สธ.แนะใส่หมวกมีปีก-แว่นกันแดดเล่นสงกรานต์ป้องอันตรายจากแดดจัดทำเกิดต้อเนื้อที่ตา เยื่อบุตาอักเสบ แถมเสี่ยงโรคจ่อประสาทตาเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เดือนเมษายนเป็นเดือนที่สภาพอากาศร้อนและแดดจัด ผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่กลางแจ้ง ต้องทำงานตากแดดตลอดเวลา หรือผู้ที่ขับรถในช่วงกลางวัน รวมทั้งคนที่อยู่ตามเกาะกลางทะเลหรืออยู่ใกล้กับทะเล ซึ่งจะโดนแสงแดดสะท้อนจากผิวน้ำ นับว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาต้อเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้นด้วย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรังสียูวีที่มีในแสงแดด ดังนั้นประชาชนที่จะออกเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขอให้ถนอมและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา ควรสวมหมวกที่มีปีกและสวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดด
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวว่า รังสียูวี หรือที่เรียกว่าแสงอุลตร้าไวโอเล็ต เป็นแสงเหนือม่วง เป็นแสงที่เกิดจากดวงอาทิตย์และเป็นแสงที่มองไม่เห็น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ชนิด เอ, ชนิด บี, และชนิด ซี ซึ่งแสงชนิด ซี จะไม่ค่อยได้สัมผัสจริงในชีวิตประจำวัน เพราะโลกมีชั้นบรรยากาศกั้นไว้ อันตรายที่เกิดจากแสงชนิด ซี ก็คือทำให้กระจกตาอักเสบ แต่ไม่มีอันตรายรุนแรงถึงกับทำให้ตาบอด หากได้นอนพักผ่อนสายตาสัก 1-2 วันอาการตาอักเสบก็จะหายเอง
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า แสงยูวีที่เป็นอันตรายต่อสายตามากที่สุดคือ แสงยูวีชนิด เอ และชนิด บี และเราสามารถได้รับแสงทั้ง 2 ชนิดนี้ในช่วง 10.00-14.00 น.ของทุกวัน โดยแสงยูวีเอ และยูวีบี จะเข้มข้นมากที่สุดในช่วงเที่ยงวัน เนื่องจากดวงอาทิตย์จะส่องแสงมาเป็นแนวตรง จึงทะลุชั้นโอโซนลงมาอย่างเต็มที่ หากเราหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดในช่วงนี้ ก็จะเป็นการป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง อันตรายจากแสงยูวีบี คือทำให้ผิวหนังแดง ร้อนจนถึงไหม้ อันตรายต่อดวงตาจะทำให้กระจกตาอักเสบ โดยมีอาการปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง เช่นเดียวกันกับการโดนแสงที่เชื่อมโลหะ หากได้สัมผัสกับแสงยูวีทั้งชนิด เอ และชนิด บี อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคต้อเนื้อ ต้อลม เยื่อบุตาอักเสบ รวมทั้งยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุอีกด้วย
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า วิธีง่ายๆที่จะป้องกันดวงตาจากอันตรายที่เกิดจากรังสียูวี คือ 1.ใส่หมวกที่มีปีกยื่นออกมาข้างหน้า ซึ่งจะช่วยลดแสงได้ร้อยละ 50 2.ใส่แว่นกันแดด ช่วยลดแสงได้ร้อยละ 85 และ 3.ใส่ทั้งหมวกและแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดด จะช่วยลดการได้รับแสงถึงร้อยละ 95 ซึ่งการสำรวจตลาดเลนส์แว่นตาในสหรัฐอเมริกาพบว่า แว่นกันแดดที่มีขายอยู่ทั่วไป แว่นที่เป็นเลนส์พลาสติกจะกรองรังสียูวีเอได้ดีกว่าเลนส์แก้ว เนื่องจากเลนส์ชนิดพลาสติกสามารถกรองแสงได้มากกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้แว่นกันแดดที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ดีที่สุด คือ แบบที่มีปีกปิดกรองแสงรอบด้าน แต่ถ้าเป็นแว่นกันแดดแบบธรรมดา และใส่ห่างจากดวงตาจะกรองแสงยูวีได้แค่ร้อยละ 75 เท่านั้น ส่วนกรณีที่มีบางคนนิยมใส่แว่นกันแดดเลนส์ที่มีสีเหลือง หรือสีอื่นๆ เป็นเพียงแค่การลดความเข้มของแสงเท่านั้น ไม่มีผลต่อการกรองแสงยูวีแต่อย่างใด เพราะประสิทธิภาพของแว่นกันแดดในการกรองแสงยูวีนั้นขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้ทำแว่นตา และสำหรับคนที่ใส่แว่นสายตาเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นการป้องกันแสงยูวีได้ในระดับหนึ่ง
