เลขาธิการ สกศ.ชี้การพัฒนาครูใช้รูปแบบเหมารวมไม่ได้ แนะปรับรูปแบบการพัฒนาครูให้หลากหลายและยึดความต้องการแต่ละพื้นที่
นายเอนก เพิ่มเสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวระหว่าางเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบยั่งยืน เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการฝึกอบรมหรือพัฒนาตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในโรงเรียน โดยโรงเรียนเป็นเจ้าของโครงการหรือวางแผนการฝึกอบรม และมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของครูและผู้บริหารในกระบวนการบริหาร การจัดการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่ตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและผู้ เข้ารับการฝึกอบรมมากที่สุด ทั้งนี้ ครู และผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวป้อนที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเป็นหน้าด่านที่อยู่ใกล้ชิดผู้เรียนมากที่สุดที่จะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เด็กไทยเก่ง ดี มีความสุข และเมื่อสังคมไทยเผชิญวิกฤตปัญหาคุณภาพการศึกษา หลายคนต่างมองว่าคุณภาพครูจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกอบกู้คุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น เพราะเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยตรง แต่ผลผลิตของการศึกษาในปัจจุบันกลับสะท้อนถึงครูที่ยังต้องได้รับการพัฒนา และมีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการการพัฒนาครูอย่างจริงจัง
“รูปแบบการพัฒนาครูในปัจจุบัน ยังขาดนวัตกรรมและความหลากหลาย ส่วนใหญ่ใช้วิธีการฝึกอบรมแบบเหมารวม จึงทำให้ผลที่ออกมายังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะในแต่ละภูมิภาคและสังคมมีบริบทแตกต่างกัน ดังนั้น รูปแบบควรจะต้องต่างกันและตรงกับสภาพปัญหาความต้องการ มีวิธีที่หลากหลาย ได้ลงมือปฏิบัติจริงมีความต่อเนื่อง เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด ซึ่งขณะนี้ สกศ.กำลังดำเนินการวิจัยรูปแบบการพัฒนาครูดังกล่าว เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาครูต่อไป” เลขาธิการ สกศ.กล่าว
นายเอนก เพิ่มเสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวระหว่าางเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบยั่งยืน เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการฝึกอบรมหรือพัฒนาตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในโรงเรียน โดยโรงเรียนเป็นเจ้าของโครงการหรือวางแผนการฝึกอบรม และมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของครูและผู้บริหารในกระบวนการบริหาร การจัดการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่ตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและผู้ เข้ารับการฝึกอบรมมากที่สุด ทั้งนี้ ครู และผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวป้อนที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเป็นหน้าด่านที่อยู่ใกล้ชิดผู้เรียนมากที่สุดที่จะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เด็กไทยเก่ง ดี มีความสุข และเมื่อสังคมไทยเผชิญวิกฤตปัญหาคุณภาพการศึกษา หลายคนต่างมองว่าคุณภาพครูจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกอบกู้คุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น เพราะเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยตรง แต่ผลผลิตของการศึกษาในปัจจุบันกลับสะท้อนถึงครูที่ยังต้องได้รับการพัฒนา และมีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการการพัฒนาครูอย่างจริงจัง
“รูปแบบการพัฒนาครูในปัจจุบัน ยังขาดนวัตกรรมและความหลากหลาย ส่วนใหญ่ใช้วิธีการฝึกอบรมแบบเหมารวม จึงทำให้ผลที่ออกมายังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะในแต่ละภูมิภาคและสังคมมีบริบทแตกต่างกัน ดังนั้น รูปแบบควรจะต้องต่างกันและตรงกับสภาพปัญหาความต้องการ มีวิธีที่หลากหลาย ได้ลงมือปฏิบัติจริงมีความต่อเนื่อง เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด ซึ่งขณะนี้ สกศ.กำลังดำเนินการวิจัยรูปแบบการพัฒนาครูดังกล่าว เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาครูต่อไป” เลขาธิการ สกศ.กล่าว