สพฐ.เลือก ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็น 1 ใน 27 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ร่วมพัฒนาครู ทำผลงานวิชาการ สร้างวิทยฐานะ อธิการบดี ชี้ชัด การพัฒนาครูต้องยึดโยงกับผลการเรียนของเด็ก
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เลือกสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 27 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็น “หน่วยพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ” มีหน้าที่ในการดำเนินการพัฒนาข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ที่มีความประสงค์จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อน หรือขอมีวิทยฐานะ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งใน 27 มหาวิทยาลัยที่ได้รับเลือก และเป็น 1 ใน 4 ของมหาวิทยาลัยภาคใต้ที่ได้รับเลือก โดยอีก 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยทักษิณ
อธิการบดี มรส.กล่าวต่อไปว่า ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาครูและทรัพยากรมนุษย์ขึ้นในสังกัดคณะครุศาสตร์ เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 และเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการให้กับครูในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร กระบี่ และ ระนอง ดังนั้น การได้รับมอบหมายจาก สพฐ.ในครั้งนี้ จึงถือเป็นการสานต่อภารกิจที่ทำอยู่เดิม โดยสิ่งที่ต้องคำนึงให้มากในการพัฒนาครู คือ การยึดโยงการพัฒนาครูเข้ากับผลการเรียนของเด็กให้ได้ อย่าให้การพัฒนาครูกลายเป็นการแยกครูออกจากเด็ก หรือครูมีวิทยฐานะแต่ผลการเรียนของเด็กกลับแย่ลง
“การพัฒนาครูกับการสอนเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่สามารถแยกส่วนออกจากกันได้ มิเช่นนั้น จะกลายเป็นความพิกลพิการของการจัดการศึกษา เช่น ครูมีวิทยฐานะสูงแต่เด็กไม่มีคุณภาพ ครูมีผลงานวิชาการแต่ผลการเรียนของเด็กตกต่ำ เป็นต้น ดังนั้นต้องทำให้การพัฒนาครูเปรียบเสมือนการเทน้ำดีลงไปในน้ำเสีย เพื่อให้น้ำดีค่อย ๆ เจือจางน้ำเสีย กระทั่งน้ำทั้งหมดกลายเป็นน้ำดี เช่นเดียวกับทฤษฎีน้ำดีไล่น้ำเสียของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” อธิการบดี มรส.กล่าว
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เลือกสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 27 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็น “หน่วยพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ” มีหน้าที่ในการดำเนินการพัฒนาข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ที่มีความประสงค์จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อน หรือขอมีวิทยฐานะ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งใน 27 มหาวิทยาลัยที่ได้รับเลือก และเป็น 1 ใน 4 ของมหาวิทยาลัยภาคใต้ที่ได้รับเลือก โดยอีก 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยทักษิณ
อธิการบดี มรส.กล่าวต่อไปว่า ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาครูและทรัพยากรมนุษย์ขึ้นในสังกัดคณะครุศาสตร์ เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 และเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการให้กับครูในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร กระบี่ และ ระนอง ดังนั้น การได้รับมอบหมายจาก สพฐ.ในครั้งนี้ จึงถือเป็นการสานต่อภารกิจที่ทำอยู่เดิม โดยสิ่งที่ต้องคำนึงให้มากในการพัฒนาครู คือ การยึดโยงการพัฒนาครูเข้ากับผลการเรียนของเด็กให้ได้ อย่าให้การพัฒนาครูกลายเป็นการแยกครูออกจากเด็ก หรือครูมีวิทยฐานะแต่ผลการเรียนของเด็กกลับแย่ลง
“การพัฒนาครูกับการสอนเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่สามารถแยกส่วนออกจากกันได้ มิเช่นนั้น จะกลายเป็นความพิกลพิการของการจัดการศึกษา เช่น ครูมีวิทยฐานะสูงแต่เด็กไม่มีคุณภาพ ครูมีผลงานวิชาการแต่ผลการเรียนของเด็กตกต่ำ เป็นต้น ดังนั้นต้องทำให้การพัฒนาครูเปรียบเสมือนการเทน้ำดีลงไปในน้ำเสีย เพื่อให้น้ำดีค่อย ๆ เจือจางน้ำเสีย กระทั่งน้ำทั้งหมดกลายเป็นน้ำดี เช่นเดียวกับทฤษฎีน้ำดีไล่น้ำเสียของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” อธิการบดี มรส.กล่าว