เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ออกแถลงการณ์ยันผู้หญิงทำแท้งไม่มีความผิดตามกฎหมายทุกกรณี แนะตำรวจทบทวนประสิทธิผลการบังคับใช้กฎหมาย เพราะบุกค้นทีไรก็ไม่พบหลักฐานว่ามาตรการนี้สามารถส่งผลให้การทำแท้งลดลง
สืบเนื่องจากกรณีการตกเป็นข่าวใหญ่ของคู่ดารา “ฮาเวิร์ด-หมวย” ได้ก่อให้เกิดความเข้าใจในสังคมว่าผู้หญิงที่ทำแท้งมีความผิดตามกฎหมายทุกกรณี และผู้ที่ช่วยเหลือให้ทำแท้งอาจมีความผิดไปด้วยนั้น เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม มีความเห็นว่าเป็นการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคม เนื่องจากการทำแท้งมิใช่การกระทำที่ผิดกฎหมายในทุกกรณี อีกทั้งความเข้าใจผิดนี้อาจส่งผลให้ผู้ประสบปัญหาวิกฤตท้องไม่พร้อมต้องเลือก “การทำแท้งเถื่อน” เป็นทางออก ทั้งๆ ที่อาจได้รับบริการทำแท้ง หรือยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกกฎหมายและปลอดภัยต่อสุขภาพและชีวิตได้ ดังนั้น ทางเครือข่ายฯ จึงขอแถลงจุดยืนต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. สื่อมวลชนควรเสนอข้อมูลที่ถูกต้องว่าภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 และข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ได้กำหนดให้แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเป็นผู้ยุติการตั้งครรภ์แก่ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1) การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง
2) การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง
3) ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง
4) การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
5) การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี
6) การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรทบทวนประสิทธิผลของการบังคับใช้กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องทำแท้ง เนื่องจากมีการใช้มาตรการบุกเข้าตรวจค้น/ทลายคลินิกที่ต้องสงสัยมาโดยตลอด แต่ไม่พบหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามาตรการนี้สามารถส่งผลให้การทำแท้งลดลง ในทางตรงกันข้าม การเสนอข่าวว่าจะ “บุกทลาย” โดยไม่แยกแยะก่อนว่าเป็นคลินิกที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่นี้ กลับกลายเป็นแรงผลักให้ผู้ประสบปัญหาต้องหลบเข้าไปสู่บริการใต้ดิน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียสุขภาพและชีวิตมากยิ่งขึ้น
3. รัฐบาลพึงตระหนักและเร่งหาทางแก้ไขต่อกรณีที่โรงพยาบาลจำนวนมากของรัฐ มีข้อจำกัด/ไม่มี บริการยุติการตั้งครรภ์ภายใต้กฎหมาย แม้ว่าบริการนี้จะครอบคลุมภายใต้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพและประกันสังคมก็ตาม ดังจะเห็นได้จากผู้หญิงที่ถูกข่มขืนจำนวนมากต้องเสี่ยงกับการแสวงหาสถานที่ยุติการตั้งครรภ์เอง ทั้งๆ ที่ตนมีสิทธิควรได้รับบริการโดยชอบธรรมจากสถานบริการของรัฐ
4. รัฐบาลควรเป็นเจ้าภาพในการสร้างมาตรการป้องกันการท้องที่ไม่พร้อมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การเข้าถึงอุปกรณ์คุมกำเนิดและป้องกันโรค โดยเน้นให้ทั้งชายและหญิงมีบทบาทรับผิดชอบอย่างเสมอกัน มีบริการปรึกษาทางเลือกที่เป็นมิตรต่อผู้หญิงที่พบวิกฤตท้องไม่พร้อม เสริมสร้างการเข้าถึงบริการที่ปลอดภัย และช่วยเหลือผู้หญิงให้ได้รับการดูแลขณะท้องและหลังคลอดอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เลี้ยงดูบุตรที่เกิดมาในครอบครัวที่ไม่พร้อมได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
ทั้งนี้ นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2553-2557) ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาประชากร “เกิดน้อย แต่ด้อยคุณภาพ....การเกิดที่มีคุณภาพจะต้องเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ที่พร้อมและตั้งใจ” ดังนั้น ทุกฝ่ายในสังคมไทยจึงจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกันเพื่อแก้ไขวิกฤตประชากรนี้ ด้วยการร่วมเดินไปข้างหน้าอย่างเข้าใจต่อปัญหาท้องไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยอย่างถ่องแท้เสียตั้งแต่วันนี้
อนึ่ง เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ประกอบไปด้วยบุคลากรหลายภาคส่วน อาทิ รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิชกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ณัฐยา บุญภักดี มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง ทัศนัย ขันตยาภรณ์ องค์การแพธ เป็นต้น
