ประธานสภา นร.ปี 54 เชื่อ ไทยยังไม่พร้อมเข้าประชาคมอาเซียน ชี้ 3 ปีนี้ควรมีระบบการศึกษาที่ดีและชัดเจน ขณะที่ตัวแทน นร.ภาคอีสาน ติงรัฐจัดการศึกษาไม่ทั่วถึง เด็กชายขอบ และเด็กไร้สัญชาติ และมักเชิดชูเด็กเก่ง แล้วมองข้ามเด็กไม่เก่ง
วันนี้ (11 ม.ค.) ที่โรงแรมอเล็กซานเดอร์ ถนนรามคำแหง นายวิบูลย์ แช่มชื่น ผู้ช่วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสภานักเรียน ประจำปี 2555 ระดับประเทศ ในหัวข้อเรื่อ “สภานักเรียนไทยก้าวไกลสู่อาเซียน” โดยมีตัวแทนนักเรียนจากทุกจังหวัด จำนวน 78 คน ตัวแทนนักเรียนพิการ 12 คน ตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 4 คน และครูที่ปรึกษา 94 คน รวมผู้ร่วมประชุมทั้งสิ้น 188 คน
นายวิบูลย์ กล่าวว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มปลูกฝังความคิด และทักษะการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชนเป็นพื้นฐาน และการดำเนินงานตามโครงการสภานักเรียนจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนานักเรียนเพื่อให้มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่สังคมได้อย่างมั่นคงและมีความสุข และการอยู่ร่วมกันโดยใช้วิถีประชาธิปไตยที่ถูกต้อง การดำรงตนอยู่ในสังคมโดยเคารพกฎกติกาของสังคม นักเรียนควรได้รับการอบรม ปลูกฝังให้เกิดการซึมซับอย่างค่อยเป็นค่อยไป และส่งเสริมกิจกรรมค่านิยมและการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เด็กไทยควรพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา อันดับแรก ภาษาไทยจะต้องชัดเจน เพราะเป็นภาษาประจำชาติ และสามารถใช้ภาษาภาษาอังกฤษได้ เพราะกฎบัตรของอาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารของประชาคมอาเซียน หรือเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านเพิ่มเติม เช่น พม่า เวียดนาม ตากาล็อก ก็จะเป็นกำไร เพราะในอนาคตประเทศในอาเซียนจะต้องมีการติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น
ด้าน นายสหราช จันทร์ลุน นักเรียนโรงเรียนขามแก่นนคร จ.ขอนแก่น ตัวแทนนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนไทยที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ก็อยากให้คำนึงถึงเด็กไร้สัญชาติ และเด็กชายขอบด้วย เพราะส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา และเมื่อเด็กกลุ่มนี้ขาดโอกาสทางการศึกษาแล้วสังคมก็จะถูกมองว่าเป็นเด็กมีปัญหา ซึ่งจริงๆ แล้วเด็กกลุ่มนี้ไม่ใช่เป็นเด็กมีปัญหา แต่เพียงแค่เขาถูกสังคมกีดกัน ซึ่งที่ผ่านมา ระดับผู้บริหารอาจจะลงไปไม่ถึง หรือมองไม่เห็นปัญหา เพราะฉะนั้น จึงอยากให้การศึกษาเจาะลึกลงไปว่าปัญหาคืออะไร และควรมีระบบการดูแลด้านการศึกษาของเยาวชนให้เข้มกว่านี้ เพราะอยากให้การศึกษาทั่วถึงกับเด็กชายขอบ เด็กไร้สัญชาติ หรือเด็กในบางพื้นที่ที่ยังขาดโอกาส
“โดยวนตัวผมมองว่า เราจะเชิดชูเด็กเก่ง และมองข้ามเด็กไม่เก่ง ผมจึงอยากให้มองว่าเด็กไม่เก่งแต่เขาอาจจะมีความสามารถที่นำมาใช้ได้จริง ซึ่งการศึกษาหากเรามองแค่ว่าเด็กเก่งคณิตคือ คนเก่ง ส่วนคนที่ไม่เก่งคณิตเป็นเด็กโง่และมองข้ามไป ดังนั้น ถ้ามีโอกาสผมจึงอยากให้การจัดการศึกษาทั่วถึงทุกกลุ่มและทุกพื้นที่ ที่ผ่านมารัฐบาลก็จัดการศึกษาได้ดี แต่คิดว่ายังคงมีข้อบกพร่อง และการจัดสรรงบประมาณลงไปยังโรงเรียนต่างในพื้นที่แล้วก็อยากให้มีการสรุปผลการดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายนั้นให้รัฐบาล โดยมีนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในการสรุปผลนั้นด้วยเพื่อจะได้ทราบข้อมูล”
ด้าน นายวรวงษ์ ศรีเชียงสา นักเรียนชั้น ม.6 ร.ร.ขามแก่นนคร ในฐานะประสภานักเรียน ปี 2554 กล่าวเพิ่มเติม ว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ถ้าในช่วงปี 2555-2558 ระบบการศึกษามีรูปแบบที่ดีและชัดเจนทั้งโรงเรียนในเมืองและในชนบท เช่น สื่อการเรียนการสอนที่ดี ซึ่งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนถือเป็นเรื่องดี เพราะจะช่วยบีบให้การศึกษาไทยพัฒนาความพร้อมได้อีกทาง ที่สำคัญ ในปี 2558 อาเซียนจะบอกประเทศไทยได้ดีว่ามีความรู้ในการจัดการศึกษาได้ดีเพียงใด ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ก็อยากให้มีวันนักเรียน เพื่อจัดให้นักเรียนได้มีโอกาสมาเจอกันเพื่อแสดงความคิดเห็น และให้สภานักเรียนมีบทบาท หรือเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลได้
