กพร.จัดงานวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2 มี.ค.นี้ เทิดพระเกียรติในหลวง “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางวันที่ 1 มี.ค.นี้ เตรียมเพิ่มค่าจ้างมาตรฐานฝีมือบางสาขาให้เป็นวันละ 300 บาท
วันที่ (27 ก.พ.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวในการแถลงข่าวการจัดงานวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ว่า ในวันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จะจัดงานเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย พร้อมทั้งจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะ เพื่อแสดงถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านช่าง
ทั้งนี้ ภายในงานจะเปิดรับสมัครทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ทั่วประเทศ ในอัตราสาขาละ 10 บาท จากปกติ คิดอยู่ที่อัตรา 100-300 บาท ตามระดับขั้นมาตรฐาน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ระหว่างวันที่ 2-4 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในเวลา 10.00-20.00 น.
“การจัดงานครั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่มาร่วมงาน และแรงงานของไทยได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการเป็นผู้มีมาตรฐานในอาชีพต่างๆ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้กำลังแรงงานไทยได้รับการต่อยอดทั้งในเรื่องของค่าจ้าง และอำนาจในการต่อรองที่จะทำงานในสถานประกอบการที่มีมาตรฐานและสวัสดิการที่ดี ขณะเดียวกัน ยังเป็นการรองรับการเปิดเขตการค้าเสรี ในการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ในภูมิภาคอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 ที่จะมีการแข่งขันใน 8 สาขาอาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร การท่องเที่ยวและบริการ” นายเผดิมชัย กล่าว
รมว.แรงงาน กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของสาขาการท่องเที่ยวและบริการนั้น ได้มอบให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ไปยกระดับความสามารถให้แก่กลุ่มมัคคุเทศก์ ทั้งในเรื่องประวัติศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ในการเพิ่มอำนาจการแข่งขันในเรื่องของการบริการ และรองรับนักท่องเที่ยวด้วย ส่วนอีก 1 สาขา ที่ประเทศไทยจะต้องเน้นยกระดับให้มีคุณภาพ และเป็นศูนย์กลางการผลิต คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนในสาขาอื่นๆ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ก็พยายามที่จะทำให้ทุกอาชีพมีมาตรฐาน และสร้างความภูมิใจให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะในสาขาช่าง เนื่องจากมองว่าทุกคนมีความสามารถที่ไม่เท่าเทียมกัน
นายเผดิมชัย กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เพื่อรับทราบและทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่ได้ประกาศบังคับใช้ไปจำนวน 2 ฉบับ ครอบคลุม 22 สาขาอาชีพ เนื่องจากอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่ได้ประกาศไปแล้วนั้น มีอัตราต่ำกว่า 300 บาท ซึ่งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐาน ได้มีการพิจารณาปรับฐานค่าจ้างให้สูงขึ้นเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างร้อยละ 30-39.5 ตามความยากง่ายและสภาพเศรษฐกิจของแต่ละสาขาอาชีพ
“สำหรับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้ ใน 7 จังหวัด และในอีก 70 จังหวัดที่มีการปรับร้อยละ 40 นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการต่างๆ ซึ่งนายจ้างไม่สามารถนำมารวมกัน เพื่อให้เท่ากับอัตราใหม่ที่บังคับใช้ได้ ทั้งนี้ในส่วนของการปรับสวัสดิการต่างๆจะต้องมีการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จึงจะสามารถทำได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน” รมว.แรงงาน กล่าว
วันที่ (27 ก.พ.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวในการแถลงข่าวการจัดงานวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ว่า ในวันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จะจัดงานเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย พร้อมทั้งจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะ เพื่อแสดงถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านช่าง
ทั้งนี้ ภายในงานจะเปิดรับสมัครทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ทั่วประเทศ ในอัตราสาขาละ 10 บาท จากปกติ คิดอยู่ที่อัตรา 100-300 บาท ตามระดับขั้นมาตรฐาน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ระหว่างวันที่ 2-4 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในเวลา 10.00-20.00 น.
“การจัดงานครั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่มาร่วมงาน และแรงงานของไทยได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการเป็นผู้มีมาตรฐานในอาชีพต่างๆ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้กำลังแรงงานไทยได้รับการต่อยอดทั้งในเรื่องของค่าจ้าง และอำนาจในการต่อรองที่จะทำงานในสถานประกอบการที่มีมาตรฐานและสวัสดิการที่ดี ขณะเดียวกัน ยังเป็นการรองรับการเปิดเขตการค้าเสรี ในการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ในภูมิภาคอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 ที่จะมีการแข่งขันใน 8 สาขาอาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร การท่องเที่ยวและบริการ” นายเผดิมชัย กล่าว
รมว.แรงงาน กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของสาขาการท่องเที่ยวและบริการนั้น ได้มอบให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ไปยกระดับความสามารถให้แก่กลุ่มมัคคุเทศก์ ทั้งในเรื่องประวัติศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ในการเพิ่มอำนาจการแข่งขันในเรื่องของการบริการ และรองรับนักท่องเที่ยวด้วย ส่วนอีก 1 สาขา ที่ประเทศไทยจะต้องเน้นยกระดับให้มีคุณภาพ และเป็นศูนย์กลางการผลิต คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนในสาขาอื่นๆ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ก็พยายามที่จะทำให้ทุกอาชีพมีมาตรฐาน และสร้างความภูมิใจให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะในสาขาช่าง เนื่องจากมองว่าทุกคนมีความสามารถที่ไม่เท่าเทียมกัน
นายเผดิมชัย กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เพื่อรับทราบและทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่ได้ประกาศบังคับใช้ไปจำนวน 2 ฉบับ ครอบคลุม 22 สาขาอาชีพ เนื่องจากอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่ได้ประกาศไปแล้วนั้น มีอัตราต่ำกว่า 300 บาท ซึ่งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐาน ได้มีการพิจารณาปรับฐานค่าจ้างให้สูงขึ้นเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างร้อยละ 30-39.5 ตามความยากง่ายและสภาพเศรษฐกิจของแต่ละสาขาอาชีพ
“สำหรับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้ ใน 7 จังหวัด และในอีก 70 จังหวัดที่มีการปรับร้อยละ 40 นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการต่างๆ ซึ่งนายจ้างไม่สามารถนำมารวมกัน เพื่อให้เท่ากับอัตราใหม่ที่บังคับใช้ได้ ทั้งนี้ในส่วนของการปรับสวัสดิการต่างๆจะต้องมีการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จึงจะสามารถทำได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน” รมว.แรงงาน กล่าว