สธ.หนุนให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ 10,580 แห่ง จัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และใช้ยาสมุนไพรไม่ต่ำกว่า 20 รายการ เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันซึ่งล่าสุดมีมูลค่าสูงกว่า 130,000 ล้านบาทต่อปี ตั้งเป้าในปีนี้ จะเพิ่มการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกให้ได้ร้อยละ 10 ส่งแพทย์แผนไทยประจำโรงพยาบาลชุมชน 588 แห่ง
วันนี้ (23 มี.ค.) ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมผู้บริหาร บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข นักการแพทย์แผนไทย ใน 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อมอบนโยบายการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติในสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นเดินทางไปเปิดโครงการรวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านของ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2555 “ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นสายใยแห่งคุณค่าของปู่ย่าตายาย คนอีสานบ้านเฮา” ที่อาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย
นพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งดำเนินการสนองนโยบายนายกรัฐมนตรี ในการลดค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรค ข้อมูลล่าสุด พบคนไทยใช้ยาแผนปัจจุบันอยู่ในขั้นฟุ่มเฟือย ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งขับเคลื่อน ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาติมาใช้ทดแทนการนำเข้ายาแผนปัจจุบันที่มีมูลค่าสูงปีละกว่า 130,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพ ซึ่งสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่ใช้เพียงร้อยละ 20
นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในปีนี้ มีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศที่มี 10,580 แห่ง เพิ่มบริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์ทางเลือกที่แผนกผู้ป่วยนอก และใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยเพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันให้ลดลง โดยให้โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต.ใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างน้อย 20 รายการ จากที่มี 71 รายการ เป็นยาสมุนไพรเดี่ยว 21 รายการ ที่เหลือเป็นตำรับยาสมุนไพรแบบดั้งเดิม โดยให้ รพ.สต.ใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคมีมูลค่าร้อยละ 10 ของยาแผนปัจจุบัน ส่วนโรงพยาบาลชุมชนมูลค่าร้อยละ 5 รวมทั้งจัดแพทย์แผนไทย สาขาเวชกรรมไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อย่างน้อย 1 คน ประจำโรงพยาบาลชุมชนให้ได้ 588 แห่ง หรือร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ และจะอบรมถ่ายทอดความรู้การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้เกิดการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ดูแลคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรที่จะนำมาผลิตเป็นยา และควบคุมมาตรฐานการผลิตให้อยู่ในมาตรฐานจีเอ็มพี ตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งจะเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยในอีก 3 ปีข้างหน้าด้วย
ทั้งนี้ ผลสำรวจการจัดบริการการแพทย์แผนไทยในปี 2552 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3,478 แห่ง พบร้อยละ 72 หรือ 2,521 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ให้บริการการแพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่ให้บริการมากกว่า 1 ประเภท ที่นิยมมากที่สุด คือ การรักษาด้วยยาสมุนไพรร้อยละ 59 รองลงมา คือ การนวดไทยเพื่อรักษาร้อยละ 35 นวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพร้อยละ 35 อบประคบร้อยละ 33 และดูแลหลังคลอดร้อยละ 14 มีผู้รับบริการทั้งหมดเกือบ 3 ล้านคน โดยผู้ใช้บริการ 1 ใน 3 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันนี้ (23 มี.ค.) ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมผู้บริหาร บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข นักการแพทย์แผนไทย ใน 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อมอบนโยบายการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติในสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นเดินทางไปเปิดโครงการรวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านของ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2555 “ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นสายใยแห่งคุณค่าของปู่ย่าตายาย คนอีสานบ้านเฮา” ที่อาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย
นพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งดำเนินการสนองนโยบายนายกรัฐมนตรี ในการลดค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรค ข้อมูลล่าสุด พบคนไทยใช้ยาแผนปัจจุบันอยู่ในขั้นฟุ่มเฟือย ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งขับเคลื่อน ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาติมาใช้ทดแทนการนำเข้ายาแผนปัจจุบันที่มีมูลค่าสูงปีละกว่า 130,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพ ซึ่งสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่ใช้เพียงร้อยละ 20
นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในปีนี้ มีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศที่มี 10,580 แห่ง เพิ่มบริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์ทางเลือกที่แผนกผู้ป่วยนอก และใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยเพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันให้ลดลง โดยให้โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต.ใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างน้อย 20 รายการ จากที่มี 71 รายการ เป็นยาสมุนไพรเดี่ยว 21 รายการ ที่เหลือเป็นตำรับยาสมุนไพรแบบดั้งเดิม โดยให้ รพ.สต.ใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคมีมูลค่าร้อยละ 10 ของยาแผนปัจจุบัน ส่วนโรงพยาบาลชุมชนมูลค่าร้อยละ 5 รวมทั้งจัดแพทย์แผนไทย สาขาเวชกรรมไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อย่างน้อย 1 คน ประจำโรงพยาบาลชุมชนให้ได้ 588 แห่ง หรือร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ และจะอบรมถ่ายทอดความรู้การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้เกิดการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ดูแลคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรที่จะนำมาผลิตเป็นยา และควบคุมมาตรฐานการผลิตให้อยู่ในมาตรฐานจีเอ็มพี ตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งจะเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยในอีก 3 ปีข้างหน้าด้วย
ทั้งนี้ ผลสำรวจการจัดบริการการแพทย์แผนไทยในปี 2552 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3,478 แห่ง พบร้อยละ 72 หรือ 2,521 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ให้บริการการแพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่ให้บริการมากกว่า 1 ประเภท ที่นิยมมากที่สุด คือ การรักษาด้วยยาสมุนไพรร้อยละ 59 รองลงมา คือ การนวดไทยเพื่อรักษาร้อยละ 35 นวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพร้อยละ 35 อบประคบร้อยละ 33 และดูแลหลังคลอดร้อยละ 14 มีผู้รับบริการทั้งหมดเกือบ 3 ล้านคน โดยผู้ใช้บริการ 1 ใน 3 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