“รถติด” นับว่าเป็นปัญหาที่อยู่คู่กรุงเทพมหานคร มาหลายสิบปีตามการขยายของชุมชนเมือง โดยเฉพาะฝั่งตะวันออก บริเวณถนนสุขุมวิทช่วงใกล้กับจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีปริมาณการเดินทางสูง ต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน ก่อให้เกิดความเครียดสะสม อีกทั้งควันจากท่อไอเสียยังส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ
จากข้อมูลของสำนักการจราจรและขนส่ง พบว่า ในปัจจุบันชาวกรุงเทพฯ มีการเดินทางมากกว่า 17 ล้านเที่ยวต่อวัน จนทำให้โครงข่ายถนนที่เป็นระบบการสัญจรหลักไม่สามารถรองรับปริมาณรถยนต์ที่มีมากกว่า 6 ล้านคันได้ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตอนที่ 1 อ่อนนุช-แบริ่ง ได้พลิกโฉมการเดินทางของชาวกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและชาวสมุทรปราการให้เดินทางเข้าสู่ย่านใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกสบาย
ด้วยนโยบายในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมเข้าถึงทุกพื้นที่ สามารถเชื่อมต่อการเดินทางอย่างครบวงจร “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ต้องการตอบสนองการเดินทางของประชาชนชาว กทม.และปริมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดให้บริการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางของ 2 นคร รวมทั้งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนชาว กทม.ฝั่งตะวันออก และสมุทรปราการ ให้สามารถเข้าถึงการบริการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
“นอกจากความสะดวกของประชนแล้ว กทม.ยังคำนึงถึงชุมชน และผู้อยู่อาศัยโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งแต่ละสถานีล้วนแล้วแต่มีสถานที่สำคัญๆ ตลอดแนวเส้นทาง เช่น ศาสนสถาน แหล่งชอปปิ้ง ร้านอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ของดีชุมชน นับว่าเป็นแหล่งดึงดูดให้คนเขตเมืองชั้นในและนักท่องเที่ยวได้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในย่านนี้ โดยเสริมความเข้มแข็งและยกจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนเผยแพรสู่สาธารณชน ผ่านกิจกรรม "ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน”
กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ครั้งที่ 1 “ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน” โชว์ของดีขึ้นชื่อจากเขตพระโขนง และเขตบางนา ตามเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายทั้ง 5 สถานี อาทิ สถานีบางจากมี ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรสูตรต้นตำรับจากแผนโบราณ “หมอชาวบ้านบาล์ม ตราเจ้าสัว” ถัดมาที่สถานีปุณณวิถี พบกับ “บ้านเรือนไทยจำลอง” ของที่ระลึกที่จากไม้สัก เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยขยับไปสถานีอุดมสุข จะพบกับ “กระเป๋าผ้าชัยยศ” กระเป๋าผ้าแฮนด์เมดลดโลกร้อน แวะชิม “ขนมเปี๊ยะอั้งกี่” ของอร่อยที่สถานีบางนา ปิดท้ายด้วย “ทองม้วนสมุนไพร” ที่สถานีแบริ่ง สูตรความอร่อยเฉพาะตัวด้วยรสชาติจากสมุนไพรธรรมชาติ
ผู้ว่าฯ กทม.ยังบอกอีกว่า ชาวกรุงเทพฯ ในเขตเมืองยังสามารถเดินทางเพื่อไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนแถบชานเมือง เช่น “ชุมชนเกตุไพเราะ” ตั้งอยู่ในเขตพระโขนง ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่ได้รับรางวัลระดับชาติทางด้านสิ่งแวดล้อม และนับเป็นชุมชนต้นแบบของเมืองหลวงที่ยังคงรักษาวิถีชีวิต และวัฒนธรรมให้คงอยู่ภายใต้หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ กิจกรรมการแยกขยะในชุมชนเพื่อพ้นโลกร้อน กิจกรรมดับไฟ 10 นาทีชีวีเป็นสุข กิจกรรมอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ใส่ใจพื้นที่สีเขียว และกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เป็นต้น
ขณะที่“ชัยยศ คงคาวิทูร” ในฐานะผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าและตัวแทนเจ้าของกิจการ “กระเป๋าผ้าชัยยศ” ที่สถานีอุดมสุข เล่าถึงความสะดวกสบายหลังจากที่มีรถไฟฟ้าเข้ามาในชุมชนว่า ทำให้การเดินทางเข้าเมืองง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินเพื่อไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสินค้า หรือการนำสินค้าไปออกร้าน รวมถึงการนำสินค้าไปส่งให้กับลูกค้าด้วย ที่สำคัญยังประหยัดเวลาเพราะสามารถกำหนดเวลาในการเดินทางไป-กลับได้
“เมื่อการสัญจรไปมาสะดวกมากขึ้น เศรษฐกิจในชุมชนก็จะมีการพัฒนา ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น กิจกรรม ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน” ยังทำให้สินค้าในชุมชนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น นับว่าเอื้อโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนแล้ว ยังคืนเวลาความสุขสู่ครอบครัวด้วย” ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทิ้งท้าย