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เดือนเมษายนเป็นเดือนที่สภาพอากาศร้อนและแดดจัด ผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่กลางแจ้ง ต้องทำงานตากแดดตลอดเวลา หรือผู้ที่ขับรถในช่วงกลางวัน รวมทั้งคนที่อยู่ตามเกาะกลางทะเลหรืออยู่ใกล้กับทะเล ซึ่งจะโดนแสงแดดสะท้อนจากผิวน้ำ นับว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาต้อเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้นด้วย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรังสียูวีที่มีในแสงแดด ดังนั้นประชาชนที่จะออกเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขอให้ถนอมและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา ควรสวมหมวกที่มีปีกและสวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดด
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวว่า รังสียูวี หรือที่เรียกว่าแสงอุลตร้าไวโอเล็ต เป็นแสงเหนือม่วง เป็นแสงที่เกิดจากดวงอาทิตย์และเป็นแสงที่มองไม่เห็น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ชนิด เอ, ชนิด บี, และชนิด ซี ซึ่งแสงชนิด ซี จะไม่ค่อยได้สัมผัสจริงในชีวิตประจำวัน เพราะโลกมีชั้นบรรยากาศกั้นไว้ อันตรายที่เกิดจากแสงชนิด ซี ก็คือทำให้กระจกตาอักเสบ แต่ไม่มีอันตรายรุนแรงถึงกับทำให้ตาบอด หากได้นอนพักผ่อนสายตาสัก 1-2 วันอาการตาอักเสบก็จะหายเอง
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า แสงยูวีที่เป็นอันตรายต่อสายตามากที่สุดคือ แสงยูวีชนิด เอ และชนิด บี และเราสามารถได้รับแสงทั้ง 2 ชนิดนี้ในช่วง 10.00-14.00 น.ของทุกวัน โดยแสงยูวีเอ และยูวีบี จะเข้มข้นมากที่สุดในช่วงเที่ยงวัน เนื่องจากดวงอาทิตย์จะส่องแสงมาเป็นแนวตรง จึงทะลุชั้นโอโซนลงมาอย่างเต็มที่ หากเราหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดในช่วงนี้ ก็จะเป็นการป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง อันตรายจากแสงยูวีบี คือทำให้ผิวหนังแดง ร้อนจนถึงไหม้ อันตรายต่อดวงตาจะทำให้กระจกตาอักเสบ โดยมีอาการปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง เช่นเดียวกันกับการโดนแสงที่เชื่อมโลหะ หากได้สัมผัสกับแสงยูวีทั้งชนิด เอ และชนิด บี อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคต้อเนื้อ ต้อลม เยื่อบุตาอักเสบ รวมทั้งยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุอีกด้วย
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า วิธีง่ายๆที่จะป้องกันดวงตาจากอันตรายที่เกิดจากรังสียูวี คือ 1.ใส่หมวกที่มีปีกยื่นออกมาข้างหน้า ซึ่งจะช่วยลดแสงได้ร้อยละ 50 2.ใส่แว่นกันแดด ช่วยลดแสงได้ร้อยละ 85 และ 3.ใส่ทั้งหมวกและแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดด จะช่วยลดการได้รับแสงถึงร้อยละ 95 ซึ่งการสำรวจตลาดเลนส์แว่นตาในสหรัฐอเมริกาพบว่า แว่นกันแดดที่มีขายอยู่ทั่วไป แว่นที่เป็นเลนส์พลาสติกจะกรองรังสียูวีเอได้ดีกว่าเลนส์แก้ว เนื่องจากเลนส์ชนิดพลาสติกสามารถกรองแสงได้มากกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้แว่นกันแดดที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ดีที่สุด คือ แบบที่มีปีกปิดกรองแสงรอบด้าน แต่ถ้าเป็นแว่นกันแดดแบบธรรมดา และใส่ห่างจากดวงตาจะกรองแสงยูวีได้แค่ร้อยละ 75 เท่านั้น ส่วนกรณีที่มีบางคนนิยมใส่แว่นกันแดดเลนส์ที่มีสีเหลือง หรือสีอื่นๆ เป็นเพียงแค่การลดความเข้มของแสงเท่านั้น ไม่มีผลต่อการกรองแสงยูวีแต่อย่างใด เพราะประสิทธิภาพของแว่นกันแดดในการกรองแสงยูวีนั้นขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้ทำแว่นตา และสำหรับคนที่ใส่แว่นสายตาเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นการป้องกันแสงยูวีได้ในระดับหนึ่ง