พบคนไทยป่วยวัณโรค 1.3 แสนราย ตายกว่า 1 หมื่นราย เร่งเข็น 3 ยุทธศาสตร์ต่อสู้ คาดปีนี้ลดอัตราตายเหลือไม่เกิน 6,000 ราย
วันนี้ (22 มี.ค.) ที่โรงแรมแม่น้ำรามาดา กทม. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)กล่าวในงานแถลงข่าวเนื่องในวันวัณโรคโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 24 มี.ค.ของทุกปี ว่า ในปัจจุบันพบตัวเลขผู้ป่วยและตายจากวัณโรคในประเทศไทยค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆในโลก โดยมอบหมายให้กรมควบคุมโรคดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องวัณโรค ซึ่งยังคุกคามสุขภาพประชากรโลกอย่างต่อเนื่อง
นายสุรชัยกล่าวต่อว่า ในปี 2553 องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทั่วโลก 8.8 ล้านคน เสียชีวิต 1.4 ล้านคน ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศของโลกที่ยังมีปัญหาวัณโรครุนแรง คาดว่าไทยมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคปีละ 11,000 ราย มีผู้ป่วยวัณโรคทุกชนิดประมาณ 130,000 คน ร้อยละ 80 เป็นวัณโรคปอด มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 94,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-4 ต่อปีมาตลอด ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 อยู่ในระยะแพร่เชื้อและร้อยละ 16 ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย แนวโน้มปัญหาวัณโรคของไทย อาจรุนแรงขึ้นกว่าเดิมอีกมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1. การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ซึ่งทำให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานต่ำมีโอกาสติดเชื้อวัณโรคได้สูงกว่าคนปกติถึง 37 เท่า ที่ผ่านมาพบได้ร้อยละ 16 และ 2. จากปัญหาเชื้อดื้อยาเพราะผู้ป่วยขาดยา กินยาไม่ต่อเนื่อง ทำให้เชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น คาดว่าขณะนี้ ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 1,920 ราย
ในการเร่งหยุดยั้งการแพร่ระบาดของวัณโรค ปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ 3 มาตรการหลัก เพื่อเร่งรัดให้เมืองไทยปลอดวัณโรค (Thailand free TB) เน้นการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก มารับการรักษาโดยเร็วและกินยาครบสูตรจนหายขาด โดย 1. เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ต้องขัง และพัฒนาการวินิจฉัยที่รวดเร็ว เช่น สนับสนุนกล้องจุลทรรศน์ชนิดแอลอีดี (LED) ซึ่งตรวจง่าย ความคมชัดสูง กระจายทั้งในกทม.และต่างจังหวัด 60 จุด พัฒนาการตรวจวินิจฉัยวัณโรคชนิดดื้อยา (GeneXpert) ให้ทราบผลภายใน 90 นาที เน้นในพื้นที่ที่มีการระบาดของเอชไอวี และวัณโรคชนิดดื้อยา เช่น เชียงราย ตาก กาญจนบุรี 2. พัฒนาคุณภาพการรักษาด้วยระบบยาระยะสั้น โดยมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยาทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และมุ่งหวังที่จะมีการพัฒนาระบบยาที่สั้นลงจากเดิมที่เคยรักษา 6-8 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 3. พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วัคซีนป้องกันวัณโรคที่มีประสิทธิภาพมากกว่า บีซีจี ตั้งเป้าในปี 2555 ลดอัตราการตายจากเดิมร้อยละ 8 ของผู้ป่วยปี 2553 เหลือร้อยละ 5 หรือไม่เกิน 6,000 ราย และลดอัตราการขาดยาเหลือไม่เกินร้อยละ 3
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในปี 2553 กระทรวงสาธารณสุขค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อสูง เข้ารักษาได้ร้อยละ 76 ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 โดยมีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษามากกว่า 64,000 ราย ได้รับการรักษาจนหายขาดร้อยละ 86 เสียชีวิตร้อยละ 8 และมีอัตราการขาดยา กินยาไม่ครบสูตรเดิม 6 เดือน ร้อยละ 5 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา โดยหากเชื้อชนิดดื้อยาแพร่กระจายออกไปจะทำให้การรักษายุ่งยาก มีโอกาสเสียชีวิตสูง
