รมว.แรงงาน สั่งตั้งกรรมการสอบเรียกหัวคิวส่งแรงงานไทยไปอิสราเอล ล่าสุด เด้งข้าราชการระดับ 9 ไปจนถึงระดับ 7 หลังสอบพบขบวนการกินค่าหัวคิวแรงงานเกินกฎหมายกำหนด รายละ 3-4 แสนบาท ตะลึงเจอกินส่วนต่าง 38บริษัท รวมกว่า 765 ล้านบาท ด้านอธิบดี กกจ.จับตาบริษัทจัดหางาน 50 แห่ง คาดเป็นนอมินีตั้งขึ้นมาเพื่อรับงานบางอย่าง
นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีปัญหาร้องเรียนการเก็บค่าหัวคิวแรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอลเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ว่า ขณะนี้ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน ได้มีคำสั่งให้ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ที่มี นายโชคชัย ศรีทอง รองอธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นประธาน เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าเรื่องนี้มีมูลแค่ไหนหรือไม่ แต่เบื้องต้นเพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความโปร่งใส และไม่มีอะไรติดขัด ได้มีการสั่งย้าย นายสุทธิ สุโกศล ผอ.สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ออกจากตำแหน่งดังกล่าวไว้ก่อน รวมถึงได้เรียก นางอรัชพร เทพวัลย์ อัครราชทูตฝ่ายแรงงานไทย ประจำสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล กลับมาประจำประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการสั่งย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 8 ลงไป อีก 3-4 คน
นายสง่า กล่าวว่า จากการสอบสวนในเบื้องต้นพบว่าเรื่องนี้ทำเป็นขบวนการ โดยมีข้าราชการและบริษัทจัดหางานรู้เห็นเป็นใจ เปิดช่องให้มีการเก็บค่าหัวคิวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดสูงถึงหัวละ 3-4 แสนบาท ทั้งที่กฎหมายระบุให้จัดเก็บไม่เกินคนละ 1.8 แสนบาท แต่หากว่าจัดส่งด้วยรูปแบบรัฐต่อรัฐผ่านกลไกของไอโอเอ็ม จะเสียค่าหัวถูกมากเฉลี่ยไม่เกิน 6 หมื่นบาทเท่านั้น
โดยจากบันทึกข้อมูลที่มีการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอล ตั้งแต่เดือน ส.ค.2554 - 24 ก.พ.2555 พบว่า มีการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลผ่านบริษัทจัดหางาน 38 แห่ง คิดเป็นจำนวนแรงงาน 3,479 คน ในจำนวนนี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จัดส่งแรงงานเกินกว่า 100 คน มีจำนวนถึง 13 แห่ง ดังนั้น ถ้านำค่าหัวที่เก็บเกินกว่ากฎหมายกำหนด โดยเอาค่าหัวที่บริษัทเรียกเก็บ 4 แสนบาท หักออกจากค่าหัวที่กฎหมายกำหนด 1.8 แสนบาท จะได้ส่วนต่างอยู่ที่ 2.2 แสนบาทต่อหัว ซึ่งเมื่อคูณเข้าด้วยจำนวนแรงงาน 3,479 คน ทำให้เกิดส่วนต่างรวมกว่า 765 ล้านบาท
“ยืนยันว่า การสอบสวนเรื่องนี้ไม่มีการกลั่นแกล้งและจับแพะ เพราะถือเป็นการค้ามนุษย์ ซึ่งขัดกับนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีที่ประกาศชัดเจนไปแล้วว่าจะไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้นเหมือนในอดีต แต่ก็ปล่อยให้มีปัญหานี้เกิดขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้วีซ่าที่จัดส่งแรงงานจำนวนดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2553 แต่ตั้งใจให้มีการซอยตัวเลขการจัดส่ง โดยถ้าเซ็นอนุมัติให้จัดส่งไม่เกิน 20 คน เพื่อให้อยู่ในอำนาจของ ผอ.กอง และมีการปล่อยของในช่วงที่ทางการกำลังชุลมุนวุ่นวายอยู่กับการแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยที่ทุกคนไม่ทันระวัง ดังนั้น เรื่องนี้จะต้องมีผู้ที่รับผิดชอบ ซึ่งการสอบสวนจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน” นายสง่า กล่าว และว่า ภายหลังจาก นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กลับจากต่างประทศแล้ว จะให้มีการตั้งคณะกรรมกรารสอบสวนเรื่องนี้ควบคู่กันไปอีก 1 ชุดด้วย
นายสง่า กล่าวต่อไปว่า ล่าสุด ได้รับรายงานว่า จากการสุ่มตรวจรายชื่อบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปอิสราเอล ทั้ง 38 แห่ง พบว่า มีการเรียกเก็บค่าหัวคิวเกินกว่ากฎหมายกำหนดทั้งสิ้น ในอัตราเฉลี่ย 3-4 แสนบาทต่อคน โดยแรงงานที่ไปทำงานที่อิสราเอลส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคอีสาน เช่น บุรีรัมย์ อุดรธานี เลย นครพนม
