xs
xsm
sm
md
lg

พบปี 53 มีผู้ป่วยสมองเสื่อม 35 ล้านรายทั่วโลก เตรียมประชุมนานาชาติพัฒนาคุณภาพชีวิต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
พบผู้ป่วยสมองเสื่อมในปี 53 ทั่้วโลก 35 ล้านราย ขณะไทยสุ่มตรวจคัดกรองผู้มีอายุ 60 ปี กว่า 2 หมื่นราย ระหว่างปี 51-52 พบภาวะสมองเสื่อม 12.4%

วันนี้ (5 ม.ค.) สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ร่วมกับเครือข่ายภาคีกว่า 50 องค์กร แถลงข่าวเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงวิชาการ เรื่อง ภาวะสมองเสื่อม และการประชุมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ขององค์การอัลไซเมอร์นานาชาติ ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสมองเสื่อม และครอบครัวให้ดีขึ้น และผลักดันการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมให้เป็นนโยบายสุขภาพระดับชาติ

พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม กล่าวว่า รายงานขององค์การโรคอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ ปี 2553 ระบุว่า มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลกมากกว่า 35 ล้านคน อยู่ในเอเชีย 2.4 ล้านคน ในประเทศไทยจากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 โดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุุข ทำการสำรวจประชาชนจำนวน 21,960 คน มีผู้ที่อายุมากว่า 60 ปีขึ้นไป จำนวน 9,720 คน พบว่า มีภาวะสมองเสื่อม 12.4% โดยในผู้ชายพบ 9.8% ผู้หญิง 15.1% แบ่งตามช่วงอายุ 60-69 ปี อยู่ที่ 7.1% อายุ 70-79 ปี อยู่ที่ 14.7% และอายุ 80 ปี พบสูงถึง 32.5% ขณะที่ผลการสำรวจประชากรสูงอายุ ปี พ.ศ.2553 สัดส่วนผู้สูงอายุอยู่ที่ 12% และประมาณการว่า จะเพิ่มขึ้นถึง 17% ในปี 2563 โโยประมาณแล้วผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในไทยมีประมาณ 3 แสนราย ถือว่าเป็นตัวเลขทีี่ไม่น้อย และที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ป่วยรวมทั้งญาติและคนในครอบครัวไม่ทราบว่าป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม พร้อมทั้งในปี 2555 นี้ สมาคมซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมอัลไซเมอร์นานาชาติ (ADI) ได้รับเป็นเจ้าภาพในการประชุมทางวิชาการ เรื่องภาวะสมองเสื่อมและการประชุมภาคพื้นเอเชียนแปซิฟิกขององค์การอัลไซเมอร์นานาชาติ ครั้งที่ 14

“การประชุมครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เครือข่ายผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ดูแลและครอบครัวของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม อาสาสมัครสาธารณสุข สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เครือข่ายภาคประชาสังคม สื่อมวลชน นิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชนที่สนใจ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การประชุมวิชาการ สำหรับภาคสมาชิกขขององค์กรอัลไซเมอร์ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะมุ่งเน้นเนื้อหาวิชาการด้านการป้องกัน การวินิจฉัยเบื้องต้น การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม การทำเวิร์กชอปและการนำเสนอรายงานภายใต้แนวคิด “ร่วมมือร่วมใจต้านภัยสมองเสื่อม (it's Time for Action) และอีกส่วนหนึ่ง คือ นิทรรศการรักและเข้าใจ ห่วงใยผู้ป่วยสมองเสื่อมจัดขึ้นเพื่อภาคประชาชน โดยได้เชิญเครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมในการใช้สื่อนวัตกรรม การถามตอบ การสาธิต การทดสอบต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกัน และชะลออาการสมองเสื่อม การคัดกรอง การรักษาและการดูแล ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ครอบครัวสามารถเสริมพลังให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมได้ โดยได้รับการสนับสนุนด้านความรู้และประสบการณ์จากหน่วยงานเครือข่าย อาทิ นวัตกรรมเพื่อการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิกระจกเงา” นายกสมาคม กล่าว

พญ.สิรินทร กล่าวเสริมว่า หากจะให้ปัญหาเรื่องผู้ป่วยสมองเสื่อมดีขึ้น ควรจะหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นโดยการลดการทานอาหารหวานและมันจัด ทานข้าว และผักเยอะๆ ออกกำลังกายเพียงแค่เดินขึ้นลงบันไดก็ช่วยได้ แต่สำหรับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยหากไม่เข้าใจโรคควรจะไปปรึกาาแพทย์เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมและเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น เพราะผู้ป่วยสมองเสื่อมต้องการการดูแลเอาใจใส่มากกว่าการทานยาเพราะยาช่วยให้อาการของโรคทรงตัวเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้เท่านั้น

รศ.ดร.มานะ ศรียุทธศักดิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมในเรื่องของนวัตกรรมในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วยเมื่อหายไปจากที่พัก ว่า “เมื่อผู้ป่วยออกไปจากบ้าน มักจะประสบกับอุบัติเหตุและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น ในกรณีของอุทกภัย พบว่า มีผู้ป่วยหายไปจากบ้านเป็นจำนวนมาก บางรายก็พบแต่บางรายก็หาไม่พบเนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะตามหา ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงหารือกับสมาคม ประดิษฐ์นวัตกรรมที่จะช่วยตามหาผู้ป่วยเมื่อหาไป โดยจะมี 3 แบบดังนี้ เหรียญสำหรับห้อยคอ การ์ด ริสต์แบนด์ ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้จะมีโค้ด และ ชิป ซึ่งข้อมูลภายในจะเป็นข้อมูลเบื้องต้น เช่น อายุ กรุ๊ปเลือด ยาที่แพ้ ข้อมูลนี้สำหรับประชาชนทั่วไปที่พบผู้ป่วย แต่หากเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาคมจะเป็นข้อมูลของผู้ป่วยที่ลึกว่านี้ ที่ต้องแบ่งแยก ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันอันตรายทีีจะเกิดกับผู้ป่วยและผู้ที่ดูแล
กำลังโหลดความคิดเห็น