“บุญยืน” แขวะรัฐบาลอยากเพิ่มคุณภาพระบบ 30 บาท ตามที่หาเสียง แต่กลับตัดงบรายหัว สปสช.ปี 2556 เหลือ 2,755.60 บาทต่อคน จี้ “วิทยา” ต้องดันงบ 3,123.47 บาทต่อคน อ้างมีแนวคิดทางวิชาการหนุน
ตามที่สำนักงบประมาณได้เสนองบภาพรวมปี 2556 และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยตัดงบเหมาจ่ายรายหัวของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อยู่ที่ 2,755.60 บาทต่อคน ลดจากปี 2555 4.9% โดย นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า จะมีการเสนอรายละเอียดงบ สปสช. ต่อคณะรัฐมนตรี อีกครั้งในวันที่ 8 พ.ค.ที่จะถึงนี้
จากกรณีดังกล่าว น.ส.บุญยืน ศิริธรรม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร เปิดเผยว่า บอร์ด สปสช.มีมติ เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา เห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ซึ่งมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธานได้เสนองบเหมาจ่ายรายหัวปี 2556 ของ สปสช.ไว้ที่ 3,123.47 บาทต่อคน หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ประมาณ 7.9% เพื่อคงสิทธิประโยชน์ และการเข้าถึงบริการของประชาชนไม่ต่ำกว่าเดิม รวมทั้งเพื่อรองรับนโยบายเพิ่มคุณภาพระบบ 30 บาท ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และให้เกิดความเท่าเทียมของ 3 กองทุน โดยงบเหมาจ่ายรายหัวที่เสนอ 3,123.47 บาทต่อคน ได้มาจากการคิดทางวิชาการ ดังนี้
1.รายการตามสิทธิประโยชน์เดิมเพื่อรักษาคุณภาพของการให้บริการไม่ให้ลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา และรองรับกับอัตราเงินเฟ้อที่คำนวณไว้ในอัตราต่ำสุด เป็นเงิน 2,939.73 บาทต่อคนหรือเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ประมาณ 1.5%
2.เพิ่มค่าตอบแทนพิเศษให้หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามประกาศฉบับที่ 4, 6 และ 7 เพื่อลดภาระเงินบำรุงของ รพ.เป็นเงิน 102.20 บาท ต่อคน
3.เพิ่มค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐบาลในการบรรจุพยาบาลใหม่ 3,000 อัตรา ในภาคใต้และการเพิ่มเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ขั้นต่ำ 15,000 ต่อเดือน เพิ่มค่าแรงลูกจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน รวมเป็นเงิน 82.00 บาทต่อคน
ดังนั้น ถ้าจะให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช.สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการได้เท่าเดิม เพิ่มคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลต่างๆ สร้างความเท่าเทียมของ 3 กองทุนสุขภาพตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจะต้องจัดงบประมาณเหมาจ่ายสนับสนุนปี 2556 เป็นเงินรวม 3,123.47 บาทต่อคน หรือเพิ่มขึ้นจากปีนี้ 7.9% ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่ารัฐบาลชุดที่แล้วของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เพิ่มให้ระบบบัตรทองของ สปสช.ในปี 2555 นี้ประมาณ 13.8% จึงจะทำให้ระบบ 30 บาท มีคุณภาพเท่าเทียมกับกองทุนอื่นตามที่รัฐบาลหาเสียงสัญญากับประชาชนไว้
“การดูแลให้ได้งบประมาณเพียงพอเป็นหน้าที่โดยตรงของ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ที่ต้องผลักดันงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวปี 56 ตามที่บอร์ด สปสช.มีมติไว้เพราะเป็นการตั้งงบประมาณที่เป็นไปตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้แล้ว รวมทั้งรัฐบาลต้องไม่ตัดงบประมาณสนับสนุนการส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เพราะเป็นภัยเงียบที่เป็นปัญหาของประเทศ ทำให้เกิดโรคหัวใจ ไตวาย จอประสาทตาเสื่อม และที่ผ่านมาได้เริ่มต้นทำไว้ดีอยู่แล้ว ถ้างบนี้ถูกคณะรัฐมนตรีตัดลดลง แสดงว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ให้ความสำคัญกับงานสร้างสุขภาพ ป้องกันโรคตามที่ประกาศไว้” น.ส.บุญยืน กล่าว
น.ส.บุญยืน กล่าวทิ้งท้ายว่า จะติดตามดูผลการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะให้ความสำคัญกับนโยบายเพิ่มคุณภาพของระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคจริงหรือเป็นเพียงการหาเสียง
