ก.แรงงาน เผย 5 ปีย้อนหลัง แรงงานร้องถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศกว่า 12,000 คน มูลค่าความเสียหาย 755 ล้านบาท กทม. ชัยภูมิ โคราช แชมป์ร้องทุกข์มากที่สุด เร่งเดินหน้าแก้ปัญหาใช้ระบบส่งต่อไปทำงานแบบรัฐต่อรัฐ จ้างตรงออนไลน์ พร้อมรุกชุมชนให้ความรู้แรงงาน-ผู้นำชุมชุน กวาดล้างสายนายหน้าเถื่อน
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ.ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากคนหางานในช่วง ต.ค.2553 - ก.ย.2554 รวมทั้งสิ้น 1,783 คน มูลค่าความเสียหายรวม 120,056,470 บาท โดยแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.กรณีร้องเรียนบริษัทจัดหางาน เก็บเงินค่าบริการไปแล้วไม่สามารถจัดไปทำงานได้ เดินทางไปทำงานแล้ว แต่ไม่สามารถทำงานได้ และถูกนายจ้างในต่างประเทศเอาเปรียบไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ซึ่งกรณีนี้มีคนหางานร้องเรียนทั้งหมด 485 คน มูลค่าความเสียหาย 32,897,752 บาท
ส่วนกรณีที่ 2.ร้องเรียนสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อน เนื่องจากจ่ายค่าบริการไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดส่งไปทำงาน จัดส่งไปต่างประเทศแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าประเทศปลายทางได้ ถูกส่งไปทำงานแบบลักลอบทำงานโดยกฎหมาย และส่งไปทำงานแล้วแต่ไม่มีงานให้ทำ และถูกปล่อยลอยแพในต่างประเทศ ซึ่งกรณีนี้มีผู้ร้องเรียน 1,323 คน มูลค่าความเสียหาย 87,118,718 บาท
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า สำหรับจังหวัดที่มีคนหางานมาร้องทุกข์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 658 คน มูลค่าความเสียหาย 45,849,948 บาท 2.ชัยภูมิ 179 คน มูลค่า 12,939,720 บาท 3.นครราชสีมา 128 คน มูลค่า 7,752,120 บาท 4.ลำปาง 77 คน มูลค่า 3,115,700 บาท และ 5.อุดรธานี 70 คน มูลค่า 5,721,600 บาท
ทั้งนี้ สถิติย้อนหลังในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีแรงงานร้องถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศกว่า 12,000 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 755 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2550 มีคนหางานร้องทุกข์ 2,394 คน มูลค่าความเสียหาย 142,636,192 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 2,677 คน ได้รับเงินคืน 68,240,048 บาท ปี 2551 มีคนหางานร้องทุกข์ 3,028 คน มูลค่าความเสียหาย 182,419,303 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 3,033 คน ได้รับเงินคืน 59,006,281 บาท
ปี 2552 มีคนหางานร้องทุกข์ 3,040 คน มูลค่าความเสียหาย 185,988,713 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 3,002 คน ได้รับเงินคืน 54,046,578 บาท ปี 2553 มีคนหางานร้องทุกข์ 2,275 คน มูลค่าความเสียหาย 126,044,651 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 2,273 คน ได้รับเงินคืน 37,916,130 บาท และปี 2554 มีคนหางานร้องทุกข์ 1,781 คน มูลค่าความเสียหาย 120,016,470 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 1,792 คน ได้รับเงินคืน 23,200,280 บาท
ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ปี 2551 มีคนหางานร้องทุกข์มากที่สุด และได้รับเงินคืนมากที่สุด ส่วนปี 2552 มีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด
นายประวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีมาตรการคุ้มครองและป้องกันคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ ได้แก่ การปรับปรุงศูนย์ทะเบียนคนหางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจัดทำเว็บไซด์ตำแหน่งงานในต่างประเทศเพื่อเป็นแหล่งขัอมูลให้แก่คนหางาน และร่วมมือกับกรมการกงศุลเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังจัดโครงการสินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ ซึ่ง กกจ.ร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตจัดหางานและธนาคารภาครัฐ ซึ่งขณะนี้มี 3 ธนาคารเข้า่ร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การทำ Mou จัดส่งแรงงานไปต่างประเทศแบบรัฐต่อรัฐ ระบบจ้างตรงออนไลน์โดยไม่ผ่านสายนายหน้า รวมทั้งกำหนดให้บริษัทจัดหางานที่จะส่งแรงงานไทยไปต่่างประเทศต้องผ่าน กกจ.ก่อนทุกครั้งและควบคุมการแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตัวเองของคนหางาน หากพบว่ามีการแอบแฝงการจัดส่งโดยบริษัทจัดหางาน สาย/นายหน้าเถื่อนจะดำเนินการตามกฎหมายทันที และมีโครงการเคาะประตูบ้านเพืื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงคนหางาน โดยให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ต่างๆ
“ส่วนการปราบปราม กระทรวงแรงงานได้ตั้งศูนย์ปราบปรามแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมายและขบวนการค้ามนุษย์ซึ่งมีในหลายจังหวัด ซึ่งในปี 2554 มีการจับสาย/นายหน้าเถื่อนไปแล้ว 497 คนและในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ 2550-2554 มีการลงโทษทางทะเบียนแก่บริษัทจัดหางานที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 โดยเพิกถอนใบอนุญาต 5 แห่ง พักใช้ใบอนุญาต 15 แห่ง และหักเงินประกัน 26 แห่ง"อธิบดี กกจ.กล่าว