ทั้งนี้ นอกจากการตั้งกรรมการสอบแล้ว ยังได้มีคำสั่งให้ระงับการจัดส่งแรงงานไทยผ่านบริษัทจัดหางานทั้งหมดพร้อมกับได้สั่งการให้เร่งรัดผลักดันการจัดส่งแรงงานในรูปแบบรัฐต่อรัฐโดยเร็วที่สุด
ด้านนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการได้เริ่มสอบปากคำครอบครัวแรงงานที่ไปทำงานที่อิสราเอล รวมทั้งสั่งทูตแรงงานทำการสอบปากคำตัวแรงงานไทยที่อิสราเอลด้วย นอกจากนี้ ยังรียกบริษัทจัดหางานทั้งหมดมาสอบปากคำเช่นเดียวกัน เพื่อตรวจสอบถึงค่าใช้จ่ายในการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอล หากพบว่าบริษัทจัดหางานรายใดเก็บค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เบื้องต้นจะสั่งพักใบอนุญาต รวมทั้งดำเนินคดีอาญาด้วย ตลอดจนให้หน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็สามารถเข้าตรวจสอบการฟอกเงินได้ ส่วนกรณีหากพบว่ามีข้าราชการเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับสูงและชั้นผู้น้อยก็ต้องดำเนินการทางวินัยขั้นเด็ดขาด
“ปัจจุบันมีบริษัทจัดหางานที่ขึ้นทะเบียนกับ กกจ.ประมาณกว่า 200 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้ มีบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอยู่เป็นประจำประมาณ 150 แห่ง ที่เหลืออีกประมาณ 50 แห่ง เป็นการจดทะเบียนไว้เฉยๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวทางธุรกรรมใดๆ ซึ่งต่อไป กกจ.จะเข้าไปตรวจสอบบริษัทที่ขึ้นทะเบียนไว้เฉยๆ และไม่มีการทำธุรกรรมเหล่านี้ โดยเตรียมจะยกเลิกใบอนุญาตทั้งหมด ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทจัดหางานสามารถช่วยให้ทำงานง่าย ผู้ที่เคยถูกถอนใบอนุญาตไปแล้วสามารถตั้งนอมินีจดทะเบียนบริษัทขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งเราก็จะใช้วิธีตรวจสอบการทำธุรกรรมดังกล่าว” นายประวิทย์ กล่าว
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยในอิสราเอลทั้งหมด 25,289 คน ทั้งหมดเป็นแรงงานภาคการเกษตร ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้สั่งชะลอการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลตามโควตาปี 2555 ที่ได้รับจากรัฐบาลอิสราเอล 5,000 คน เพื่อคัดเลือกแรงงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งงาน เช่น แรงงานที่มีความถนัดด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ เพื่อได้งานที่ถนัดและตรงกับความต้องการกับบริษัทที่จ้างงาน เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยมีการตรวจสอบคุณสมบัติให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ทำให้มีปัญหาในภายหลัง เช่น แรงงานทำงานไม่ได้
ทั้งนี้ จะมีการปรับปรุงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างไทยกับอิสราเอล เพื่อเพิ่มเติมประเด็นนี้เข้าไปด้วย ซึ่งคาดว่าจะส่งแรงงานไทยล็อตนี้ได้ภายในเดือน เม.ย.นี้
นายประวิทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าแรงงานไทยในอิสราเอล ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบในฉนวนกาซา ว่า ล่าสุด แรงงานทั้ง 4 ราย ได้แก่ นายมิ วงสุวรรณ, นายวิทยา มะโนสิน, นายกฤษฎา โกสวน และ นายนริศ ไชยยารัมย์ ทั้งหมดได้พ้นขีดอันตรายแล้ว โดยใน 3 คนได้กลับเข้าทำงานในไร่ส้มแล้ว ซึ่งยังเหลืออีก 1 คน คือ นายมิ วงสุวรรณ ได้ออกจากห้องไอซียูแล้ว แต่ยังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
ทั้งนี้ แรงงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันสุขภาพ และได้รับเงินชดเชยจากกองทุนช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ คนละประมาณ 4 หมื่นบาท
อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้ทูตแรงงานในอิสราเอลประเมินสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นว่ามีแนวโน้มขยายพื้นที่เข้าไปที่มีแรงงานไทยทำงานอยู่หรือไม่ หากพบว่าไม่ปลอดภัยก็ให้ประสานนายจ้างและบริษัทจัดหางาน เคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปทำงานในพื้นที่ปลอดภัย
นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีปัญหาร้องเรียนการเก็บค่าหัวคิวแรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอลเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ว่า ขณะนี้ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน ได้มีคำสั่งให้ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ที่มี นายโชคชัย ศรีทอง รองอธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นประธาน เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าเรื่องนี้มีมูลแค่ไหนหรือไม่ แต่เบื้องต้นเพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความโปร่งใส และไม่มีอะไรติดขัด ได้มีการสั่งย้าย นายสุทธิ สุโกศล ผอ.สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ออกจากตำแหน่งดังกล่าวไว้ก่อน รวมถึงได้เรียก นางอรัชพร เทพวัลย์ อัครราชทูตฝ่ายแรงงานไทย ประจำสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล กลับมาประจำประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการสั่งย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 8 ลงไป อีก 3-4 คน
นายสง่า กล่าวว่า จากการสอบสวนในเบื้องต้นพบว่าเรื่องนี้ทำเป็นขบวนการ โดยมีข้าราชการและบริษัทจัดหางานรู้เห็นเป็นใจ เปิดช่องให้มีการเก็บค่าหัวคิวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดสูงถึงหัวละ 3-4 แสนบาท ทั้งที่กฎหมายระบุให้จัดเก็บไม่เกินคนละ 1.8 แสนบาท แต่หากว่าจัดส่งด้วยรูปแบบรัฐต่อรัฐผ่านกลไกของไอโอเอ็ม จะเสียค่าหัวถูกมากเฉลี่ยไม่เกิน 6 หมื่นบาทเท่านั้น
โดยจากบันทึกข้อมูลที่มีการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอล ตั้งแต่เดือน ส.ค.2554 - 24 ก.พ.2555 พบว่า มีการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลผ่านบริษัทจัดหางาน 38 แห่ง คิดเป็นจำนวนแรงงาน 3,479 คน ในจำนวนนี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จัดส่งแรงงานเกินกว่า 100 คน มีจำนวนถึง 13 แห่ง ดังนั้น ถ้านำค่าหัวที่เก็บเกินกว่ากฎหมายกำหนด โดยเอาค่าหัวที่บริษัทเรียกเก็บ 4 แสนบาท หักออกจากค่าหัวที่กฎหมายกำหนด 1.8 แสนบาท จะได้ส่วนต่างอยู่ที่ 2.2 แสนบาทต่อหัว ซึ่งเมื่อคูณเข้าด้วยจำนวนแรงงาน 3,479 คน ทำให้เกิดส่วนต่างรวมกว่า 765 ล้านบาท
“ยืนยันว่า การสอบสวนเรื่องนี้ไม่มีการกลั่นแกล้งและจับแพะ เพราะถือเป็นการค้ามนุษย์ ซึ่งขัดกับนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีที่ประกาศชัดเจนไปแล้วว่าจะไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้นเหมือนในอดีต แต่ก็ปล่อยให้มีปัญหานี้เกิดขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้วีซ่าที่จัดส่งแรงงานจำนวนดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2553 แต่ตั้งใจให้มีการซอยตัวเลขการจัดส่ง โดยถ้าเซ็นอนุมัติให้จัดส่งไม่เกิน 20 คน เพื่อให้อยู่ในอำนาจของ ผอ.กอง และมีการปล่อยของในช่วงที่ทางการกำลังชุลมุนวุ่นวายอยู่กับการแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยที่ทุกคนไม่ทันระวัง ดังนั้น เรื่องนี้จะต้องมีผู้ที่รับผิดชอบ ซึ่งการสอบสวนจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน” นายสง่า กล่าว และว่า ภายหลังจาก นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กลับจากต่างประทศแล้ว จะให้มีการตั้งคณะกรรมกรารสอบสวนเรื่องนี้ควบคู่กันไปอีก 1 ชุดด้วย
นายสง่า กล่าวต่อไปว่า ล่าสุด ได้รับรายงานว่า จากการสุ่มตรวจรายชื่อบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปอิสราเอล ทั้ง 38 แห่ง พบว่า มีการเรียกเก็บค่าหัวคิวเกินกว่ากฎหมายกำหนดทั้งสิ้น ในอัตราเฉลี่ย 3-4 แสนบาทต่อคน โดยแรงงานที่ไปทำงานที่อิสราเอลส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคอีสาน เช่น บุรีรัมย์ อุดรธานี เลย นครพนม
