กพร.ผนึกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯเร่งพัฒนาทักษะภาษา วัฒนธรรมและทักษะวิชาชีพให้แก่แรงงานภาคบริการ-ท่องเที่ยวกว่า 2.5 ล้านคน พร้อมเร่งออกมาตรฐานฝีมือเพิ่มอีก 100 ตำแหน่งให้เสร็จภายใน 1 ปี คาดหลังประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเงินไหลเข้าไทยกว่า 2 ล้านล้านบาท
วันนี้ (21 มี.ค.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันจัดทำหลักสูตรยกระดับทักษะฝีมือแรงงานด้านการท่องเที่ยวและบริการใน 13 กลุ่มสาขาอาชีพ เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจำหน่ายสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยว
“หลักสูตรเหล่านี้จะสอดรับกับข้อตกลงการเคลื่อนย้ายเสรีแรงงานในกลุ่มการท่องเที่ยวและบริการใน 32 ตำแหน่งงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่ครอบคลุม 4 กลุ่มได้แก่ แผนกต้อนรับ แม่บ้าน อาหาร งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม การเดินทาง เช่น บริษัททัวร์ รวมทั้งร่วมกันจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาท่องเที่ยวและบริการเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว 32 ตำแหน่งงานด้วย” รมว.แรงงานกล่าว
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 จะเกิดเออีซีขึ้น ทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ คาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่ไทยเพิ่มเป็นกว่า 2 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯจึงร่วมมือกับ กพร.ในการร่วมกันพัฒนาแรงงานที่อยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการที่มีอยู่ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งหมดกว่า 4.5 ล้านคนโดยในจำนวนนี้มีแรงงานกว่า 2.5 ล้านคนอยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการโดยตรง เช่น พนักงานต้อนรับ พนักงานเสิร์ฟ แม่บ้าน พนักงานขับรถทัวร์ จะพัฒนาแรงงานกลุ่มนี้ก่อน รวมทั้งจะจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว 32 ตำแหน่งงานโดยจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มเติมอีก 100 ตำแหน่งงานครอบคลุมงานด้านที่พักแรม บริษัททัวร์ งานบริการอาหาร สินค้าที่ระลึกและนันทนาการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีหรือไม่เกินปี 2556 เพื่อเตรียมการรองรับการเกิดขึ้นของเออีซี
“สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯมองว่าการเกิดขึ้นของเออีซีใน 3 ปีข้างหน้า เป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการในไทยเติบโตมากขึ้นคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มกว่า 2 ล้านล้านบาท แต่เราจะต้องเตรียมคนให้พร้อม จึงต้องพัฒนาแรงงานในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการให้มีความพร้อมทั้งด้านภาษา วัฒนธรรมและทักษะวิชาชีพ รวมทั้งเร่งจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มเติมอีก 100 ตำแหน่งงาน เช่น พนักงานขับรถทัวร์นอกจากมีทักษะด้านการขับรถแล้ว จะต้องมีความรู้ว่าเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน จะดูแลลูกทัวร์และแก้ปัญหาอย่างไร” นางปิยะมานกล่าว
วันนี้ (21 มี.ค.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันจัดทำหลักสูตรยกระดับทักษะฝีมือแรงงานด้านการท่องเที่ยวและบริการใน 13 กลุ่มสาขาอาชีพ เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจำหน่ายสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยว
“หลักสูตรเหล่านี้จะสอดรับกับข้อตกลงการเคลื่อนย้ายเสรีแรงงานในกลุ่มการท่องเที่ยวและบริการใน 32 ตำแหน่งงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่ครอบคลุม 4 กลุ่มได้แก่ แผนกต้อนรับ แม่บ้าน อาหาร งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม การเดินทาง เช่น บริษัททัวร์ รวมทั้งร่วมกันจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาท่องเที่ยวและบริการเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว 32 ตำแหน่งงานด้วย” รมว.แรงงานกล่าว
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 จะเกิดเออีซีขึ้น ทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ คาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่ไทยเพิ่มเป็นกว่า 2 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯจึงร่วมมือกับ กพร.ในการร่วมกันพัฒนาแรงงานที่อยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการที่มีอยู่ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งหมดกว่า 4.5 ล้านคนโดยในจำนวนนี้มีแรงงานกว่า 2.5 ล้านคนอยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการโดยตรง เช่น พนักงานต้อนรับ พนักงานเสิร์ฟ แม่บ้าน พนักงานขับรถทัวร์ จะพัฒนาแรงงานกลุ่มนี้ก่อน รวมทั้งจะจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว 32 ตำแหน่งงานโดยจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มเติมอีก 100 ตำแหน่งงานครอบคลุมงานด้านที่พักแรม บริษัททัวร์ งานบริการอาหาร สินค้าที่ระลึกและนันทนาการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีหรือไม่เกินปี 2556 เพื่อเตรียมการรองรับการเกิดขึ้นของเออีซี
“สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯมองว่าการเกิดขึ้นของเออีซีใน 3 ปีข้างหน้า เป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการในไทยเติบโตมากขึ้นคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มกว่า 2 ล้านล้านบาท แต่เราจะต้องเตรียมคนให้พร้อม จึงต้องพัฒนาแรงงานในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการให้มีความพร้อมทั้งด้านภาษา วัฒนธรรมและทักษะวิชาชีพ รวมทั้งเร่งจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาการท่องเที่ยวและบริการเพิ่มเติมอีก 100 ตำแหน่งงาน เช่น พนักงานขับรถทัวร์นอกจากมีทักษะด้านการขับรถแล้ว จะต้องมีความรู้ว่าเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน จะดูแลลูกทัวร์และแก้ปัญหาอย่างไร” นางปิยะมานกล่าว