ผลวิจัยแม่วัยใส มีเซ็กซ์ครั้งแรกไม่ป้องกัน 33.9% เกือบ 2 ใน 3 ไม่ตั้งใจให้ท้อง แต่พร้อมเตรียมตัวเป็นคุณแม่หลังได้กำลังใจจากคู่รัก พบเพื่อนคือคนที่คุยเรื่องเพศด้วยมากที่สุด สะท้อนมาตรการป้องกันยังไม่พอ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ นักวิชาการ-สสส.เสนอให้ความรู้เรื่องเพศอย่างลึกซึ้ง-รอบด้าน พร้อมจับมือ ก.ศึกษาธิการ พัฒนาหลักสูตรเพศศึกษา สอนจริงจัง เน้นกลุ่มเสี่ยงทั้งชาย-หญิง
ศ.ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (แม่วัยใส) โดยสำรวจหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่มารับบริการด้านสูตินรีเวช ในโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลศูนย์ใน 7 จังหวัด อาทิ กำแพงเพชร นครราชสีมา สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี ฯลฯ จำนวน 3,114 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ 64.9% มาตรวจหลังคลอด 28.2% และมีปัญหาจากการตั้งครรภ์ 6.9% พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ แม่วัยใสส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 15 ปีมากที่สุด และตั้งครรภ์ที่อายุน้อยที่สุด คือ 12 ปี โดยส่วนใหญ่ คือ 62.9% มีแฟนอายุมากกว่าตนเอง อายุเฉลี่ยของผู้ชายที่ 20-30 ปี ทั้งนี้ แม่วัยใสส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด 12.5% มัธยมศึกษาตอนปลาย 7.7% ประถมศึกษา 3.1% ซึ่งการตั้งครรภ์ส่งผลให้แม่วัยใสต้องพักการเรียน/ไม่ได้เรียน 70.3%
“แม่วัยใสส่วนใหญ่ไม่คุมกำเนิดในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 33.9% ส่วนวิธีการคุมกำเนิดที่ใช้มากที่สุดคือถุงยางอนามัย 27.4% โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ถุงยางอนามัยมากที่สุด ส่วนภาคใต้ใช้ถุงยางอนามัยน้อยที่สุด รองลงมาคือ ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน 18.5% และใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด 8.7% อย่างไรก็ตาม แม่วัยใสส่วนใหญ่ไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ถึง 70% โดยแม่วัยใส 92.4% บอกให้แฟนทราบว่าตั้งครรภ์ และอีก 16.2% ต้องปกปิดการตั้งครรภ์กับผู้ปกครอง เพราะกลัวถูกตำหนิ อย่างไรก็ตาม หลังการตั้งครรภ์พบว่าแม่วัยใสส่วนใหญ่ได้รับกำลังใจจากคู่และเตรียมตัวเป็นแม่ของลูก โดยมีเพียง 10% ที่มีปัญหาว่าผู้ชายไม่รับผิดชอบต่อการตั้งครรภ์” ศ.ดร.ศิริพร กล่าว
ศ.ดร.ศิริพร กล่าวต่อว่า จากการสำรวจพบว่า แหล่งความรู้เรื่องเพศของแม่วัยใส หรือการพูดคุยปรึกษาเรื่องเพศ พบว่า เพื่อนหญิงคือแหล่งเรียนรู้เรื่องเพศมากที่สุด 69.4% รองลงมาคือ แฟน 69.1% หนังสือ เรียน 53.7% ครู 50.5% โทรทัศน์ 47.6% หนังสือทั่วไป 41.2% แม่ 35.5% เพื่อนผู้ชาย 35.8% และอินเตอร์เน็ต 29.9% สะท้อนให้เห็นว่า เด็กวัยรุ่นเมื่อมีปัญหามักจะเลือกปรึกษากับเพื่อน หรือค้นหาข้อมูล ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือ อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์
ศ.ดร.ศิริพร กล่าวว่า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นยังไม่เพียงพอ การห้ามมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นไปได้ยาก เนื่องจากวัยรุ่นมีความคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องผิด เพียงแต่ผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย และเห็นว่า การลักลอบมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องท้าทาย และปัจจัยยั่วยุรอบตัว ดังนั้นเด็กผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นเด็กเที่ยว หรือ เด็กเรียน ก็มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน โดยข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา คือ 1.ภาครัฐต้องเร่งผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ ให้สำเร็จ เพื่อให้มีให้ความรู้เรื่องเพศแก้เด็ก และการคุ้มครองและดูแลเด็กที่มีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ 2.สถาบันการศึกษาต้องสนับสนุนให้ครูทุกคนเป็นครูเพศศึกษาให้ความรู้ให้คำแนะนำกับเด็กนักเรียนได้ และ 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประสานความร่วมมือในการทำงานทั้งเชิงนโยบาย การปฏิบัติงานของสหวิชาชีพ การเรียนการสอน การสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อสร้างความเท่าเทียมและสร้างความรับผิดชอบเรื่องเพศวิถี และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนงานภาคสังคม
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาท้องไม่พร้อมของวัยรุ่นมาตลอด ซึ่งในเร็วๆ นี้ สสส.จะผลักดันให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสอนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนทั้งภาค รัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันอาชีวะอย่างจริงจัง ตั้งเป้าให้มีการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษา 1 วิชา ใน 1 ช่วงชั้น (3 ปี เช่น ม.1-ม.3) เพื่อให้เยาวชนไทยมีความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างแท้จริง นอกจากนี้ สสส. ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดโครงการประกวดแผนการเรียนการสอนเพศศึกษา มีโรงเรียนสนใจเสนอแผนการสอนเข้าประกวดมากกว่า 100 แผนงาน ซึ่งจะมีการพิจารณาตัดสินภายในเดือน ก.พ.นี้ โดยแผนงานที่ชนะ ทาง สพฐ.จะนำไปจัดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ในปีการศึกษาหน้าที่จะถึงนี้ โดยเน้นการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาทั้งเรื่องกายภาพ และเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาย และหญิง