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ.ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากคนหางานในช่วง ต.ค.2553 - ก.ย.2554 รวมทั้งสิ้น 1,783 คน มูลค่าความเสียหายรวม 120,056,470 บาท โดยแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.กรณีร้องเรียนบริษัทจัดหางาน เก็บเงินค่าบริการไปแล้วไม่สามารถจัดไปทำงานได้ เดินทางไปทำงานแล้ว แต่ไม่สามารถทำงานได้ และถูกนายจ้างในต่างประเทศเอาเปรียบไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ซึ่งกรณีนี้มีคนหางานร้องเรียนทั้งหมด 485 คน มูลค่าความเสียหาย 32,897,752 บาท
ส่วนกรณีที่ 2.ร้องเรียนสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อน เนื่องจากจ่ายค่าบริการไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดส่งไปทำงาน จัดส่งไปต่างประเทศแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าประเทศปลายทางได้ ถูกส่งไปทำงานแบบลักลอบทำงานโดยกฎหมาย และส่งไปทำงานแล้วแต่ไม่มีงานให้ทำ และถูกปล่อยลอยแพในต่างประเทศ ซึ่งกรณีนี้มีผู้ร้องเรียน 1,323 คน มูลค่าความเสียหาย 87,118,718 บาท
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า สำหรับจังหวัดที่มีคนหางานมาร้องทุกข์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 658 คน มูลค่าความเสียหาย 45,849,948 บาท 2.ชัยภูมิ 179 คน มูลค่า 12,939,720 บาท 3.นครราชสีมา 128 คน มูลค่า 7,752,120 บาท 4.ลำปาง 77 คน มูลค่า 3,115,700 บาท และ 5.อุดรธานี 70 คน มูลค่า 5,721,600 บาท
ทั้งนี้ สถิติย้อนหลังในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีแรงงานร้องถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศกว่า 12,000 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 755 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2550 มีคนหางานร้องทุกข์ 2,394 คน มูลค่าความเสียหาย 142,636,192 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 2,677 คน ได้รับเงินคืน 68,240,048 บาท ปี 2551 มีคนหางานร้องทุกข์ 3,028 คน มูลค่าความเสียหาย 182,419,303 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 3,033 คน ได้รับเงินคืน 59,006,281 บาท
ปี 2552 มีคนหางานร้องทุกข์ 3,040 คน มูลค่าความเสียหาย 185,988,713 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 3,002 คน ได้รับเงินคืน 54,046,578 บาท ปี 2553 มีคนหางานร้องทุกข์ 2,275 คน มูลค่าความเสียหาย 126,044,651 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 2,273 คน ได้รับเงินคืน 37,916,130 บาท และปี 2554 มีคนหางานร้องทุกข์ 1,781 คน มูลค่าความเสียหาย 120,016,470 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 1,792 คน ได้รับเงินคืน 23,200,280 บาท
ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ปี 2551 มีคนหางานร้องทุกข์มากที่สุด และได้รับเงินคืนมากที่สุด ส่วนปี 2552 มีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด
นายประวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีมาตรการคุ้มครองและป้องกันคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ ได้แก่ การปรับปรุงศูนย์ทะเบียนคนหางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจัดทำเว็บไซด์ตำแหน่งงานในต่างประเทศเพื่อเป็นแหล่งขัอมูลให้แก่คนหางาน และร่วมมือกับกรมการกงศุลเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังจัดโครงการสินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ ซึ่ง กกจ.ร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตจัดหางานและธนาคารภาครัฐ ซึ่งขณะนี้มี 3 ธนาคารเข้า่ร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การทำ Mou จัดส่งแรงงานไปต่างประเทศแบบรัฐต่อรัฐ ระบบจ้างตรงออนไลน์โดยไม่ผ่านสายนายหน้า รวมทั้งกำหนดให้บริษัทจัดหางานที่จะส่งแรงงานไทยไปต่่างประเทศต้องผ่าน กกจ.ก่อนทุกครั้งและควบคุมการแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตัวเองของคนหางาน หากพบว่ามีการแอบแฝงการจัดส่งโดยบริษัทจัดหางาน สาย/นายหน้าเถื่อนจะดำเนินการตามกฎหมายทันที และมีโครงการเคาะประตูบ้านเพืื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงคนหางาน โดยให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ต่างๆ
“ส่วนการปราบปราม กระทรวงแรงงานได้ตั้งศูนย์ปราบปรามแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมายและขบวนการค้ามนุษย์ซึ่งมีในหลายจังหวัด ซึ่งในปี 2554 มีการจับสาย/นายหน้าเถื่อนไปแล้ว 497 คนและในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ 2550-2554 มีการลงโทษทางทะเบียนแก่บริษัทจัดหางานที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 โดยเพิกถอนใบอนุญาต 5 แห่ง พักใช้ใบอนุญาต 15 แห่ง และหักเงินประกัน 26 แห่ง"อธิบดี กกจ.กล่าว