นักวิจัย นสธ.-สสส.สำรวจพบ ประชากรในพื้นที่หมอกควัน เสี่ยงรับสารก่อมะเร็งมากกว่า ชี้ เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ทุกชนิด ทั้งสุมไฟ เผาเศษใบไม้ ก่อฝืน สูบบุหรี่ สร้างสารก่อมะเร็งได้ ชี้ ต้องเร่งให้ความรู้ประชาชน
ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อศึกษาวิจัยเรื่อง “การประเมินการรับสัมผัสสารมลพิษจากสิ่งแวดล้อมในเด็กนักเรียนอนุบาล” โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนอนุบาล อายุระหว่าง 5-6 ปี เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2554 ในพื้นที่ที่มีจุดความร้อน (Hotspots) ซึ่งเก็บข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างจาก 3 อำเภอ ใน จ.เชียงใหม่ คือ อ.เชียงดาว 59 คน เป็นอำเภอที่มีจุดความร้อน เทียบกับ พื้นที่ไม่มีจุดความร้อน ได้แก่ อ.เมือง เชียงใหม่ 50 คน และ อ.สารภี 51 คน เพื่อหาสาร 1-โอเอชพี (1-Hydroxypyrene; 1-OHP) ในปัสสาวะ
ดร.ทิพวรรณ กล่าวว่า สาร 1-โอเอชพี เป็นสารบ่งชี้การรับสัมผัสสารพีเอเอช (Polycyclic aromatic hydrocarbons; PAH) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นสารชนิดเดียวกับที่อยู่ในควันท่อไอเสีย ควันบุหรี่ และไฟป่า โดยสารพิษเหล่านี้จะเกาะ หรือจับตัวกันเป็นอนุภาคฝุ่นละออง และแขวนลอยในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายจากการหายใจ สารกลุ่มนี้มีหลายชนิดที่มีฤทธิ์เป็นสารก่อมะเร็งได้ โดยผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเด็กอนุบาลจาก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีจุดความร้อนมากที่สุด พบนักเรียนมีค่าสาร 1-โอเอชพี เฉลี่ยสูงกว่าอีก 2 กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในพื้นที่ที่ยังไม่เกิดจุดความร้อน โดยสูงกว่าเด็กอนุบาลจากจาก อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7.4 เท่า และสูงกว่า เด็กอนุบาลจาก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ถึง 13 เท่า
ดร.ทิพวรรณ กล่าวว่า เมื่อสำรวจปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อระดับสาร 1-โอเอพี ได้ เช่น จำนวนครัว การเผาในที่โล่งใกล้บ้าน หรือป่า หรือ พื้นที่เกษตรกรรม หรือ โรงงานอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างใน อ.เชียงดาว มีปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าอีก 2 กลุ่มตัวอย่าง นอกจากนี้ เมื่อสำรวจปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมที่จะมีผลต่อระดับสาร 1-โอเอชพี ได้ เช่น การสูบบุหรี่ การใช้ฟืนทำอาหาร วิธีการมาโรงเรียน ความถี่ในการเผาในที่โล่ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างใน อ.เชียงดาว มีความเสี่ยงมากกว่า อีก 2 กลุ่ม ถึง 2 เท่า ทั้งนี้ พบว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณสาร 1-โอเอชพี ในเขตนอกเมืองสูงกว่าในเมือง เพราะประชาชนนิยมสุมกองไฟบริเวณบ้าน และก่อกองไฟเพื่อเผา หรือทำอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง
“ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของครอบครัวกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับการมีระดับสาร 1-โอเอชพี อย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง จะส่งผลต่อสุขภาพในการการรับสารพิษในระยะยาวได้ โดยการวิจัยแม้ว่าจะเป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก แต่สามารถชี้ได้ว่าปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรม ของประชากรที่อยู่นอกเมือง มีความเสี่ยงในการรับสารพิษพีเอเอช ได้มากกว่าประชากรในเมือง ดังนั้น ควรมีการให้ความรู้ประชาชนเพื่อหลีกเลี่ยงการเผาในที่โล่งเพื่อหลีกเลี่ยงการรับสารพิษ” ดร.ทิพวรรณ กล่าว
ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อศึกษาวิจัยเรื่อง “การประเมินการรับสัมผัสสารมลพิษจากสิ่งแวดล้อมในเด็กนักเรียนอนุบาล” โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนอนุบาล อายุระหว่าง 5-6 ปี เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2554 ในพื้นที่ที่มีจุดความร้อน (Hotspots) ซึ่งเก็บข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างจาก 3 อำเภอ ใน จ.เชียงใหม่ คือ อ.เชียงดาว 59 คน เป็นอำเภอที่มีจุดความร้อน เทียบกับ พื้นที่ไม่มีจุดความร้อน ได้แก่ อ.เมือง เชียงใหม่ 50 คน และ อ.สารภี 51 คน เพื่อหาสาร 1-โอเอชพี (1-Hydroxypyrene; 1-OHP) ในปัสสาวะ
ดร.ทิพวรรณ กล่าวว่า สาร 1-โอเอชพี เป็นสารบ่งชี้การรับสัมผัสสารพีเอเอช (Polycyclic aromatic hydrocarbons; PAH) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นสารชนิดเดียวกับที่อยู่ในควันท่อไอเสีย ควันบุหรี่ และไฟป่า โดยสารพิษเหล่านี้จะเกาะ หรือจับตัวกันเป็นอนุภาคฝุ่นละออง และแขวนลอยในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายจากการหายใจ สารกลุ่มนี้มีหลายชนิดที่มีฤทธิ์เป็นสารก่อมะเร็งได้ โดยผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเด็กอนุบาลจาก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีจุดความร้อนมากที่สุด พบนักเรียนมีค่าสาร 1-โอเอชพี เฉลี่ยสูงกว่าอีก 2 กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในพื้นที่ที่ยังไม่เกิดจุดความร้อน โดยสูงกว่าเด็กอนุบาลจากจาก อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7.4 เท่า และสูงกว่า เด็กอนุบาลจาก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ถึง 13 เท่า
ดร.ทิพวรรณ กล่าวว่า เมื่อสำรวจปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อระดับสาร 1-โอเอพี ได้ เช่น จำนวนครัว การเผาในที่โล่งใกล้บ้าน หรือป่า หรือ พื้นที่เกษตรกรรม หรือ โรงงานอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างใน อ.เชียงดาว มีปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าอีก 2 กลุ่มตัวอย่าง นอกจากนี้ เมื่อสำรวจปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมที่จะมีผลต่อระดับสาร 1-โอเอชพี ได้ เช่น การสูบบุหรี่ การใช้ฟืนทำอาหาร วิธีการมาโรงเรียน ความถี่ในการเผาในที่โล่ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างใน อ.เชียงดาว มีความเสี่ยงมากกว่า อีก 2 กลุ่ม ถึง 2 เท่า ทั้งนี้ พบว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณสาร 1-โอเอชพี ในเขตนอกเมืองสูงกว่าในเมือง เพราะประชาชนนิยมสุมกองไฟบริเวณบ้าน และก่อกองไฟเพื่อเผา หรือทำอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง
“ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของครอบครัวกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับการมีระดับสาร 1-โอเอชพี อย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง จะส่งผลต่อสุขภาพในการการรับสารพิษในระยะยาวได้ โดยการวิจัยแม้ว่าจะเป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก แต่สามารถชี้ได้ว่าปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรม ของประชากรที่อยู่นอกเมือง มีความเสี่ยงในการรับสารพิษพีเอเอช ได้มากกว่าประชากรในเมือง ดังนั้น ควรมีการให้ความรู้ประชาชนเพื่อหลีกเลี่ยงการเผาในที่โล่งเพื่อหลีกเลี่ยงการรับสารพิษ” ดร.ทิพวรรณ กล่าว