ASTV ผู้จัดการรายวัน - WHO หนุนไทยเก็บภาษียาสูบ 80 %ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ-ลดนักสูบหน้าใหม่ บุหรี่ซองราคาขั้นต่ำ 40 บาท ยาเส้นขยับเป็น 6.50 บาท ศจย.เชื่อราคาแพง ทำคนไทยสูบน้อยลง พร้อมจัดเก็บภาษีหน้าโรงงานปรับเพิ่มเป็น 87 %
ดร.ไอดา ยูริกลี ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ยาสูบ องค์การอนามัยโลก หรือฮู (WHO) กล่าวในงานแถลงข่าว "ผู้เชี่ยวชาญภาษียาสูบจากองค์การอนามัยโลก สนับสนุนนโยบายการขึ้นภาษีของรัฐบาลไทย" ว่า การขึ้นภาษียาสูบเป็นมาตรการที่ดี ช่วยป้องกันนักสูบหน้าใหม่การขึ้นภาษียาสูฐนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านสาธารณสุขแล้วยังสามารถเพิ่มรายได้ให้รัฐด้วย ทั้งนี้ข้อมูลในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยโดยเฉลี่ยพบว่าต้นทุนที่ต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมทั้งค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบริโภคยาสูบสูงกว่ารายได้ของรัฐที่ได้จากภาษีฯ จึงสนับสนุนให้รัฐบาลไทยเพิ่มภาษียาสูบ เพื่อลดผู้สูบหน้าใหม่ลดการตายก่อนวัยอันควรและลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
ด้านดร.ทพ.ญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า อัตราการเก็บภาษีที่ควรปรับเพิ่ม คือการเก็บภาษีหน้าโรงงานควรปรับเพิ่มเป็น 87 % จากที่ปัจจุบันเก็บเพียง 85% และควรพิจารณาเก็บภาษีตามสภาพ หรือตามปริมาณจากที่ประเทศไทยไม่ได้มีการเก็บภาษีบุหรี่ในส่วนนี้ด้วยโดยบุหรี่ซองควรเก็บ 1.25 บาทต่อมวนจะมีผลทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันราคาถูกสุดซองละ 25 บาทเป็น 40 บาท ส่วนยาเส้นควรเก็บ 0.07 สตางค์ต่อกรัม จะทำให้ราคาเพิ่มจากซองละ 5 บาทเป็น 6.50 บาท ซึ่งหากดำเนินการได้เช่นนี้เชื่อว่าจะทำให้ปริมาณบุหรี่และยาเส้นที่แต่ละคนสูบลดลงเพราะราคาแพงขึ้น
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในปี 2553 รัฐมีรายได้จากการเก็บภาษียาสูบซึ่งเก็บในอัตรา 85% ทั้งสิ้น 53,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ที่เก็บในอัตรา 71.5 %และเก็บได้ 28,110 ล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการขึ้นภาษีและปรับโครงสร้างภาษียาสูบ
ดร.ไอดา ยูริกลี ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ยาสูบ องค์การอนามัยโลก หรือฮู (WHO) กล่าวในงานแถลงข่าว "ผู้เชี่ยวชาญภาษียาสูบจากองค์การอนามัยโลก สนับสนุนนโยบายการขึ้นภาษีของรัฐบาลไทย" ว่า การขึ้นภาษียาสูบเป็นมาตรการที่ดี ช่วยป้องกันนักสูบหน้าใหม่การขึ้นภาษียาสูฐนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านสาธารณสุขแล้วยังสามารถเพิ่มรายได้ให้รัฐด้วย ทั้งนี้ข้อมูลในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยโดยเฉลี่ยพบว่าต้นทุนที่ต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมทั้งค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบริโภคยาสูบสูงกว่ารายได้ของรัฐที่ได้จากภาษีฯ จึงสนับสนุนให้รัฐบาลไทยเพิ่มภาษียาสูบ เพื่อลดผู้สูบหน้าใหม่ลดการตายก่อนวัยอันควรและลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
ด้านดร.ทพ.ญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า อัตราการเก็บภาษีที่ควรปรับเพิ่ม คือการเก็บภาษีหน้าโรงงานควรปรับเพิ่มเป็น 87 % จากที่ปัจจุบันเก็บเพียง 85% และควรพิจารณาเก็บภาษีตามสภาพ หรือตามปริมาณจากที่ประเทศไทยไม่ได้มีการเก็บภาษีบุหรี่ในส่วนนี้ด้วยโดยบุหรี่ซองควรเก็บ 1.25 บาทต่อมวนจะมีผลทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันราคาถูกสุดซองละ 25 บาทเป็น 40 บาท ส่วนยาเส้นควรเก็บ 0.07 สตางค์ต่อกรัม จะทำให้ราคาเพิ่มจากซองละ 5 บาทเป็น 6.50 บาท ซึ่งหากดำเนินการได้เช่นนี้เชื่อว่าจะทำให้ปริมาณบุหรี่และยาเส้นที่แต่ละคนสูบลดลงเพราะราคาแพงขึ้น
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในปี 2553 รัฐมีรายได้จากการเก็บภาษียาสูบซึ่งเก็บในอัตรา 85% ทั้งสิ้น 53,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ที่เก็บในอัตรา 71.5 %และเก็บได้ 28,110 ล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการขึ้นภาษีและปรับโครงสร้างภาษียาสูบ