายได้ครอบครัวรวมกันแล้วไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี ที่สำคัญ ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระหนี้คืนหลังสำเร็จการศึกษา 2 ปี มิฉะนั้น จะถูกฟ้องร้องตามสัญญากู้เงินที่เจ้าตัวทำไว้กับ กยศ.ซึ่งหลักการข้างต้นนั้น ขัดกับหลักการ Income Contingent Loan : ICL ที่รัฐบาลต้องการนำมาใช้กับการกู้ยืมเรียน ซึ่งสารสำคัญของหลักการ ICL คือ ให้ทุกคนที่มีสิทธิกู้ยืมเรียน สิทธินี้จะตามตัวผู้เรียนไป ทำให้เจ้าตัวสามารถเลือกเรียนที่ใดก็ได้ และที่สำคัญ ผู้กู้จะชำระหนี้คืนก็ต่อเมื่อเขามีรายได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ คือ 16,000 บาทต่อเดือน ตรงนี้เป็นการให้ความยุติธรรมกับผู้กู้ อย่างไรก็ตาม หลักการของ กรอ.เช่นนี้นั้น แตกต่างจากหลักการของ กยศ.อย่างมาก ตนจึงไม่เห็นด้วยกับการฟื้น กรอ.มาใช้เป็นบางสาขา ต้องฟื้น กรอ.ทั้งระบบ จึงจะเหมาะสม
“รัฐบาลและผมได้สัญญาไว้กับประชาชน ว่า จะดูลูกหลานของประชาชนเหมือนลูกหลานของตัวเอง และผมก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ของ ก.คลัง ซึ่งก็คงต้องรอไปพูดกันใน ครม.ก็แล้วแต่ ครม.จะว่าอย่างไร แต่ในส่วนตัวของผม ยังคงยืนยันว่า ควรนำ กรอ.มาใช้ทั้งระบบ แทน กยศ.” ศ.ดร.สุชาติ กล่าว
อนึ่ง หลักการของ กรอ.ใหม่ ที่ ศธ.เสนอนั้น จะเป็นการให้ทุนแก่ผู้เรียน ไม่มีการฟ้องร้องเมื่อผู้กู้เบี้ยวการชำระเงิน แต่มีเงื่อนไขกำหนดให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระเงินกู้คืน เมื่อมีรายได้ต่อเดือนถึง 16,000 บาท โดยให้ผ่อนชำระในอัตรา 2-3% ของวงเงินกู้ ให้กู้ทุกสาขาวิชา แต่ในสาขาขาดแคลนจะได้รับการพิจารณาก่อน และให้กู้เป็น 3 ส่วน คือ ค่าเทอม ค่าอุปกรณ์ และค่าครองชีพ ซึ่งในส่วนของค่าครองชีพนั้น ผู้กู้ต้องมาจากครอบครัวที่รายได้ไม่เกิน 300,000 บาท จึงจะเป็นสิทธิขอกู้ได้ ที่สำคัญ ผลการเรียนของผู้กู้จะเป็นตัวตัดสินการปล่อยกู้ต่อด้วย หากผู้กู้ เรียนได้คะแนนตกต่ำ ต้องออกจากการเรียน ก็อาจไม่ได้รับการพิจารณาให้กู้ต่อ เพราะถือเป็นการให้ทุน