ตามที่สำนักงบประมาณได้เสนองบภาพรวมปี 2556 และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยตัดงบเหมาจ่ายรายหัวของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อยู่ที่ 2,755.60 บาทต่อคน ลดจากปี 2555 4.9% โดย นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า จะมีการเสนอรายละเอียดงบ สปสช. ต่อคณะรัฐมนตรี อีกครั้งในวันที่ 8 พ.ค.ที่จะถึงนี้
จากกรณีดังกล่าว น.ส.บุญยืน ศิริธรรม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร เปิดเผยว่า บอร์ด สปสช.มีมติ เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา เห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ซึ่งมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธานได้เสนองบเหมาจ่ายรายหัวปี 2556 ของ สปสช.ไว้ที่ 3,123.47 บาทต่อคน หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ประมาณ 7.9% เพื่อคงสิทธิประโยชน์ และการเข้าถึงบริการของประชาชนไม่ต่ำกว่าเดิม รวมทั้งเพื่อรองรับนโยบายเพิ่มคุณภาพระบบ 30 บาท ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และให้เกิดความเท่าเทียมของ 3 กองทุน โดยงบเหมาจ่ายรายหัวที่เสนอ 3,123.47 บาทต่อคน ได้มาจากการคิดทางวิชาการ ดังนี้
1.รายการตามสิทธิประโยชน์เดิมเพื่อรักษาคุณภาพของการให้บริการไม่ให้ลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา และรองรับกับอัตราเงินเฟ้อที่คำนวณไว้ในอัตราต่ำสุด เป็นเงิน 2,939.73 บาทต่อคนหรือเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ประมาณ 1.5%
2.เพิ่มค่าตอบแทนพิเศษให้หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามประกาศฉบับที่ 4, 6 และ 7 เพื่อลดภาระเงินบำรุงของ รพ.เป็นเงิน 102.20 บาท ต่อคน
3.เพิ่มค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐบาลในการบรรจุพยาบาลใหม่ 3,000 อัตรา ในภาคใต้และการเพิ่มเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ขั้นต่ำ 15,000 ต่อเดือน เพิ่มค่าแรงลูกจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน รวมเป็นเงิน 82.00 บาทต่อคน
ดังนั้น ถ้าจะให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช.สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการได้เท่าเดิม เพิ่มคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลต่างๆ สร้างความเท่าเทียมของ 3 กองทุนสุขภาพตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจะต้องจัดงบประมาณเหมาจ่ายสนับสนุนปี 2556 เป็นเงินรวม 3,123.47 บาทต่อคน หรือเพิ่มขึ้นจากปีนี้ 7.9% ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่ารัฐบาลชุดที่แล้วของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เพิ่มให้ระบบบัตรทองของ สปสช.ในปี 2555 นี้ประมาณ 13.8% จึงจะทำให้ระบบ 30 บาท มีคุณภาพเท่าเทียมกับกองทุนอื่นตามที่รัฐบาลหาเสียงสัญญากับประชาชนไว้
“การดูแลให้ได้งบประมาณเพียงพอเป็นหน้าที่โดยตรงของ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ที่ต้องผลักดันงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวปี 56 ตามที่บอร์ด สปสช.มีมติไว้เพราะเป็นการตั้งงบประมาณที่เป็นไปตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้แล้ว รวมทั้งรัฐบาลต้องไม่ตัดงบประมาณสนับสนุนการส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เพราะเป็นภัยเงียบที่เป็นปัญหาของประเทศ ทำให้เกิดโรคหัวใจ ไตวาย จอประสาทตาเสื่อม และที่ผ่านมาได้เริ่มต้นทำไว้ดีอยู่แล้ว ถ้างบนี้ถูกคณะรัฐมนตรีตัดลดลง แสดงว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ให้ความสำคัญกับงานสร้างสุขภาพ ป้องกันโรคตามที่ประกาศไว้” น.ส.บุญยืน กล่าว
น.ส.บุญยืน กล่าวทิ้งท้ายว่า จะติดตามดูผลการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะให้ความสำคัญกับนโยบายเพิ่มคุณภาพของระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคจริงหรือเป็นเพียงการหาเสียง