สช.จับมือสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญ กสธ. สร้างความเข้าใจ
สิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต ตื่นตัวสู่การตายดี
วันนี้ (29 มี.ค.) สมาคมข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการ “ฝึกอบรมวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพดี” แก่กลุ่มข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 28-29 มี.ค.2555 ณ โรงแรมสตาร์ โฮเต็ล จ.ระยอง
นายอรุณ บุญมาก เลขาธิการสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สมาคมมีการจัดโครงการฝึกอบรมเช่นนี้เป็นประจำทุกปี และในปีนี้มีการทำความเข้าใจเรื่อง “สาระสำคัญตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และการทำหนังสือแสดงเจตนา ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข” ด้วย การที่สมาคมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เนื่องจากความตายที่สงบ งดงาม และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพดี
“เพื่อนของผมต้องลาออกจากราชการ เพื่อดูแลคุณแม่ ซึ่งเข้าสู่วัยชราโดยต้องเข้าออก รพ.เอกชน เป็นระยะเวลา 5 ปี กว่าจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต สิ้นเงินไปกว่า 15 ล้านบาท หากไม่มีเงินก็จะเป็นปัญหาหนักหนา จึงเกิดคำถามว่าความพอดีของการรักษาอยู่ตรงไหน เพราะคนส่วนใหญ่ทุกวันนี้ กลัว และปฏิเสธความตาย ทั้งๆ ที่เป็นสัจธรรมว่าความตายมาพร้อมกับการเกิด จึงไม่ได้เตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับวาระสุดท้ายเลย ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ระบุเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 12 ซึ่งมีเจตนาให้บุคคล ที่มีสติสัมปชัญญะได้ทำหนังสือแสดงเจตนาเอาไว้ ก่อนที่เข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต จึงเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่มีประโยชน์มาก และทางสมาคมฯได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีดี จากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในการให้ข้อมูลและทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้กระจ่างชัดขึ้น”
เลขาธิการสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญฯ กล่าวเสริมอีกว่า การทำหนังสือแสดงเจตนาฯ นั้น มีประโยชน์หลายประการ คือ เป็นการให้บุคคลเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง แพทย์ผู้รักษา ญาติมิตร ได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด ลดขั้นตอนการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพช่วยตัวเองไม่ได้ สื่อสารทางกายไม่ได้ ต้องทุกข์ทรมานมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติตรงตามเจตนาของบุคคล
ด้าน นายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตกับสมาชิกสมาคมฯ และชื่นชมทางสมาคมฯ เป็นอย่างยิ่งที่ให้ความสนใจเรื่องนี้
“สมาชิกของสมาคมฯ ก็ล้วนเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำงานในแวดวงสุขภาพมาอย่างยาวนาน ผ่านโลกมามาก เห็นความจริงในชีวิตมามาก เข้าใจถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมสำหรับวันหนึ่งที่จะต้องเข้าสู่วาระสุดท้ายที่ทุกคนก็หลีกหนีไม่พ้น ดังนั้น การที่สมาคมมีการประชุม ศึกษา เรียนรู้ เตรียมตัว เพื่อการตายดี คือ ตายอย่างมีคุณค่า อย่างมีศักดิ์ศรี จึงเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยิ่ง ในวันนี้ผมได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนมุมมองกับสมาชิกสมาคม ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างมาก และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง หลากหลาย”
สำหรับท่านอื่นๆ ที่สนใจ และประชาชนทั่วไปสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกับสิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตได้ทาง www.thailivingwill.in.th หรือติดต่อมายังสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โทร.02-8329000
สิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต ตื่นตัวสู่การตายดี
วันนี้ (29 มี.ค.) สมาคมข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการ “ฝึกอบรมวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพดี” แก่กลุ่มข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 28-29 มี.ค.2555 ณ โรงแรมสตาร์ โฮเต็ล จ.ระยอง
นายอรุณ บุญมาก เลขาธิการสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สมาคมมีการจัดโครงการฝึกอบรมเช่นนี้เป็นประจำทุกปี และในปีนี้มีการทำความเข้าใจเรื่อง “สาระสำคัญตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และการทำหนังสือแสดงเจตนา ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข” ด้วย การที่สมาคมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เนื่องจากความตายที่สงบ งดงาม และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพดี
“เพื่อนของผมต้องลาออกจากราชการ เพื่อดูแลคุณแม่ ซึ่งเข้าสู่วัยชราโดยต้องเข้าออก รพ.เอกชน เป็นระยะเวลา 5 ปี กว่าจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต สิ้นเงินไปกว่า 15 ล้านบาท หากไม่มีเงินก็จะเป็นปัญหาหนักหนา จึงเกิดคำถามว่าความพอดีของการรักษาอยู่ตรงไหน เพราะคนส่วนใหญ่ทุกวันนี้ กลัว และปฏิเสธความตาย ทั้งๆ ที่เป็นสัจธรรมว่าความตายมาพร้อมกับการเกิด จึงไม่ได้เตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับวาระสุดท้ายเลย ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ระบุเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 12 ซึ่งมีเจตนาให้บุคคล ที่มีสติสัมปชัญญะได้ทำหนังสือแสดงเจตนาเอาไว้ ก่อนที่เข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต จึงเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่มีประโยชน์มาก และทางสมาคมฯได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีดี จากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในการให้ข้อมูลและทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้กระจ่างชัดขึ้น”
เลขาธิการสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญฯ กล่าวเสริมอีกว่า การทำหนังสือแสดงเจตนาฯ นั้น มีประโยชน์หลายประการ คือ เป็นการให้บุคคลเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง แพทย์ผู้รักษา ญาติมิตร ได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด ลดขั้นตอนการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพช่วยตัวเองไม่ได้ สื่อสารทางกายไม่ได้ ต้องทุกข์ทรมานมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติตรงตามเจตนาของบุคคล
ด้าน นายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตกับสมาชิกสมาคมฯ และชื่นชมทางสมาคมฯ เป็นอย่างยิ่งที่ให้ความสนใจเรื่องนี้
“สมาชิกของสมาคมฯ ก็ล้วนเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำงานในแวดวงสุขภาพมาอย่างยาวนาน ผ่านโลกมามาก เห็นความจริงในชีวิตมามาก เข้าใจถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมสำหรับวันหนึ่งที่จะต้องเข้าสู่วาระสุดท้ายที่ทุกคนก็หลีกหนีไม่พ้น ดังนั้น การที่สมาคมมีการประชุม ศึกษา เรียนรู้ เตรียมตัว เพื่อการตายดี คือ ตายอย่างมีคุณค่า อย่างมีศักดิ์ศรี จึงเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยิ่ง ในวันนี้ผมได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนมุมมองกับสมาชิกสมาคม ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างมาก และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง หลากหลาย”
สำหรับท่านอื่นๆ ที่สนใจ และประชาชนทั่วไปสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกับสิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตได้ทาง www.thailivingwill.in.th หรือติดต่อมายังสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โทร.02-8329000