ทั้งนี้ นอกจากการตั้งกรรมการสอบแล้ว ยังได้มีคำสั่งให้ระงับการจัดส่งแรงงานไทยผ่านบริษัทจัดหางานทั้งหมดพร้อมกับได้สั่งการให้เร่งรัดผลักดันการจัดส่งแรงงานในรูปแบบรัฐต่อรัฐโดยเร็วที่สุด
ด้านนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการได้เริ่มสอบปากคำครอบครัวแรงงานที่ไปทำงานที่อิสราเอล รวมทั้งสั่งทูตแรงงานทำการสอบปากคำตัวแรงงานไทยที่อิสราเอลด้วย นอกจากนี้ ยังรียกบริษัทจัดหางานทั้งหมดมาสอบปากคำเช่นเดียวกัน เพื่อตรวจสอบถึงค่าใช้จ่ายในการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอล หากพบว่าบริษัทจัดหางานรายใดเก็บค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เบื้องต้นจะสั่งพักใบอนุญาต รวมทั้งดำเนินคดีอาญาด้วย ตลอดจนให้หน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็สามารถเข้าตรวจสอบการฟอกเงินได้ ส่วนกรณีหากพบว่ามีข้าราชการเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับสูงและชั้นผู้น้อยก็ต้องดำเนินการทางวินัยขั้นเด็ดขาด
“ปัจจุบันมีบริษัทจัดหางานที่ขึ้นทะเบียนกับ กกจ.ประมาณกว่า 200 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้ มีบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอยู่เป็นประจำประมาณ 150 แห่ง ที่เหลืออีกประมาณ 50 แห่ง เป็นการจดทะเบียนไว้เฉยๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวทางธุรกรรมใดๆ ซึ่งต่อไป กกจ.จะเข้าไปตรวจสอบบริษัทที่ขึ้นทะเบียนไว้เฉยๆ และไม่มีการทำธุรกรรมเหล่านี้ โดยเตรียมจะยกเลิกใบอนุญาตทั้งหมด ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทจัดหางานสามารถช่วยให้ทำงานง่าย ผู้ที่เคยถูกถอนใบอนุญาตไปแล้วสามารถตั้งนอมินีจดทะเบียนบริษัทขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งเราก็จะใช้วิธีตรวจสอบการทำธุรกรรมดังกล่าว” นายประวิทย์ กล่าว
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยในอิสราเอลทั้งหมด 25,289 คน ทั้งหมดเป็นแรงงานภาคการเกษตร ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้สั่งชะลอการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลตามโควตาปี 2555 ที่ได้รับจากรัฐบาลอิสราเอล 5,000 คน เพื่อคัดเลือกแรงงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งงาน เช่น แรงงานที่มีความถนัดด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ เพื่อได้งานที่ถนัดและตรงกับความต้องการกับบริษัทที่จ้างงาน เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยมีการตรวจสอบคุณสมบัติให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ทำให้มีปัญหาในภายหลัง เช่น แรงงานทำงานไม่ได้
ทั้งนี้ จะมีการปรับปรุงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างไทยกับอิสราเอล เพื่อเพิ่มเติมประเด็นนี้เข้าไปด้วย ซึ่งคาดว่าจะส่งแรงงานไทยล็อตนี้ได้ภายในเดือน เม.ย.นี้
นายประวิทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าแรงงานไทยในอิสราเอล ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบในฉนวนกาซา ว่า ล่าสุด แรงงานทั้ง 4 ราย ได้แก่ นายมิ วงสุวรรณ, นายวิทยา มะโนสิน, นายกฤษฎา โกสวน และ นายนริศ ไชยยารัมย์ ทั้งหมดได้พ้นขีดอันตรายแล้ว โดยใน 3 คนได้กลับเข้าทำงานในไร่ส้มแล้ว ซึ่งยังเหลืออีก 1 คน คือ นายมิ วงสุวรรณ ได้ออกจากห้องไอซียูแล้ว แต่ยังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
ทั้งนี้ แรงงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันสุขภาพ และได้รับเงินชดเชยจากกองทุนช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ คนละประมาณ 4 หมื่นบาท
อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้ทูตแรงงานในอิสราเอลประเมินสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นว่ามีแนวโน้มขยายพื้นที่เข้าไปที่มีแรงงานไทยทำงานอยู่หรือไม่ หากพบว่าไม่ปลอดภัยก็ให้ประสานนายจ้างและบริษัทจัดหางาน เคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปทำงานในพื้นที่ปลอดภัย