xs
xsm
sm
md
lg

สธ.บันทึกความร่วมมือ รพ.พื้นที่เสี่ยงรับมือภัยพิบัติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รมว.สธ มอบอุปกรณ์สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์-รถพยาบาลฉุกเฉินหกล้อ กับโรงพยาบาลพื้นที่เสี่ยง หวังกระจายความพร้อมสู่พื้นที่ พร้อมลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อตรียมรับมือภัยพิบัติอย่างมีศักยภาพ

ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และกระทรวงสาธารณสุข จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการสนับสนุนรถพยาบาลฉุกเฉินยกสูง 6 ล้อ พร้อมระบบสื่อสาร, อุปกรณ์ทางการแพทย์ประจำเฮลิคอปเตอร์, อุปกรณ์สำหรับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วตอบโต้ภัยพิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ โดยมีนพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการ สพฉ.และ นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนาม พร้อมกันนี้ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบอุปกรณ์สนับสนุนทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานที่มีพื้นที่เสี่ยง

นายวิทยา บุรณศิริ กล่าวว่าการมอบอุปกรณ์สนับสนุนทางการแพทย์นี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่า จากภัยพิบัติที่ผ่านมาการช่วยเหลือและลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นไปด้วยความยากลำบาก และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงพื้นที่ รวมทั้งขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งเป็นเสมือนหัวใจหลักในการช่วยชีวิตผู้ ป่วยฉุกเฉินให้รอดและปลอดภัย ดังนั้น สพฉ.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ประสานความร่วมมือ กับหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นพันธมิตร รวมทั้งจัดสรรงบประมาณ กระจายความพร้อมสู่พื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ที โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง คือ รถพยาบาลฉุกเฉิน 6 ล้อ พร้อมระบบสื่อสาร, อุปกรณ์ ทางการแพทย์ประจำเฮลิคอปเตอร์ และอุปกรณ์สำหรับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วตอบโต้ภัยพิบัติ

สำหรับรถพยาบาลฉุกเฉิน 6 ล้อ พร้อมระบบสื่อสารจำนวน 4 คัน จะใช้ในพื้นที่เข้าถึงลำบาก เช่นเหตุการณ์น้ำท่วม โดยได้กระจายไปใน 4 ภาค เพื่อความครอบคลุมและทั่วถึง คือ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี และโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก

ส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ประจำเฮลิคอปเตอร์ อาทิ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องมือวัดสัญญาณชีพ เครื่องดูดเสมหะ ได้จัดสรรให้กับหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมเบื้องต้น และมีความพร้อมเป็นศูนย์กลางในการลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศยาน รวมทั้ง สามารถออกปฏิบัติการช่วยเหลือหากเกิดภัยพิบัติในเขตพื้นที่ใกล้เคียงได้ จำนวน 10 ชุด คือ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน, โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่, โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี, โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก, โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จ.นครราชสีมา, โรงพยาบาลอุดรธานี จ.อุดรธานี, โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี, โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จ.ภูเก็ต, โรงพยาบาลปัตตานี จ.ปัตตานี และโรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ ได้จัดสรรอุปกรณ์สำหรับชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วตอบโต้ภัยพิบัติ หรือ Disaster Medical Emergency Response Team : DMERT อาทิ เต็นท์สนาม เครื่องปั่นไฟ เตียงโรงพยาบาลสนาม เครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องช่วยหายใจ ชุดแผ่นกระดาษรองหลังเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เครื่องดูดของเหลว ระบบวิทยุสื่อสาร ซึ่งการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อความพร้อมเพื่อการรับมือภัยพิบัติ และทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินมีประสิทธิภาพ

ด้าน นพ.ชาตรี กล่าวว่า สพฉ.จะพัฒนาทีม DMERT โดยตั้งเป้าให้มี 18 ทีมทุกเขตทั่วประเทศ ซึ่งทีมดังกล่าวจะเป็นทีมเคลื่อนที่เร็วที่พร้อมออกปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับการประสานขอความช่วยเหลือ เพื่อให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างถูกต้อง มีมาตรฐาน และทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งในทีมจะประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ 11 คน คือ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณภัย หรือแพทย์ทั่วไป จำนวน 2 คน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินหรือสาธารณภัย จำนวน 4 คน เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (EMT-I) เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน หรือผู้ช่วยพยาบาล 2 คน และ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ หรืออาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (FR) 3 คน โดยสามารถดำรงชีวิตและช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยไม่ต้องพึ่งพาพื้นที่เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินโดยจัดสรรให้ 18 หน่วยงานที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งในเดือนมีนาคมนี้ จะมีการคัดเลือกและจัดอบรมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วรองรับภัยพิบัติต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น