“วิทยา” ชูนโยบายลดโรค เพิ่มสุข เป็นของขวัญผู้สูงอายุไทยกว่า 8 ล้านคน ให้โรงพยาบาลทุกแห่งใช้อารยะสถาปัตย์ สะดวก สะอาด ปลอดภัย ให้เจ้าหน้าที่สำรวจ ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุทุกชุมชน หมู่บ้าน จัดรถพยาบาลฉุกเฉินรับตัวถึงบ้าน ในอีก 1-2 ปี เตรียมผุดคลินิกเดย์แคร์ต้นแบบ บูรณาการแพทย์ 3 แผนดูแล และการดูแลผู้สูงอายุในคอนโด บ้านจัดสรร สังคมเมือง
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายน ทุกปี ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 ระเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 8 ล้านกว่าคน จากประชากรประมาณ 64 ล้านคน อายุขัยเฉลี่ยผู้ชายไทย 69.4 ปี ผู้หญิงเฉลี่ย 81.9 ปี ผู้ชายอายุสั้นกว่าผู้หญิงเนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าทั้งเรื่องอุบัติเหตุจราจร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา โดยในปี 2553 จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ทั่วประเทศมีผู้ที่อายุเกิน 100 ปี หรือเรียกว่า ศตวรรษิกชน จำนวน 14,493 คน เป็นหญิง 8,474 คน ชาย 6,019 คน
นายวิทยา กล่าวว่า รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุไทย ซึ่งเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรของครอบครัว โดยมีนโยบายลดโรค เพิ่มสุข ให้ผู้สูงอายุ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ50 จะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค เช่น เบาหวาน ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มบริการพิเศษ มอบเป็นของขวัญแก่ผู้สูงอายุทุกคน โดยให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ปรับปรุงโครงสร้างสถานที่ให้เป็นแบบอารยะสถาปัตย์ เช่น ทางลาด ห้องส้วม ที่จอดรถ ให้สะดวก สะอาด และปลอดภัย โดยให้ใช้ส้วมชนิดนั่งแทนส้วมนั่งยอง ซึ่งจะสบายกว่า เนื่องจากผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 20 มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม และให้ทุกจุดบริการในโรงพยาบาล เช่น ห้องบัตร ห้องตรวจโรค ห้องยา ให้บริการทางด่วน แก่ผู้ที่อายุ 70 ปีขึ้นไป ไม่ต้องเข้าคิว หรือบริการ 70 ปีไม่มีคิว เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการอย่างรวดเร็ว และให้จัดหน่วยบริการพิเศษในโรงพยาบาล เช่น บริการให้คำปรึกษา บริการตรวจประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
ส่วนในชุมชน หมู่บ้านทั่วประเทศ ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกสำรวจ ตรวจคัดกรองสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุทุกคน ประเมินตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน เช่นการเดิน การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร และประเมินสุขภาพจิต โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า ว้าเหว่ และประเมินภาวะสมองเสื่อม เพื่อจัดกลุ่มดูแลอย่างเหมาะสม หากเป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย จะจัดหน่วยเยี่ยมบ้านดูแลต่อเนื่อง หากผู้สูงอายุเจ็บป่วยจำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล จะจัดรถพยาบาลไปรับส่งถึงบ้าน
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในอีก 1-2 ปีนี้ ได้วางแผนการบริการผู้สูงอายุอีก 3 เรื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุไทยมีสุขภาพแข็งแรงให้นานที่สุด และนอนโรงพยาบาลให้ช้าที่สุด ดังนี้ 1.ให้กรมอนามัย พัฒนารูปแบบบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันปัญหาที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ เช่นข้อเข่าเสื่อม หลังงอ 2.ให้กรมการแพทย์ พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยในภาคกลางวัน หรือที่เรียกว่าเดย์ แคร์ (Day Care Center) ในโรงพยาบาล ให้เหมาะกับสภาพสังคมไทย โดยบูรณาการการรักษาฟื้นฟูด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขยายผลในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นศูนย์ฝึกอบรมลูกหลานในการดูแลผู้สูงอายุด้วย เพิ่มบริการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุอย่างครบวงจร เช่นประเมินการหกล้ม สายตา สมองเสื่อม และส่งรักษาที่โรงพยาบาลเฉพาะทาง
