ปลัด สธ.ลั่น ชี้แจง เครือ รพ.เอกชน กรณีรับผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว เชื่อมั่นไม่มีแห่งใดปฏิเสธ ย้ำมี กม.ระบุนิยาม ผู้ป่วยฉุกเฉิน ชัดเจน พร้อมกระจายคำนิยามสู่ประชาชน
วันนี้ (23 มี.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบายรับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง ได้เข้ารับการบริการใน รพ.ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 นี้ ว่า จากนโยบายดังกล่าว ตนได้เคยชี้แจงกับ รพ.เอกชน จำนวนกว่า 300 แห่งทั่วประเทศมาแล้ว ถึงกรณีการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ใน 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ป่วย สีแดง หมายถึงอาการหนัก ต้องช่วยเหลือทันที และ สีเหลือง อาการปานกลาง รอได้ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทาง รพ.ต้องรับอญู่แล้ว เพราะกฎหมายตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.สถานพยาบาลกำหนดไว้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวอยากให้ ทาง รพ.ผู้ให้บริการเข้าใจว่าเป็นบริการเชิง CSR ถือเป็นการคืนทุนแก่สังคม จึงเชื่อว่าเป็นข้อดีของการร่วมบริการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ทางนายกสมาคม รพ.เอกชน เห็นว่า จำเป็นต้องให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) เป็นศูนย์กลางในการรับ-ส่งผู้ป่วยเพื่อลดภาระ รพ.นั้น มีแนวโน้มที่จะดำเนินการอย่างไร นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ สพฉ.มีหมายเลขฉุกเฉิน เป็นสายด่วน 1669 ไว้บริการอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องทำ คือ เพิ่มสายด่วนดังกล่าวเป็นจุดประสานงานกลาง อย่างไรก็ตามเรื่องบริการดังกล่าว จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ว่าจะสามารถใช้บริการได้ในกรณีเจ็บป่วยแบบใด ซึ่งส่วนนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากสื่อมวลชน และภาคประชาสัมพันธ์จากหน่วยบริการทุกแห่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำนิยามผู้ป่วยฉุกเฉินได้มีการหารือกันในคณะทำงานเกี่ยวกับการสื่อสารความเข้าใจถึงประชาชน ได้ระบุไว้ดังนี้ คือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรค ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที เช่น หัวใจหยุดเต้น หอบหืดขั้นรุนแรง มีการเขียวคล้ำของปากและเล็บมือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลมทั้งหมด อุบัติเหตุรุนแรงบริเวณใบหน้าและลำคอ มีเลือดออกมาก ภาวะช็อกจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำอย่างรุนแรง แขน ขา อ่อนแรงพูดไม่ชัด ชักตลอดเวลา หรือชักจนตัวเขียว มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกินขนาด ถูกสุนัขกัดบริเวณใบหน้าและลำคอ เป็นต้น ซึ่งอาการฉุกเฉินนอกเหนือจากนี้ หากไม่แน่ใจโปรดโทรสายด่วน 1669 เพื่อขอคำปรึกษาและบริการช่วยเหลือต่อไป
วันนี้ (23 มี.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบายรับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง ได้เข้ารับการบริการใน รพ.ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 นี้ ว่า จากนโยบายดังกล่าว ตนได้เคยชี้แจงกับ รพ.เอกชน จำนวนกว่า 300 แห่งทั่วประเทศมาแล้ว ถึงกรณีการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ใน 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ป่วย สีแดง หมายถึงอาการหนัก ต้องช่วยเหลือทันที และ สีเหลือง อาการปานกลาง รอได้ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทาง รพ.ต้องรับอญู่แล้ว เพราะกฎหมายตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.สถานพยาบาลกำหนดไว้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวอยากให้ ทาง รพ.ผู้ให้บริการเข้าใจว่าเป็นบริการเชิง CSR ถือเป็นการคืนทุนแก่สังคม จึงเชื่อว่าเป็นข้อดีของการร่วมบริการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ทางนายกสมาคม รพ.เอกชน เห็นว่า จำเป็นต้องให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) เป็นศูนย์กลางในการรับ-ส่งผู้ป่วยเพื่อลดภาระ รพ.นั้น มีแนวโน้มที่จะดำเนินการอย่างไร นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ สพฉ.มีหมายเลขฉุกเฉิน เป็นสายด่วน 1669 ไว้บริการอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องทำ คือ เพิ่มสายด่วนดังกล่าวเป็นจุดประสานงานกลาง อย่างไรก็ตามเรื่องบริการดังกล่าว จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ว่าจะสามารถใช้บริการได้ในกรณีเจ็บป่วยแบบใด ซึ่งส่วนนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากสื่อมวลชน และภาคประชาสัมพันธ์จากหน่วยบริการทุกแห่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำนิยามผู้ป่วยฉุกเฉินได้มีการหารือกันในคณะทำงานเกี่ยวกับการสื่อสารความเข้าใจถึงประชาชน ได้ระบุไว้ดังนี้ คือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรค ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที เช่น หัวใจหยุดเต้น หอบหืดขั้นรุนแรง มีการเขียวคล้ำของปากและเล็บมือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลมทั้งหมด อุบัติเหตุรุนแรงบริเวณใบหน้าและลำคอ มีเลือดออกมาก ภาวะช็อกจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำอย่างรุนแรง แขน ขา อ่อนแรงพูดไม่ชัด ชักตลอดเวลา หรือชักจนตัวเขียว มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกินขนาด ถูกสุนัขกัดบริเวณใบหน้าและลำคอ เป็นต้น ซึ่งอาการฉุกเฉินนอกเหนือจากนี้ หากไม่แน่ใจโปรดโทรสายด่วน 1669 เพื่อขอคำปรึกษาและบริการช่วยเหลือต่อไป