นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมอาหารและวัฒนธรรมมุสลิมไทย ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นในวันนี้ (21 ม.ค.) ที่มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ว่า ในปี 2555 นี้กระทรวงสาธารณสุขมุ่งเน้นการรณรงค์และเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษตกค้าง ยาปฏิชีวนะ และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่นเดียวกับอาหารส่งออก โดยจะดูแลตั้งแต่แหล่งผลิต กระบวนการผลิต จนถึงบนโต๊ะอาหาร (From farm to table) โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารปนเปื้อนครอบคลุมทั้งตลาดสด ซุปเปอร์มาร์เก็ต รถเร่ ตลาดนัดทุกหมู่บ้าน โดยเน้นตรวจความปลอดภัยอาหาร-น้ำ รวม 8 ประเภท ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สารเร่งเนื้อแดง สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และ น้ำแข็ง ไอศกรีม น้ำดื่มทั้งบรรจุขวด และน้ำจากตู้หยอดเหรียญ
สำหรับอาหารฮาลาล (Halal Food) ซึ่งเป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัติของอิสลาม และประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกมุสลิมที่มีประชากรประมาณ 2,000 ล้านคน ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ กระทรวงสาธารณสุขจะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ โดยเน้นการผลิตอาหารอาหารฮาลาลปลอดภัย ให้อาหารของไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับอาหารฮาลาล (Halal Food) ซึ่งเป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัติของอิสลาม และประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกมุสลิมที่มีประชากรประมาณ 2,000 ล้านคน ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ กระทรวงสาธารณสุขจะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ โดยเน้นการผลิตอาหารอาหารฮาลาลปลอดภัย ให้อาหารของไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