จากข้อมูลของสำนักการจราจรและขนส่ง พบว่า ในปัจจุบันชาวกรุงเทพฯ มีการเดินทางมากกว่า 17 ล้านเที่ยวต่อวัน จนทำให้โครงข่ายถนนที่เป็นระบบการสัญจรหลักไม่สามารถรองรับปริมาณรถยนต์ที่มีมากกว่า 6 ล้านคันได้ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตอนที่ 1 อ่อนนุช-แบริ่ง ได้พลิกโฉมการเดินทางของชาวกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและชาวสมุทรปราการให้เดินทางเข้าสู่ย่านใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกสบาย
ด้วยนโยบายในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมเข้าถึงทุกพื้นที่ สามารถเชื่อมต่อการเดินทางอย่างครบวงจร “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ต้องการตอบสนองการเดินทางของประชาชนชาว กทม.และปริมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดให้บริการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางของ 2 นคร รวมทั้งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนชาว กทม.ฝั่งตะวันออก และสมุทรปราการ ให้สามารถเข้าถึงการบริการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
“นอกจากความสะดวกของประชนแล้ว กทม.ยังคำนึงถึงชุมชน และผู้อยู่อาศัยโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งแต่ละสถานีล้วนแล้วแต่มีสถานที่สำคัญๆ ตลอดแนวเส้นทาง เช่น ศาสนสถาน แหล่งชอปปิ้ง ร้านอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ของดีชุมชน นับว่าเป็นแหล่งดึงดูดให้คนเขตเมืองชั้นในและนักท่องเที่ยวได้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในย่านนี้ โดยเสริมความเข้มแข็งและยกจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนเผยแพรสู่สาธารณชน ผ่านกิจกรรม "ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน”
กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ครั้งที่ 1 “ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน” โชว์ของดีขึ้นชื่อจากเขตพระโขนง และเขตบางนา ตามเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายทั้ง 5 สถานี อาทิ สถานีบางจากมี ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรสูตรต้นตำรับจากแผนโบราณ “หมอชาวบ้านบาล์ม ตราเจ้าสัว” ถัดมาที่สถานีปุณณวิถี พบกับ “บ้านเรือนไทยจำลอง” ของที่ระลึกที่จากไม้สัก เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยขยับไปสถานีอุดมสุข จะพบกับ “กระเป๋าผ้าชัยยศ” กระเป๋าผ้าแฮนด์เมดลดโลกร้อน แวะชิม “ขนมเปี๊ยะอั้งกี่” ของอร่อยที่สถานีบางนา ปิดท้ายด้วย “ทองม้วนสมุนไพร” ที่สถานีแบริ่ง สูตรความอร่อยเฉพาะตัวด้วยรสชาติจากสมุนไพรธรรมชาติ
ผู้ว่าฯ กทม.ยังบอกอีกว่า ชาวกรุงเทพฯ ในเขตเมืองยังสามารถเดินทางเพื่อไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนแถบชานเมือง เช่น “ชุมชนเกตุไพเราะ” ตั้งอยู่ในเขตพระโขนง ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่ได้รับรางวัลระดับชาติทางด้านสิ่งแวดล้อม และนับเป็นชุมชนต้นแบบของเมืองหลวงที่ยังคงรักษาวิถีชีวิต และวัฒนธรรมให้คงอยู่ภายใต้หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ กิจกรรมการแยกขยะในชุมชนเพื่อพ้นโลกร้อน กิจกรรมดับไฟ 10 นาทีชีวีเป็นสุข กิจกรรมอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ใส่ใจพื้นที่สีเขียว และกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เป็นต้น
ขณะที่“ชัยยศ คงคาวิทูร” ในฐานะผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าและตัวแทนเจ้าของกิจการ “กระเป๋าผ้าชัยยศ” ที่สถานีอุดมสุข เล่าถึงความสะดวกสบายหลังจากที่มีรถไฟฟ้าเข้ามาในชุมชนว่า ทำให้การเดินทางเข้าเมืองง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินเพื่อไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสินค้า หรือการนำสินค้าไปออกร้าน รวมถึงการนำสินค้าไปส่งให้กับลูกค้าด้วย ที่สำคัญยังประหยัดเวลาเพราะสามารถกำหนดเวลาในการเดินทางไป-กลับได้
“เมื่อการสัญจรไปมาสะดวกมากขึ้น เศรษฐกิจในชุมชนก็จะมีการพัฒนา ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น กิจกรรม ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน” ยังทำให้สินค้าในชุมชนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น นับว่าเอื้อโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนแล้ว ยังคืนเวลาความสุขสู่ครอบครัวด้วย” ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทิ้งท้าย