“สุชาติ” ชี้ บริจาคทำได้ตลอดเวลา ไม่มีลูกเข้าเรียนก็บริจาคได้ ยันไม่เคยพูดบริจาคแลกที่นั่ง ด้าน “ชินภัทร” ช่วยการันตี แถเป็นการเปิดโอกาสให้คนพร้อมมีโอกาสเข้ารับบริการการศึกษา ขณะที่ “อำนวย” ย้ำ ฟ้องแน่นอน คาดจะยื่นศาลปกครองอังคาร 21 ก.พ.นี้
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถึงกรณีนโยบายให้โรงเรียนชื่อดังในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณารับนักเรียนที่บริจาคเงินให้กับโรงเรียนโดยให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของโรงเรียน ว่า ตนได้หารือกับ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เรื่องของนโยบายที่ให้โรงเรียนเปิดรับบริจาคเงินได้ โดยให้ผู้อำนวยการโรงเรียนแต่ละแห่งไปพิจารณาเอาเองตามอำนาจของสถานศึกษา ซึ่งผู้บริจาคเงินเข้าโรงเรียนรัฐบาลจะลดภาษีให้กับผู้บริจาคถึง 2 เท่า ซึ่งผู้ที่บริจาคเงินก็เพื่อการศึกษาก็เพื่อให้อนาคตของลูกหลาน ซึ่งตนไม่เคยพูดว่าบริจาคแล้วต้องแลกกับที่นั่ง
ทั้งนี้ คำว่า บริจาค กับ การระดมทรัพยากร น่าจะเป็นไปในเรื่องเดียวกัน แต่คำว่า แปะเจี๊ยะ เป็นการคอร์รัปชัน เป็นการจ่ายเงินใต้โต๊ะ ซึ่งทุกวันนี้เขาก็ทำกันอยู่แล้ว ตนเชื่อว่า ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นคนเรียกเก็บ แต่เป็นพวกไอ้โม่ง ใส่หน้ากากไหมพรมไปแล้ว ก็เรียกเด็กเข้าไปให้จ่ายเงิน เอาเงินเข้ากระเป๋า ตนขอชี้แจงว่า นโยบายการรับนักเรียน หากเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนมีสิทธิ์อยู่แล้ว ตามที่โรงเรียนประกาศไว้ และนโยบายให้นักเรียนสอบเข้าก็ต้องเป็นไปตามสัดส่วน และใครจะบริจาคก็เข้ามาบริจาคได้ตลอด เพราะมีระเบียบของ สพฐ.รองรับ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การบริจาคสามารถทำได้ก่อนหรือหลังการรับนักเรียน นายสุชาติ กล่าวว่า ทำได้ตลอดเวลา ไม่มีลูกเรียนหนังสือก็บริจาคได้ แต่ไม่ใช้เป็นการแลกให้เด็กได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนนั้นๆ เพราะจะเป็นการโกงชนิดหนึ่ง ซึ่งตนไม่อยากที่จะลงรายละเอียดว่าจะบริจาคก่อนหรือหลัง แต่อยากที่จะส่งเสริมให้ประชาชนบริจาคเงินให้สถานศึกษา เพราะปัจจุบันงบประมาณไม่เพียงพอ
ด้าน นายชินภัทร เปิดเผยว่า ตนได้เข้าพบ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อหารือและได้ชี้แจงว่า สพฐ.มีหลักเกณฑ์ให้โรงเรียนที่มีการเปิดห้องเรียนพิเศษอยู่แล้ว สามารถเปิดห้องเรียนพิเศษเพิ่มได้โรงเรียนละ 10% ซึ่งถือเป็นการเพิ่มช่องทางให้โรงเรียนสามารถระดมทรัพยากรเพิ่มเติมได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียกที่อยากได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเต็มที่ ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ก็บอกว่าเป็นความหมายเดียวกันกันนโยบายการรับนักเรียนของตนเอง ที่ต้องการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ไม่ใช่การเรียกขอบริจาคเงินแลกที่นั่งเรียนอย่างที่เข้าใจ
“ความหมายที่ถูกต้องคงไม่ใช่การเรียกบริจาคเงินเพื่อแลกที่นั่งเรียน แต่ถือว่าเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้ที่มีความพร้อมจะรับความบริการทางการศึกษา ได้มีโอกาสเข้าเรียนเพิ่มขึ้น สนองความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียน ส่วนเรื่องการเปิดรับบริจาคของโรงเรียนก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าการบริจาค จะต้องไม่ผูกโยงกับการเข้าเรียน และต้องเปิดรับบริจาคภายหลังจากการรับนักเรียนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ”กล่าวว่าและว่า ทั้งนี้การระดมทรัพยากรจะเหมือนกับการทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือ CSR ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาช่วยระดมเงินเพื่อสังคม ส่วนการบริจาคนั้นก็มีลักษณะคล้ายกันที่ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีอุปการคุณต้องการให้ความสนับสนุนโรงเรียนด้วยความสมัครใจ แต่ทั้งสองรูปแบบจะต้องดำเนินการภายหลังจากการรับนักเรียนเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ กล่าวว่า ตนยืนยันเดินหน้าคัดค้านนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ โดยช่วงเช้าตนได้ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ส่วนที่การดำเนินการฟ้องศาลปกครองนั้น คาดว่า จะไปยื่นฟ้องในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะฟ้องทั้ง รมว.ศึกษาธิการ และ เลขาธิการ กพฐ.