อนึ่ง วัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นได้ทุกอวัยวะ แต่พบมากที่สุดที่ปอด อาการจะเริ่มจากมีไข้ต่ำๆในช่วงบ่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ไอเรื้อรังเกินกว่า 2 อาทิตย์ ซึ่งประชาชนมักเข้าใจผิดว่าป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา มักซื้อยามากินเอง และอาการของโรคนี้ไม่รุนแรง เช้ายังทำงานได้ จึงไม่ได้ไปพบแพทย์และแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ โดยเชื้อจะอยู่ในเสมหะ ลอยไปในอากาศ กลุ่มที่เสี่ยงติดเชื้อวัณโรคง่ายกว่าคนอื่นมี 3 กลุ่ม ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เบาหวาน โรคโลหิตจาง ดังนั้น หากพบผู้ที่มีอาการดังกล่าวขอให้รีบพาไปโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้านเพื่อรับการรักษาฟรี
ทั้งนี้ ในวันวัณโรคโลกปีนี้ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย และมูลนิธิศุภมิตรแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมรณรงค์ “เมืองไทยปลอดภัยวัณโรค” ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กทม. ตั้งแต่เวลา 10.30-20.30 น. ภายใต้คำขวัญ “Stop TB in my lifetime We want Thailand free TB” เพื่อสร้างกระแส เชิญชวนบุคคลทั่วไป และภาคส่วนต่างๆ ร่วมมือกันหยุดยั้งวัณโรค ให้เมืองไทยปลอดวัณโรค โดยมีบริการตรวจสุขภาพและเอกซเรย์ปอดฟรี นิทรรศการความรู้เรื่องโรควัณโรค เกม การแสดงบนเวที อาทิ การแหล่โดยศิลปินแห่งชาติ ชินกร ไกรลาศ การแสดงโปงลางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การแสดงดนตรีรวมดาวกระจุยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเปิดตัวมิสเตอร์ทีบี ร.อ.สรวิชญ์ สุบุญ หรือหมอก้อง พรีเซ้นเตอร์ป้องกันวัณโรคปีนี้
วันนี้ (22 มี.ค.) ที่โรงแรมแม่น้ำรามาดา กทม. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)กล่าวในงานแถลงข่าวเนื่องในวันวัณโรคโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 24 มี.ค.ของทุกปี ว่า ในปัจจุบันพบตัวเลขผู้ป่วยและตายจากวัณโรคในประเทศไทยค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆในโลก โดยมอบหมายให้กรมควบคุมโรคดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องวัณโรค ซึ่งยังคุกคามสุขภาพประชากรโลกอย่างต่อเนื่อง
นายสุรชัยกล่าวต่อว่า ในปี 2553 องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทั่วโลก 8.8 ล้านคน เสียชีวิต 1.4 ล้านคน ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศของโลกที่ยังมีปัญหาวัณโรครุนแรง คาดว่าไทยมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคปีละ 11,000 ราย มีผู้ป่วยวัณโรคทุกชนิดประมาณ 130,000 คน ร้อยละ 80 เป็นวัณโรคปอด มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 94,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-4 ต่อปีมาตลอด ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 อยู่ในระยะแพร่เชื้อและร้อยละ 16 ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย แนวโน้มปัญหาวัณโรคของไทย อาจรุนแรงขึ้นกว่าเดิมอีกมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1. การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ซึ่งทำให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานต่ำมีโอกาสติดเชื้อวัณโรคได้สูงกว่าคนปกติถึง 37 เท่า ที่ผ่านมาพบได้ร้อยละ 16 และ 2. จากปัญหาเชื้อดื้อยาเพราะผู้ป่วยขาดยา กินยาไม่ต่อเนื่อง ทำให้เชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น คาดว่าขณะนี้ ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 1,920 ราย
ในการเร่งหยุดยั้งการแพร่ระบาดของวัณโรค ปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ 3 มาตรการหลัก เพื่อเร่งรัดให้เมืองไทยปลอดวัณโรค (Thailand free TB) เน้นการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก มารับการรักษาโดยเร็วและกินยาครบสูตรจนหายขาด โดย 1. เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ต้องขัง และพัฒนาการวินิจฉัยที่รวดเร็ว เช่น สนับสนุนกล้องจุลทรรศน์ชนิดแอลอีดี (LED) ซึ่งตรวจง่าย ความคมชัดสูง กระจายทั้งในกทม.และต่างจังหวัด 60 จุด พัฒนาการตรวจวินิจฉัยวัณโรคชนิดดื้อยา (GeneXpert) ให้ทราบผลภายใน 90 นาที เน้นในพื้นที่ที่มีการระบาดของเอชไอวี และวัณโรคชนิดดื้อยา เช่น เชียงราย ตาก กาญจนบุรี 2. พัฒนาคุณภาพการรักษาด้วยระบบยาระยะสั้น โดยมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยาทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และมุ่งหวังที่จะมีการพัฒนาระบบยาที่สั้นลงจากเดิมที่เคยรักษา 6-8 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 3. พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วัคซีนป้องกันวัณโรคที่มีประสิทธิภาพมากกว่า บีซีจี ตั้งเป้าในปี 2555 ลดอัตราการตายจากเดิมร้อยละ 8 ของผู้ป่วยปี 2553 เหลือร้อยละ 5 หรือไม่เกิน 6,000 ราย และลดอัตราการขาดยาเหลือไม่เกินร้อยละ 3
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในปี 2553 กระทรวงสาธารณสุขค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อสูง เข้ารักษาได้ร้อยละ 76 ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 โดยมีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษามากกว่า 64,000 ราย ได้รับการรักษาจนหายขาดร้อยละ 86 เสียชีวิตร้อยละ 8 และมีอัตราการขาดยา กินยาไม่ครบสูตรเดิม 6 เดือน ร้อยละ 5 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา โดยหากเชื้อชนิดดื้อยาแพร่กระจายออกไปจะทำให้การรักษายุ่งยาก มีโอกาสเสียชีวิตสูง
อนึ่ง วัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นได้ทุกอวัยวะ แต่พบมากที่สุดที่ปอด อาการจะเริ่มจากมีไข้ต่ำๆในช่วงบ่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ไอเรื้อรังเกินกว่า 2 อาทิตย์ ซึ่งประชาชนมักเข้าใจผิดว่าป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา มักซื้อยามากินเอง และอาการของโรคนี้ไม่รุนแรง เช้ายังทำงานได้ จึงไม่ได้ไปพบแพทย์และแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ โดยเชื้อจะอยู่ในเสมหะ ลอยไปในอากาศ กลุ่มที่เสี่ยงติดเชื้อวัณโรคง่ายกว่าคนอื่นมี 3 กลุ่ม ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เบาหวาน โรคโลหิตจาง ดังนั้น หากพบผู้ที่มีอาการดังกล่าวขอให้รีบพาไปโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้านเพื่อรับการรักษาฟรี
ทั้งนี้ ในวันวัณโรคโลกปีนี้ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย และมูลนิธิศุภมิตรแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมรณรงค์ “เมืองไทยปลอดภัยวัณโรค” ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กทม. ตั้งแต่เวลา 10.30-20.30 น. ภายใต้คำขวัญ “Stop TB in my lifetime We want Thailand free TB” เพื่อสร้างกระแส เชิญชวนบุคคลทั่วไป และภาคส่วนต่างๆ ร่วมมือกันหยุดยั้งวัณโรค ให้เมืองไทยปลอดวัณโรค โดยมีบริการตรวจสุขภาพและเอกซเรย์ปอดฟรี นิทรรศการความรู้เรื่องโรควัณโรค เกม การแสดงบนเวที อาทิ การแหล่โดยศิลปินแห่งชาติ ชินกร ไกรลาศ การแสดงโปงลางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การแสดงดนตรีรวมดาวกระจุยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเปิดตัวมิสเตอร์ทีบี ร.อ.สรวิชญ์ สุบุญ หรือหมอก้อง พรีเซ้นเตอร์ป้องกันวัณโรคปีนี้