เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม เปิดประชุมเชิงนโยบายการพัฒนาระบบบริการปรึกษาทางเลือก เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงในภาวะวิกฤตท้องไม่พร้อม ซึ่งมีนักวิชาการ ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผู้แทนของศูนย์พึ่งได้จาก 5 โรงพยาบาลนำร่องเข้าร่วมและให้ความเห็นด้วย โดย รศ.กิตติยา อาชวนิจกุล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอการแก้ไขปัญหานี้ ด้วยการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้ผู้หญิงมีทางเลือกและเข้าถึงการทำแท้งที่ปลอดภัย เช่น ควรตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่หากอยู่ในวัยเรียน จะมีโอกาสเรียนต่อหรือไม่ และเรื่องกฎหมาย มีความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย เพราะสามารถทำแท้งได้อย่างปลอดภัย ส่วนกรณีที่ตั้งครรภ์แล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือท้องจากการถูกข่มขืน มีข้อบัญญัติที่ทำได้อย่างถูกต้องอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ปัญหาใหญ่ที่ควรได้รับการแก้ไขคือ ปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลของรัฐปฏิเสธการทำแท้งทุกกรณี จึงต้องทำความเข้าใจในจุดนี้ แม้สังคมต่อต้าน แต่ต้องเดินหน้าเพื่อแก้ปัญหาการทำแท้งเถื่อน เพื่อไม่ให้ปัญหาท้อง แท้ง ทิ้ง แย่ลงมากกว่าเดิม ซึ่งเบื้องต้นต้องมีกระบวนการที่เป็นทางเลือกและทางออกสำหรับผู้หญิงที่ท้องโดยไม่พร้อม และให้ความเป็นธรรมกับผู้หญิงด้วย เพื่อให้ผู้หญิงและเด็กที่เกิดใหม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ส่วนอีกหนึ่งทางเลือกคือ การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างรอบด้าน ให้ความรู้เรื่องคุมกำเนิด เพิ่มระบบช่วยเหลือ เช่น บ้านพักรอคลอด ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงเด็กอ่อน เพื่อให้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมีทางเลือกอย่างถูกต้อง ไม่ต้องเสี่ยงชีวิตจากการทำแท้งเถื่อน
ทั้งนี้ ปัญหาใหญ่ที่ควรได้รับการแก้ไขคือ ปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลของรัฐปฏิเสธการทำแท้งทุกกรณี จึงต้องทำความเข้าใจในจุดนี้ แม้สังคมต่อต้าน แต่ต้องเดินหน้าเพื่อแก้ปัญหาการทำแท้งเถื่อน เพื่อไม่ให้ปัญหาท้อง แท้ง ทิ้ง แย่ลงมากกว่าเดิม ซึ่งเบื้องต้นต้องมีกระบวนการที่เป็นทางเลือกและทางออกสำหรับผู้หญิงที่ท้องโดยไม่พร้อม และให้ความเป็นธรรมกับผู้หญิงด้วย เพื่อให้ผู้หญิงและเด็กที่เกิดใหม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ส่วนอีกหนึ่งทางเลือกคือ การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างรอบด้าน ให้ความรู้เรื่องคุมกำเนิด เพิ่มระบบช่วยเหลือ เช่น บ้านพักรอคลอด ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงเด็กอ่อน เพื่อให้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมีทางเลือกอย่างถูกต้อง ไม่ต้องเสี่ยงชีวิตจากการทำแท้งเถื่อน