สืบเนื่องจากกรณีการตกเป็นข่าวใหญ่ของคู่ดารา “ฮาเวิร์ด-หมวย” ได้ก่อให้เกิดความเข้าใจในสังคมว่าผู้หญิงที่ทำแท้งมีความผิดตามกฎหมายทุกกรณี และผู้ที่ช่วยเหลือให้ทำแท้งอาจมีความผิดไปด้วยนั้น เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม มีความเห็นว่าเป็นการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคม เนื่องจากการทำแท้งมิใช่การกระทำที่ผิดกฎหมายในทุกกรณี อีกทั้งความเข้าใจผิดนี้อาจส่งผลให้ผู้ประสบปัญหาวิกฤตท้องไม่พร้อมต้องเลือก “การทำแท้งเถื่อน” เป็นทางออก ทั้งๆ ที่อาจได้รับบริการทำแท้ง หรือยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกกฎหมายและปลอดภัยต่อสุขภาพและชีวิตได้ ดังนั้น ทางเครือข่ายฯ จึงขอแถลงจุดยืนต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. สื่อมวลชนควรเสนอข้อมูลที่ถูกต้องว่าภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 และข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ได้กำหนดให้แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเป็นผู้ยุติการตั้งครรภ์แก่ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1) การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง
2) การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง
3) ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง
4) การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
5) การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี
6) การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรทบทวนประสิทธิผลของการบังคับใช้กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องทำแท้ง เนื่องจากมีการใช้มาตรการบุกเข้าตรวจค้น/ทลายคลินิกที่ต้องสงสัยมาโดยตลอด แต่ไม่พบหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามาตรการนี้สามารถส่งผลให้การทำแท้งลดลง ในทางตรงกันข้าม การเสนอข่าวว่าจะ “บุกทลาย” โดยไม่แยกแยะก่อนว่าเป็นคลินิกที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่นี้ กลับกลายเป็นแรงผลักให้ผู้ประสบปัญหาต้องหลบเข้าไปสู่บริการใต้ดิน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียสุขภาพและชีวิตมากยิ่งขึ้น
3. รัฐบาลพึงตระหนักและเร่งหาทางแก้ไขต่อกรณีที่โรงพยาบาลจำนวนมากของรัฐ มีข้อจำกัด/ไม่มี บริการยุติการตั้งครรภ์ภายใต้กฎหมาย แม้ว่าบริการนี้จะครอบคลุมภายใต้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพและประกันสังคมก็ตาม ดังจะเห็นได้จากผู้หญิงที่ถูกข่มขืนจำนวนมากต้องเสี่ยงกับการแสวงหาสถานที่ยุติการตั้งครรภ์เอง ทั้งๆ ที่ตนมีสิทธิควรได้รับบริการโดยชอบธรรมจากสถานบริการของรัฐ
4. รัฐบาลควรเป็นเจ้าภาพในการสร้างมาตรการป้องกันการท้องที่ไม่พร้อมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การเข้าถึงอุปกรณ์คุมกำเนิดและป้องกันโรค โดยเน้นให้ทั้งชายและหญิงมีบทบาทรับผิดชอบอย่างเสมอกัน มีบริการปรึกษาทางเลือกที่เป็นมิตรต่อผู้หญิงที่พบวิกฤตท้องไม่พร้อม เสริมสร้างการเข้าถึงบริการที่ปลอดภัย และช่วยเหลือผู้หญิงให้ได้รับการดูแลขณะท้องและหลังคลอดอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เลี้ยงดูบุตรที่เกิดมาในครอบครัวที่ไม่พร้อมได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
ทั้งนี้ นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2553-2557) ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาประชากร “เกิดน้อย แต่ด้อยคุณภาพ....การเกิดที่มีคุณภาพจะต้องเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ที่พร้อมและตั้งใจ” ดังนั้น ทุกฝ่ายในสังคมไทยจึงจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกันเพื่อแก้ไขวิกฤตประชากรนี้ ด้วยการร่วมเดินไปข้างหน้าอย่างเข้าใจต่อปัญหาท้องไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยอย่างถ่องแท้เสียตั้งแต่วันนี้
อนึ่ง เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ประกอบไปด้วยบุคลากรหลายภาคส่วน อาทิ รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิชกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ณัฐยา บุญภักดี มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง ทัศนัย ขันตยาภรณ์ องค์การแพธ เป็นต้น