ประการที่ 3. คือการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง ซึ่งแนวโน้มจะมีมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมไทย ในสภาพสังคมเมืองผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะอยู่โดดเดี่ยว ตามคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร บางคนอยู่คนเดียว ขาดลูกหลานดูแล แตกต่างจากสังคมชนบท เป็นจุดที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้มอบให้กรมการแพทย์ พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแลผู้สูงอายุ เช่นโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ตหรือระบบเทเลเมดดิซีน( Telemedicine) ทั้งเรื่องการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ การติดตามการรักษา
ทางด้านนายแพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า สุขภาพของผู้สูงอายุขณะนี้น่าเป็นห่วง จากการประเมินพบว่า ผู้ที่ที่ไปใช้บริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 60-70 ผลการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อพ.ศ.2551-2552 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่าผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ที่พบบ่อยคือโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 48 โรคเบาหวานร้อยละ 16 และอ้วนลงพุงร้อยละ 36 ส่วนกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ ตัวเลขที่น่าตกใจมากพบว่า ผู้สูงอายุไทยเป็นโรคข้อเสื่อมค่อนข้างสูงเฉลี่ยร้อยละ19 คาดประมาณว่าขณะนี้ผู้สูงอายุไทย กำลังเชิญโรคข้อเสื่อม ทำให้มีอาการปวดข้อ ข้อบวมอย่างเรื้อรัง ประมาณ 1 ล้าน 4 แสนกว่าคน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่าตัว พบผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ12 หรือประมาณ 880,000 คน ส่วนใหญ่พบในเขตชนบทมากกว่าในเมือง ส่วนปัญหาสายตา พบเป็นต้อกระจกร้อยละ 21 ในด้านการบดเคี้ยว พบว่าผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงร้อยละ 53 เหลือฟันในปากน้อยกว่า 20 ซี่ โดย 1 ใน 5 ใส่ฟันปลอม มากที่สุด คือผู้สูงอายุในกทม. ต่ำที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขณะนี้คาดว่า จะมีผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ดี ช่วยเหลือเองไม่ได้เลย ต้องพึ่งคนอื่นดูแล 100 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 80,000 คน มีผู้สูงอายุที่ป่วยและพอช่วยเหลือตนเองได้ หรือเรียกว่ากลุ่มอยู่ติดบ้านประมาณร้อยละ 20 หรือประมาณ 1.6 ล้านคน ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรง ช่วยตัวเองได้ดี ซึ่งกลุ่มนี้รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังประจำตัวด้วย
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายน ทุกปี ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 ระเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 8 ล้านกว่าคน จากประชากรประมาณ 64 ล้านคน อายุขัยเฉลี่ยผู้ชายไทย 69.4 ปี ผู้หญิงเฉลี่ย 81.9 ปี ผู้ชายอายุสั้นกว่าผู้หญิงเนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าทั้งเรื่องอุบัติเหตุจราจร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา โดยในปี 2553 จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ทั่วประเทศมีผู้ที่อายุเกิน 100 ปี หรือเรียกว่า ศตวรรษิกชน จำนวน 14,493 คน เป็นหญิง 8,474 คน ชาย 6,019 คน
นายวิทยา กล่าวว่า รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุไทย ซึ่งเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรของครอบครัว โดยมีนโยบายลดโรค เพิ่มสุข ให้ผู้สูงอายุ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ50 จะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค เช่น เบาหวาน ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มบริการพิเศษ มอบเป็นของขวัญแก่ผู้สูงอายุทุกคน โดยให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ปรับปรุงโครงสร้างสถานที่ให้เป็นแบบอารยะสถาปัตย์ เช่น ทางลาด ห้องส้วม ที่จอดรถ ให้สะดวก สะอาด และปลอดภัย โดยให้ใช้ส้วมชนิดนั่งแทนส้วมนั่งยอง ซึ่งจะสบายกว่า เนื่องจากผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 20 มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม และให้ทุกจุดบริการในโรงพยาบาล เช่น ห้องบัตร ห้องตรวจโรค ห้องยา ให้บริการทางด่วน แก่ผู้ที่อายุ 70 ปีขึ้นไป ไม่ต้องเข้าคิว หรือบริการ 70 ปีไม่มีคิว เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการอย่างรวดเร็ว และให้จัดหน่วยบริการพิเศษในโรงพยาบาล เช่น บริการให้คำปรึกษา บริการตรวจประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