ศ.ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (แม่วัยใส) โดยสำรวจหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่มารับบริการด้านสูตินรีเวช ในโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลศูนย์ใน 7 จังหวัด อาทิ กำแพงเพชร นครราชสีมา สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี ฯลฯ จำนวน 3,114 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ 64.9% มาตรวจหลังคลอด 28.2% และมีปัญหาจากการตั้งครรภ์ 6.9% พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ แม่วัยใสส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 15 ปีมากที่สุด และตั้งครรภ์ที่อายุน้อยที่สุด คือ 12 ปี โดยส่วนใหญ่ คือ 62.9% มีแฟนอายุมากกว่าตนเอง อายุเฉลี่ยของผู้ชายที่ 20-30 ปี ทั้งนี้ แม่วัยใสส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด 12.5% มัธยมศึกษาตอนปลาย 7.7% ประถมศึกษา 3.1% ซึ่งการตั้งครรภ์ส่งผลให้แม่วัยใสต้องพักการเรียน/ไม่ได้เรียน 70.3%
“แม่วัยใสส่วนใหญ่ไม่คุมกำเนิดในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 33.9% ส่วนวิธีการคุมกำเนิดที่ใช้มากที่สุดคือถุงยางอนามัย 27.4% โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ถุงยางอนามัยมากที่สุด ส่วนภาคใต้ใช้ถุงยางอนามัยน้อยที่สุด รองลงมาคือ ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน 18.5% และใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด 8.7% อย่างไรก็ตาม แม่วัยใสส่วนใหญ่ไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ถึง 70% โดยแม่วัยใส 92.4% บอกให้แฟนทราบว่าตั้งครรภ์ และอีก 16.2% ต้องปกปิดการตั้งครรภ์กับผู้ปกครอง เพราะกลัวถูกตำหนิ อย่างไรก็ตาม หลังการตั้งครรภ์พบว่าแม่วัยใสส่วนใหญ่ได้รับกำลังใจจากคู่และเตรียมตัวเป็นแม่ของลูก โดยมีเพียง 10% ที่มีปัญหาว่าผู้ชายไม่รับผิดชอบต่อการตั้งครรภ์” ศ.ดร.ศิริพร กล่าว
ศ.ดร.ศิริพร กล่าวต่อว่า จากการสำรวจพบว่า แหล่งความรู้เรื่องเพศของแม่วัยใส หรือการพูดคุยปรึกษาเรื่องเพศ พบว่า เพื่อนหญิงคือแหล่งเรียนรู้เรื่องเพศมากที่สุด 69.4% รองลงมาคือ แฟน 69.1% หนังสือ เรียน 53.7% ครู 50.5% โทรทัศน์ 47.6% หนังสือทั่วไป 41.2% แม่ 35.5% เพื่อนผู้ชาย 35.8% และอินเตอร์เน็ต 29.9% สะท้อนให้เห็นว่า เด็กวัยรุ่นเมื่อมีปัญหามักจะเลือกปรึกษากับเพื่อน หรือค้นหาข้อมูล ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือ อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์
ศ.ดร.ศิริพร กล่าวว่า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นยังไม่เพียงพอ การห้ามมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นไปได้ยาก เนื่องจากวัยรุ่นมีความคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องผิด เพียงแต่ผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย และเห็นว่า การลักลอบมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องท้าทาย และปัจจัยยั่วยุรอบตัว ดังนั้นเด็กผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นเด็กเที่ยว หรือ เด็กเรียน ก็มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน โดยข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา คือ 1.ภาครัฐต้องเร่งผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ ให้สำเร็จ เพื่อให้มีให้ความรู้เรื่องเพศแก้เด็ก และการคุ้มครองและดูแลเด็กที่มีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ 2.สถาบันการศึกษาต้องสนับสนุนให้ครูทุกคนเป็นครูเพศศึกษาให้ความรู้ให้คำแนะนำกับเด็กนักเรียนได้ และ 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประสานความร่วมมือในการทำงานทั้งเชิงนโยบาย การปฏิบัติงานของสหวิชาชีพ การเรียนการสอน การสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อสร้างความเท่าเทียมและสร้างความรับผิดชอบเรื่องเพศวิถี และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนงานภาคสังคม
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาท้องไม่พร้อมของวัยรุ่นมาตลอด ซึ่งในเร็วๆ นี้ สสส.จะผลักดันให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสอนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนทั้งภาค รัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันอาชีวะอย่างจริงจัง ตั้งเป้าให้มีการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษา 1 วิชา ใน 1 ช่วงชั้น (3 ปี เช่น ม.1-ม.3) เพื่อให้เยาวชนไทยมีความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างแท้จริง นอกจากนี้ สสส. ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดโครงการประกวดแผนการเรียนการสอนเพศศึกษา มีโรงเรียนสนใจเสนอแผนการสอนเข้าประกวดมากกว่า 100 แผนงาน ซึ่งจะมีการพิจารณาตัดสินภายในเดือน ก.พ.นี้ โดยแผนงานที่ชนะ ทาง สพฐ.จะนำไปจัดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ในปีการศึกษาหน้าที่จะถึงนี้ โดยเน้นการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาทั้งเรื่องกายภาพ และเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาย และหญิง