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถึงกรณีนโยบายให้โรงเรียนชื่อดังในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณารับนักเรียนที่บริจาคเงินให้กับโรงเรียนโดยให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของโรงเรียน ว่า ตนได้หารือกับ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เรื่องของนโยบายที่ให้โรงเรียนเปิดรับบริจาคเงินได้ โดยให้ผู้อำนวยการโรงเรียนแต่ละแห่งไปพิจารณาเอาเองตามอำนาจของสถานศึกษา ซึ่งผู้บริจาคเงินเข้าโรงเรียนรัฐบาลจะลดภาษีให้กับผู้บริจาคถึง 2 เท่า ซึ่งผู้ที่บริจาคเงินก็เพื่อการศึกษาก็เพื่อให้อนาคตของลูกหลาน ซึ่งตนไม่เคยพูดว่าบริจาคแล้วต้องแลกกับที่นั่ง
ทั้งนี้ คำว่า บริจาค กับ การระดมทรัพยากร น่าจะเป็นไปในเรื่องเดียวกัน แต่คำว่า แปะเจี๊ยะ เป็นการคอร์รัปชัน เป็นการจ่ายเงินใต้โต๊ะ ซึ่งทุกวันนี้เขาก็ทำกันอยู่แล้ว ตนเชื่อว่า ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นคนเรียกเก็บ แต่เป็นพวกไอ้โม่ง ใส่หน้ากากไหมพรมไปแล้ว ก็เรียกเด็กเข้าไปให้จ่ายเงิน เอาเงินเข้ากระเป๋า ตนขอชี้แจงว่า นโยบายการรับนักเรียน หากเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนมีสิทธิ์อยู่แล้ว ตามที่โรงเรียนประกาศไว้ และนโยบายให้นักเรียนสอบเข้าก็ต้องเป็นไปตามสัดส่วน และใครจะบริจาคก็เข้ามาบริจาคได้ตลอด เพราะมีระเบียบของ สพฐ.รองรับ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การบริจาคสามารถทำได้ก่อนหรือหลังการรับนักเรียน นายสุชาติ กล่าวว่า ทำได้ตลอดเวลา ไม่มีลูกเรียนหนังสือก็บริจาคได้ แต่ไม่ใช้เป็นการแลกให้เด็กได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนนั้นๆ เพราะจะเป็นการโกงชนิดหนึ่ง ซึ่งตนไม่อยากที่จะลงรายละเอียดว่าจะบริจาคก่อนหรือหลัง แต่อยากที่จะส่งเสริมให้ประชาชนบริจาคเงินให้สถานศึกษา เพราะปัจจุบันงบประมาณไม่เพียงพอ
ด้าน นายชินภัทร เปิดเผยว่า ตนได้เข้าพบ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อหารือและได้ชี้แจงว่า สพฐ.มีหลักเกณฑ์ให้โรงเรียนที่มีการเปิดห้องเรียนพิเศษอยู่แล้ว สามารถเปิดห้องเรียนพิเศษเพิ่มได้โรงเรียนละ 10% ซึ่งถือเป็นการเพิ่มช่องทางให้โรงเรียนสามารถระดมทรัพยากรเพิ่มเติมได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียกที่อยากได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเต็มที่ ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ก็บอกว่าเป็นความหมายเดียวกันกันนโยบายการรับนักเรียนของตนเอง ที่ต้องการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ไม่ใช่การเรียกขอบริจาคเงินแลกที่นั่งเรียนอย่างที่เข้าใจ
“ความหมายที่ถูกต้องคงไม่ใช่การเรียกบริจาคเงินเพื่อแลกที่นั่งเรียน แต่ถือว่าเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้ที่มีความพร้อมจะรับความบริการทางการศึกษา ได้มีโอกาสเข้าเรียนเพิ่มขึ้น สนองความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียน ส่วนเรื่องการเปิดรับบริจาคของโรงเรียนก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าการบริจาค จะต้องไม่ผูกโยงกับการเข้าเรียน และต้องเปิดรับบริจาคภายหลังจากการรับนักเรียนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ”กล่าวว่าและว่า ทั้งนี้การระดมทรัพยากรจะเหมือนกับการทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือ CSR ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาช่วยระดมเงินเพื่อสังคม ส่วนการบริจาคนั้นก็มีลักษณะคล้ายกันที่ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีอุปการคุณต้องการให้ความสนับสนุนโรงเรียนด้วยความสมัครใจ แต่ทั้งสองรูปแบบจะต้องดำเนินการภายหลังจากการรับนักเรียนเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ กล่าวว่า ตนยืนยันเดินหน้าคัดค้านนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ โดยช่วงเช้าตนได้ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ส่วนที่การดำเนินการฟ้องศาลปกครองนั้น คาดว่า จะไปยื่นฟ้องในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะฟ้องทั้ง รมว.ศึกษาธิการ และ เลขาธิการ กพฐ.