บอร์ด สปสช.เลือกคณะอนุกรรมการ 12 ชุด แต่ต้องสรรหารายชื่อก่อนเสนอบอร์ดต้น ก.พ.นี้ “นิมิตร” มั่นใจ ไม่เก็บสามารถเก็บ 30 บาทได้ เหตุยังมีดีเบตกันยาว เชื่อคำ “นายกฯ” ย้ำ หากระบบบริการไม่มีคุณภาพไม่เดินหน้า
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์ว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีการพิจารณาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในการทำงานด้านต่างๆ ทั้งหมด 12 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการด้านบริหารยุทธศาสตร์ 2.คณะอนุกรรมการเพื่อการพัฒนาสิทธิประโยชน์และการบริการ 3.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง 4.คณะอนุกรรมการประเมินผลระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5.คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกรณีอุทธรณ์ 6.คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาและบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ 7.คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 8.คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า 9.คณะอนุกรรมการตรวจสอบ (มาตรา 21) 10.คณะอนุกรรมการธรรมาภิบาล 11.คณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วม และการคุ้มครองสิทธิ และ 12.คณะอนุกรรมการทบทวนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (เฉพาะกิจ) ซึ่งทั้งหมดได้มอบหมายให้คณะทำงาน โดย นายจรัล ตฤนวุฒิพงศ์ กรรมการบอร์ด สปสช.สาขาแพทย์และสาธารณสุข เป็นประธานคณะทำงานไปดำเนินการเพิ่มเติมถึงรายละเอียดรายชื่อกรรมการ และให้เสนอในการประชุมครั้งต่อไปในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์
ต่อข้อถามว่า กรณีที่ นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้บอร์ด สปสช.พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ดีกว่าเดิมก่อนเก็บ 30 บาท นพ.วินัย กล่าวว่า ยังไม่มีวาระดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนายกฯมอบนโยบายบอร์ด สปสช.ก็จะต้องไปหารือในการดำเนินการ นอกจากนี้ ในกรณีที่นายกฯต้องการให้ 3 กองทุน ทั้งระบบหลักประกันสุขภาพฯ ระบบประกันสังคม ระบบสิทธิสวัสดิการข้าราชการ รวมทั้งกระทรวงมหาดไทย มาหารือกันว่าจะทำอย่างไรให้ทุกระบบมีสิทธิการรักษาที่เท่าเทียม ตรงนี้ต้องมาดูว่านิยามของคำ สิทธิขั้นพื้นฐาน คืออะไร มีอะไรบ้าง ซึ่งคงต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหารืออีกครั้ง
ขณะที่ นายนิมิตร เทียนอุดม กรรมการ สปสช.สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า กรณีเรียกเก็บ 30 บาท ตนเชื่อว่า รัฐบาลไม่มีทางเก็บแน่นอน เนื่องจากในการประชุมมีการถกเถียงมาก เพราะกรรมการที่เป็นแพทย์ส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่ทางภาคประชาชนยังคงคัดค้าน เนื่องจากเชื่อว่ายังมีนัยยะทางการเมืองที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ โดยส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรจะสร้างแบรนด์ใหม่ตามคำของนายกฯ ที่ระบุว่า เน้นบริการสาธาณสุขที่เท่าเทียม ซึ่งดีกว่ากลับมาใช้แบรนด์เก่า ซึ่งชัดเจนว่าเหลื่อมล้ำ แต่เหตุผลที่ทำให้มั่นใจว่า รัฐบาลอาจไม่เก็บ 30 บาท เนื่องจากตอนที่นายกฯ มอบนโยบายในการประชุมที่ผ่านมา ระบุว่า หากบริการสาธารณสุขยังไม่มีคุณภาพดีพอก็ไม่ควรเรียกเก็บเงินใดๆ
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์ว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีการพิจารณาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในการทำงานด้านต่างๆ ทั้งหมด 12 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการด้านบริหารยุทธศาสตร์ 2.คณะอนุกรรมการเพื่อการพัฒนาสิทธิประโยชน์และการบริการ 3.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง 4.คณะอนุกรรมการประเมินผลระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5.คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกรณีอุทธรณ์ 6.คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาและบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ 7.คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 8.คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า 9.คณะอนุกรรมการตรวจสอบ (มาตรา 21) 10.คณะอนุกรรมการธรรมาภิบาล 11.คณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วม และการคุ้มครองสิทธิ และ 12.คณะอนุกรรมการทบทวนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (เฉพาะกิจ) ซึ่งทั้งหมดได้มอบหมายให้คณะทำงาน โดย นายจรัล ตฤนวุฒิพงศ์ กรรมการบอร์ด สปสช.สาขาแพทย์และสาธารณสุข เป็นประธานคณะทำงานไปดำเนินการเพิ่มเติมถึงรายละเอียดรายชื่อกรรมการ และให้เสนอในการประชุมครั้งต่อไปในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์
ต่อข้อถามว่า กรณีที่ นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้บอร์ด สปสช.พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ดีกว่าเดิมก่อนเก็บ 30 บาท นพ.วินัย กล่าวว่า ยังไม่มีวาระดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนายกฯมอบนโยบายบอร์ด สปสช.ก็จะต้องไปหารือในการดำเนินการ นอกจากนี้ ในกรณีที่นายกฯต้องการให้ 3 กองทุน ทั้งระบบหลักประกันสุขภาพฯ ระบบประกันสังคม ระบบสิทธิสวัสดิการข้าราชการ รวมทั้งกระทรวงมหาดไทย มาหารือกันว่าจะทำอย่างไรให้ทุกระบบมีสิทธิการรักษาที่เท่าเทียม ตรงนี้ต้องมาดูว่านิยามของคำ สิทธิขั้นพื้นฐาน คืออะไร มีอะไรบ้าง ซึ่งคงต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหารืออีกครั้ง
ขณะที่ นายนิมิตร เทียนอุดม กรรมการ สปสช.สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า กรณีเรียกเก็บ 30 บาท ตนเชื่อว่า รัฐบาลไม่มีทางเก็บแน่นอน เนื่องจากในการประชุมมีการถกเถียงมาก เพราะกรรมการที่เป็นแพทย์ส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่ทางภาคประชาชนยังคงคัดค้าน เนื่องจากเชื่อว่ายังมีนัยยะทางการเมืองที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ โดยส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรจะสร้างแบรนด์ใหม่ตามคำของนายกฯ ที่ระบุว่า เน้นบริการสาธาณสุขที่เท่าเทียม ซึ่งดีกว่ากลับมาใช้แบรนด์เก่า ซึ่งชัดเจนว่าเหลื่อมล้ำ แต่เหตุผลที่ทำให้มั่นใจว่า รัฐบาลอาจไม่เก็บ 30 บาท เนื่องจากตอนที่นายกฯ มอบนโยบายในการประชุมที่ผ่านมา ระบุว่า หากบริการสาธารณสุขยังไม่มีคุณภาพดีพอก็ไม่ควรเรียกเก็บเงินใดๆ