ผอ.สรต.ปัดไม่เกี่ยวข้องขบวนการกินหัวคิวแรงงานไทยไปอิสราเอล ด้านอธิบดี กกจ.แก้ปัญหา นำร่องตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จให้คำปรึกษา ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำในห้างฯ3จังหวัดภาคอีสาน เดือน พ.ค.นี้
วานนี้ (13 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีการเรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอล โดยล่าสุดมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงานไทยที่ไปทำงานอิสราเอล และได้มีการสั่งย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่ง ว่า จากการสัมภาษณ์นายสุทธิ สุโกศล ผอ.สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ (สรต.) กรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นหนี่งในข้าราชการที่ถูกคำสั่งย้าย โดยเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นายสุทธิ ได้ชี้แจงว่า ตนยังไม่เห็นหนังสือคำสั่งย้ายอย่างเป็นทางการ และยืนยันว่า ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการขบวนการเรียกเก็บเงินค่าหัวคิวแรงงานไทยที่ไปทำงานที่อิสราเอล ซึ่งการดำเนินการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลก็เป็นไปตามระเบียบของ กกจ.ที่กำหนดไว้
ส่วนกรณีที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบในเรื่องการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็จะมีการตรวจสอบโครงการเก่าๆ ของรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งตนก็พร้อมที่จะให้ตรวจสอบและขอยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ทางโทรศัพย์พิ่มเติมในวันนี้ (13 มี.ค.) ถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจาก นายสุทธิ ไม่รับสายแต่อย่างใด
ด้านนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า กกจ.ได้เตรียมการแก้ปัญหาการเรียกเงินค่าหัวคิวและนายหน้าเถื่อนหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ โดยจะมีการนำร่องจัดตั้งศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จให้แก่แรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศ ภายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น บิ๊กซี โลตัส ทั้งในเรื่องตำแหน่งงานในแต่ละประเทศ บริษัทจัดหางานที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานจะหมุนเวียนกันเข้ามา ให้คำปรึกษาแก่แรงงานไทย
รวมทั้งจะมีเจ้าหน้าที่ของธนาคาร เช่น กรุงไทย, ออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ฝากเงินไว้ มาตั้งโต๊ะคอยให้บริการเงินกู้เพื่อไปทำงานต่างประเทศ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ และผ่อนชำระหนี้คืนผ่านการหักเงินเดือน ซึ่งตั้งเป้าจะนำร่องในจังหวัดอุดรธานี, ขอนแก่น และ นครราชสีมา คาดว่า จะเปิดทำงานได้ภายในเดือน พ.ค.นี้
“เราตั้งเป้าเปิดศูนย์บริการเบ็ดเสร็จให้ครอบคลุมในกว่า 20 จังหวัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เพื่อให้แรงงานได้มาพบพูดคุยกับบริษัทจัดหางานที่มีตัวตนจริงๆ และได้มาตรฐานโดยตรง รวมทั้งได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อไปทำงานต่างประเทศ เชื่อว่า วิธีการนี้จะช่วยแก้ปัญหานายหน้าเถื่อน และบริษัทจัดหางานเถื่อน ซึ่งเรียกเก็บค่าหัวคิวและหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งให้ทูตแรงงานของกระทรวงแรงงานเจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่แต่ละประเทศเก็บเพิ่มเติมจากแรงงานไทย เช่น ค่าล่าม ค่าที่พัก ค่าดูแลคนงานต่างๆ โดยจะหันมาใช้ระบบรัฐต่อรัฐมากขึ้น” อธิบดี กกจ.กล่าว
วานนี้ (13 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีการเรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอล โดยล่าสุดมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงานไทยที่ไปทำงานอิสราเอล และได้มีการสั่งย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่ง ว่า จากการสัมภาษณ์นายสุทธิ สุโกศล ผอ.สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ (สรต.) กรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นหนี่งในข้าราชการที่ถูกคำสั่งย้าย โดยเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นายสุทธิ ได้ชี้แจงว่า ตนยังไม่เห็นหนังสือคำสั่งย้ายอย่างเป็นทางการ และยืนยันว่า ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการขบวนการเรียกเก็บเงินค่าหัวคิวแรงงานไทยที่ไปทำงานที่อิสราเอล ซึ่งการดำเนินการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลก็เป็นไปตามระเบียบของ กกจ.ที่กำหนดไว้
ส่วนกรณีที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบในเรื่องการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็จะมีการตรวจสอบโครงการเก่าๆ ของรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งตนก็พร้อมที่จะให้ตรวจสอบและขอยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ทางโทรศัพย์พิ่มเติมในวันนี้ (13 มี.ค.) ถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจาก นายสุทธิ ไม่รับสายแต่อย่างใด
ด้านนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า กกจ.ได้เตรียมการแก้ปัญหาการเรียกเงินค่าหัวคิวและนายหน้าเถื่อนหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ โดยจะมีการนำร่องจัดตั้งศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จให้แก่แรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศ ภายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น บิ๊กซี โลตัส ทั้งในเรื่องตำแหน่งงานในแต่ละประเทศ บริษัทจัดหางานที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานจะหมุนเวียนกันเข้ามา ให้คำปรึกษาแก่แรงงานไทย
รวมทั้งจะมีเจ้าหน้าที่ของธนาคาร เช่น กรุงไทย, ออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ฝากเงินไว้ มาตั้งโต๊ะคอยให้บริการเงินกู้เพื่อไปทำงานต่างประเทศ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ และผ่อนชำระหนี้คืนผ่านการหักเงินเดือน ซึ่งตั้งเป้าจะนำร่องในจังหวัดอุดรธานี, ขอนแก่น และ นครราชสีมา คาดว่า จะเปิดทำงานได้ภายในเดือน พ.ค.นี้
“เราตั้งเป้าเปิดศูนย์บริการเบ็ดเสร็จให้ครอบคลุมในกว่า 20 จังหวัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เพื่อให้แรงงานได้มาพบพูดคุยกับบริษัทจัดหางานที่มีตัวตนจริงๆ และได้มาตรฐานโดยตรง รวมทั้งได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อไปทำงานต่างประเทศ เชื่อว่า วิธีการนี้จะช่วยแก้ปัญหานายหน้าเถื่อน และบริษัทจัดหางานเถื่อน ซึ่งเรียกเก็บค่าหัวคิวและหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งให้ทูตแรงงานของกระทรวงแรงงานเจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่แต่ละประเทศเก็บเพิ่มเติมจากแรงงานไทย เช่น ค่าล่าม ค่าที่พัก ค่าดูแลคนงานต่างๆ โดยจะหันมาใช้ระบบรัฐต่อรัฐมากขึ้น” อธิบดี กกจ.กล่าว