ส่วนในชุมชน หมู่บ้านทั่วประเทศ ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกสำรวจ ตรวจคัดกรองสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุทุกคน ประเมินตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน เช่นการเดิน การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร และประเมินสุขภาพจิต โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า ว้าเหว่ และประเมินภาวะสมองเสื่อม เพื่อจัดกลุ่มดูแลอย่างเหมาะสม หากเป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย จะจัดหน่วยเยี่ยมบ้านดูแลต่อเนื่อง หากผู้สูงอายุเจ็บป่วยจำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล จะจัดรถพยาบาลไปรับส่งถึงบ้าน
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในอีก 1-2 ปีนี้ ได้วางแผนการบริการผู้สูงอายุอีก 3 เรื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุไทยมีสุขภาพแข็งแรงให้นานที่สุด และนอนโรงพยาบาลให้ช้าที่สุด ดังนี้ 1.ให้กรมอนามัย พัฒนารูปแบบบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันปัญหาที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ เช่นข้อเข่าเสื่อม หลังงอ 2.ให้กรมการแพทย์ พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยในภาคกลางวัน หรือที่เรียกว่าเดย์ แคร์ (Day Care Center) ในโรงพยาบาล ให้เหมาะกับสภาพสังคมไทย โดยบูรณาการการรักษาฟื้นฟูด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขยายผลในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นศูนย์ฝึกอบรมลูกหลานในการดูแลผู้สูงอายุด้วย เพิ่มบริการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุอย่างครบวงจร เช่นประเมินการหกล้ม สายตา สมองเสื่อม และส่งรักษาที่โรงพยาบาลเฉพาะทาง
ประการที่ 3. คือการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง ซึ่งแนวโน้มจะมีมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมไทย ในสภาพสังคมเมืองผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะอยู่โดดเดี่ยว ตามคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร บางคนอยู่คนเดียว ขาดลูกหลานดูแล แตกต่างจากสังคมชนบท เป็นจุดที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้มอบให้กรมการแพทย์ พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแลผู้สูงอายุ เช่นโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ตหรือระบบเทเลเมดดิซีน( Telemedicine) ทั้งเรื่องการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ การติดตามการรักษา
ทางด้านนายแพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า สุขภาพของผู้สูงอายุขณะนี้น่าเป็นห่วง จากการประเมินพบว่า ผู้ที่ที่ไปใช้บริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 60-70 ผลการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อพ.ศ.2551-2552 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่าผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ที่พบบ่อยคือโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 48 โรคเบาหวานร้อยละ 16 และอ้วนลงพุงร้อยละ 36 ส่วนกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ ตัวเลขที่น่าตกใจมากพบว่า ผู้สูงอายุไทยเป็นโรคข้อเสื่อมค่อนข้างสูงเฉลี่ยร้อยละ19 คาดประมาณว่าขณะนี้ผู้สูงอายุไทย กำลังเชิญโรคข้อเสื่อม ทำให้มีอาการปวดข้อ ข้อบวมอย่างเรื้อรัง ประมาณ 1 ล้าน 4 แสนกว่าคน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่าตัว พบผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ12 หรือประมาณ 880,000 คน ส่วนใหญ่พบในเขตชนบทมากกว่าในเมือง ส่วนปัญหาสายตา พบเป็นต้อกระจกร้อยละ 21 ในด้านการบดเคี้ยว พบว่าผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงร้อยละ 53 เหลือฟันในปากน้อยกว่า 20 ซี่ โดย 1 ใน 5 ใส่ฟันปลอม มากที่สุด คือผู้สูงอายุในกทม. ต่ำที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขณะนี้คาดว่า จะมีผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ดี ช่วยเหลือเองไม่ได้เลย ต้องพึ่งคนอื่นดูแล 100 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 80,000 คน มีผู้สูงอายุที่ป่วยและพอช่วยเหลือตนเองได้ หรือเรียกว่ากลุ่มอยู่ติดบ้านประมาณร้อยละ 20 หรือประมาณ 1.6 ล้านคน ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรง ช่วยตัวเองได้ดี ซึ่งกลุ่มนี้รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังประจำตัวด้วย