วันนี้ (11 ม.ค.) ที่โรงแรมอเล็กซานเดอร์ ถนนรามคำแหง นายวิบูลย์ แช่มชื่น ผู้ช่วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสภานักเรียน ประจำปี 2555 ระดับประเทศ ในหัวข้อเรื่อ “สภานักเรียนไทยก้าวไกลสู่อาเซียน” โดยมีตัวแทนนักเรียนจากทุกจังหวัด จำนวน 78 คน ตัวแทนนักเรียนพิการ 12 คน ตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 4 คน และครูที่ปรึกษา 94 คน รวมผู้ร่วมประชุมทั้งสิ้น 188 คน
นายวิบูลย์ กล่าวว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มปลูกฝังความคิด และทักษะการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชนเป็นพื้นฐาน และการดำเนินงานตามโครงการสภานักเรียนจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนานักเรียนเพื่อให้มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่สังคมได้อย่างมั่นคงและมีความสุข และการอยู่ร่วมกันโดยใช้วิถีประชาธิปไตยที่ถูกต้อง การดำรงตนอยู่ในสังคมโดยเคารพกฎกติกาของสังคม นักเรียนควรได้รับการอบรม ปลูกฝังให้เกิดการซึมซับอย่างค่อยเป็นค่อยไป และส่งเสริมกิจกรรมค่านิยมและการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เด็กไทยควรพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา อันดับแรก ภาษาไทยจะต้องชัดเจน เพราะเป็นภาษาประจำชาติ และสามารถใช้ภาษาภาษาอังกฤษได้ เพราะกฎบัตรของอาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารของประชาคมอาเซียน หรือเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านเพิ่มเติม เช่น พม่า เวียดนาม ตากาล็อก ก็จะเป็นกำไร เพราะในอนาคตประเทศในอาเซียนจะต้องมีการติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น
ด้าน นายสหราช จันทร์ลุน นักเรียนโรงเรียนขามแก่นนคร จ.ขอนแก่น ตัวแทนนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนไทยที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ก็อยากให้คำนึงถึงเด็กไร้สัญชาติ และเด็กชายขอบด้วย เพราะส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา และเมื่อเด็กกลุ่มนี้ขาดโอกาสทางการศึกษาแล้วสังคมก็จะถูกมองว่าเป็นเด็กมีปัญหา ซึ่งจริงๆ แล้วเด็กกลุ่มนี้ไม่ใช่เป็นเด็กมีปัญหา แต่เพียงแค่เขาถูกสังคมกีดกัน ซึ่งที่ผ่านมา ระดับผู้บริหารอาจจะลงไปไม่ถึง หรือมองไม่เห็นปัญหา เพราะฉะนั้น จึงอยากให้การศึกษาเจาะลึกลงไปว่าปัญหาคืออะไร และควรมีระบบการดูแลด้านการศึกษาของเยาวชนให้เข้มกว่านี้ เพราะอยากให้การศึกษาทั่วถึงกับเด็กชายขอบ เด็กไร้สัญชาติ หรือเด็กในบางพื้นที่ที่ยังขาดโอกาส
“โดยวนตัวผมมองว่า เราจะเชิดชูเด็กเก่ง และมองข้ามเด็กไม่เก่ง ผมจึงอยากให้มองว่าเด็กไม่เก่งแต่เขาอาจจะมีความสามารถที่นำมาใช้ได้จริง ซึ่งการศึกษาหากเรามองแค่ว่าเด็กเก่งคณิตคือ คนเก่ง ส่วนคนที่ไม่เก่งคณิตเป็นเด็กโง่และมองข้ามไป ดังนั้น ถ้ามีโอกาสผมจึงอยากให้การจัดการศึกษาทั่วถึงทุกกลุ่มและทุกพื้นที่ ที่ผ่านมารัฐบาลก็จัดการศึกษาได้ดี แต่คิดว่ายังคงมีข้อบกพร่อง และการจัดสรรงบประมาณลงไปยังโรงเรียนต่างในพื้นที่แล้วก็อยากให้มีการสรุปผลการดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายนั้นให้รัฐบาล โดยมีนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในการสรุปผลนั้นด้วยเพื่อจะได้ทราบข้อมูล”
ด้าน นายวรวงษ์ ศรีเชียงสา นักเรียนชั้น ม.6 ร.ร.ขามแก่นนคร ในฐานะประสภานักเรียน ปี 2554 กล่าวเพิ่มเติม ว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ถ้าในช่วงปี 2555-2558 ระบบการศึกษามีรูปแบบที่ดีและชัดเจนทั้งโรงเรียนในเมืองและในชนบท เช่น สื่อการเรียนการสอนที่ดี ซึ่งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนถือเป็นเรื่องดี เพราะจะช่วยบีบให้การศึกษาไทยพัฒนาความพร้อมได้อีกทาง ที่สำคัญ ในปี 2558 อาเซียนจะบอกประเทศไทยได้ดีว่ามีความรู้ในการจัดการศึกษาได้ดีเพียงใด ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ก็อยากให้มีวันนักเรียน เพื่อจัดให้นักเรียนได้มีโอกาสมาเจอกันเพื่อแสดงความคิดเห็น และให้สภานักเรียนมีบทบาท หรือเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลได้