สธ. เร่งเดินหน้านโยบายอาหารปลอดภัย ตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตไปจนถึงเสิร์ฟบนโต๊ะอาหาร ย้ำสาธารณสุขทุกแห่งคุมมาตรฐานเข้มข้น เพื่อให้อาหารปลอดภัย 100% พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารฮาลาลที่สำคัญของโลก ส่งออกตลาดโลกมุสลิมกว่า 2,000 ล้านคน
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมอาหารและวัฒนธรรมมุสลิมไทย ครั้งที่ 4 ที่มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่า ในปี 2555 กระทรวงฯ มุ่งเน้นการรณรงค์และเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษตกค้าง ยาปฏิชีวนะ และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่นเดียวกับอาหารส่งออก โดยจะดูแลตั้งแต่แหล่งผลิต กระบวนการผลิต จนถึงบนโต๊ะอาหาร (From farm to table) โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารปนเปื้อนครอบคลุมทั้งตลาดสด ซูเปอร์มาร์เก็ต รถเร่ ตลาดนัดทุกหมู่บ้าน โดยเน้นตรวจความปลอดภัยอาหาร-น้ำรวม 8 ประเภท ได้แก่ 1.สารบอแรกซ์ 2.สารฟอกขาว 3.สารกันรา 4.ฟอร์มาลิน 5.สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 6.สารเร่งเนื้อแดง 7.สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และ 8. น้ำแข็ง ไอศกรีม น้ำดื่มทั้งบรรจุขวด และน้ำจากตู้หยอดเหรียญ
“ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนามาตรฐานความสะอาดของตลาดสด 808 แห่ง ปรากฏผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อแล้วร้อยละ 87 ส่วนร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อยร้อยละ 88 จากที่มีทั้งหมด 78,929 ร้าน และได้เก็บอาหารเพื่อตรวจสารปนเปื้อนที่กล่าวมา รวมทั้งหมด 435,740 ตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 96 อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย มีการปนเปื้อนเพียง 15,241 ตัวอย่าง โดยตรวจพบจุลินทรีย์ในอาหารพร้อมบริโภค/น้ำดื่ม/น้ำแข็ง/ไอศกรีม มากที่สุด ซึ่งแสดงถึงว่ากระบานการผลิตยังไม่สะอาดเท่าที่ควร ได้เร่งรัดให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดดำเนินการควบคุมมาตรฐานเข้มงวด เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย 100%” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า สำหรับในส่วนของอาหารฮาลาล (Halal Food) ซึ่งเป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัติของอิสลาม และประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกมุสลิมที่มีประชากรประมาณ 2,000 ล้านคน ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ กระทรวงสาธารณสุขจะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ โดยเน้นการผลิตอาหารอาหารฮาลาลปลอดภัย ให้อาหารของไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมก็สามารถบริโภคอาหารฮาลาลได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะอาหารฮาลาลต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ปราศจากสิ่งต้องห้ามและมีคุณค่าทางอาหาร เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้อย่างสนิทใจ โดยสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้น
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมอาหารและวัฒนธรรมมุสลิมไทย ครั้งที่ 4 ที่มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่า ในปี 2555 กระทรวงฯ มุ่งเน้นการรณรงค์และเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษตกค้าง ยาปฏิชีวนะ และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่นเดียวกับอาหารส่งออก โดยจะดูแลตั้งแต่แหล่งผลิต กระบวนการผลิต จนถึงบนโต๊ะอาหาร (From farm to table) โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารปนเปื้อนครอบคลุมทั้งตลาดสด ซูเปอร์มาร์เก็ต รถเร่ ตลาดนัดทุกหมู่บ้าน โดยเน้นตรวจความปลอดภัยอาหาร-น้ำรวม 8 ประเภท ได้แก่ 1.สารบอแรกซ์ 2.สารฟอกขาว 3.สารกันรา 4.ฟอร์มาลิน 5.สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 6.สารเร่งเนื้อแดง 7.สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และ 8. น้ำแข็ง ไอศกรีม น้ำดื่มทั้งบรรจุขวด และน้ำจากตู้หยอดเหรียญ
“ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนามาตรฐานความสะอาดของตลาดสด 808 แห่ง ปรากฏผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อแล้วร้อยละ 87 ส่วนร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อยร้อยละ 88 จากที่มีทั้งหมด 78,929 ร้าน และได้เก็บอาหารเพื่อตรวจสารปนเปื้อนที่กล่าวมา รวมทั้งหมด 435,740 ตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 96 อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย มีการปนเปื้อนเพียง 15,241 ตัวอย่าง โดยตรวจพบจุลินทรีย์ในอาหารพร้อมบริโภค/น้ำดื่ม/น้ำแข็ง/ไอศกรีม มากที่สุด ซึ่งแสดงถึงว่ากระบานการผลิตยังไม่สะอาดเท่าที่ควร ได้เร่งรัดให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดดำเนินการควบคุมมาตรฐานเข้มงวด เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย 100%” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า สำหรับในส่วนของอาหารฮาลาล (Halal Food) ซึ่งเป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัติของอิสลาม และประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกมุสลิมที่มีประชากรประมาณ 2,000 ล้านคน ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ กระทรวงสาธารณสุขจะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ โดยเน้นการผลิตอาหารอาหารฮาลาลปลอดภัย ให้อาหารของไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมก็สามารถบริโภคอาหารฮาลาลได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะอาหารฮาลาลต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ปราศจากสิ่งต้องห้ามและมีคุณค่าทางอาหาร เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้อย่างสนิทใจ โดยสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้น