สปส.เดินหน้าหาพันธมิตรร่วมผลิตแพทย์-พยาบาล รักษาผู้ประกันตนในพื้นที่ขาดแคลน ประเดิมให้ทุนรุ่นแรกเดือน พ.ค.ปี 55
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.รง.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้มอบนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ช่วยเหลือสังคมโดยร่วมมือกับสถาบันผลิตแพทย์ในการผลิตแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญโรคเฉพาะทางในรูปแบบของการให้ทุนผลิตแพทย์และพยาบาล ขณะนี้ สปส.ได้เสนอโครงการดังกล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ตนขอไปศึกษารายละเอียดก่อน
“โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ผมอยากให้เกิดขึ้นเพื่อให้บุตรหลานของผู้ประกันที่ได้รับทุนเรียนต่อแพทย์ได้มีการศึกษาที่ดีและกลับไปดูแลผู้ประกันตนในพื้นที่ของตนเอง” รมว.รง.กล่าว
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสปส. กล่าวว่า เบื้องต้นคาดไว้ว่าน่าจะให้ทุนแพทย์จำนวน 20 ทุน และพยาบาลทุนละกว่า 1 แสนบาท จำนวน 100 ทุนโดยตั้งเป้าหมายจะให้ทุนในช่วงเดือน พ.ค.ปี 2555
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส.กล่าวว่า ความร่วมมือในการผลิตแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ระหว่างกับโรงพยาบาลต่างๆ ขึ้นอยู่กับสาขาแพทย์และพยาบาลที่ขาดแคลนโดยยึดตามพื้นที่มีผู้ประกันตนอาศัยอยู่จำนวนมากซึ่งมีความต้องการแพทย์ในสาขาขาดแคลน ได้แก่ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ทางสมอง แพทย์ทางประสาท แพทย์ผ่าตัดซึ่งโรงพยาบาลทั่วประเทศก็ขาดแคลนโดยเฉพาะในเมืองใหญ่
ทั้งนี้ เบื้องต้นไว้วางร่างหลักเกณฑ์คุณสมบัติของแพทย์และพยาบาลที่จะได้รับทุนนั้น จะต้องเป็นบุตรหลานของผู้ประกันตนโดยกำหนดไว้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.ให้ทุนหลังจากสอบเข้าเรียนต่อแพทย์หรือพยาบาลได้แล้ว 2.เจรจากับสถาบันผลิตแพทย์ให้มีการเพิ่มโควตาสำหรับโครงการนี้ รวมทั้งมีเงื่อนไขว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องทำงานในโรงพยาบาลของสปส.ที่มีผู้ประกันตนจำนวนมาก
สำหรับในรูปแบบแรกก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มจำนวนนักเรียนแพทย์โดยเป็นไปตามการผลิตแพทย์ตามปกติเพียงแต่ สปส.เข้าไปให้ทุน ส่วนรูปแบบที่สอง จะทำให้จำนวนแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถาบันผลิตแพทย์ว่ามีศักยภาพผลิตแพทย์พยาบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมได้หรือไม่ ส่วนต้นทุนการผลิตแพทย์อยู่ที่ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อคน ซึ่งถือเป็นเงินที่ไม่มาก
“ปัญหาการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้อยู่ที่งบประมาณ แต่อยู่ที่การนำระเบียบในการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปใช้ไม่เอื้อให้นำเงินไปใช้ เนื่องจากระเบียบ สปส.กำหนดไว้ว่าจะต้องเงินประกันสังคมไปใช้ในภารกิจของประกันสังคมที่กฎหมายระบุไว้ ทั้งนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการผลิตแพทย์ไม่ใช่ภาระของ สปส.ซึ่งจะต้องไปหารือกับฝ่ายกฎหมายของ สปส.ในการนำเงินของประกันสังคมไปใช้ในการผลิตแพทย์และพยาบาลโดยไม่ผิดระเบียบของ สปส.อย่างไรก็ตาม จะหารือกับเลขาธิการ สปส.และ รมว.รง.ให้ได้ข้อสรุป เพื่อให้ดำเนินการได้ทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ในเดือนพ.ค.ปี 2555” นพ.สุรเดช กล่าว
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.รง.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้มอบนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ช่วยเหลือสังคมโดยร่วมมือกับสถาบันผลิตแพทย์ในการผลิตแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญโรคเฉพาะทางในรูปแบบของการให้ทุนผลิตแพทย์และพยาบาล ขณะนี้ สปส.ได้เสนอโครงการดังกล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ตนขอไปศึกษารายละเอียดก่อน
“โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ผมอยากให้เกิดขึ้นเพื่อให้บุตรหลานของผู้ประกันที่ได้รับทุนเรียนต่อแพทย์ได้มีการศึกษาที่ดีและกลับไปดูแลผู้ประกันตนในพื้นที่ของตนเอง” รมว.รง.กล่าว
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสปส. กล่าวว่า เบื้องต้นคาดไว้ว่าน่าจะให้ทุนแพทย์จำนวน 20 ทุน และพยาบาลทุนละกว่า 1 แสนบาท จำนวน 100 ทุนโดยตั้งเป้าหมายจะให้ทุนในช่วงเดือน พ.ค.ปี 2555
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส.กล่าวว่า ความร่วมมือในการผลิตแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ระหว่างกับโรงพยาบาลต่างๆ ขึ้นอยู่กับสาขาแพทย์และพยาบาลที่ขาดแคลนโดยยึดตามพื้นที่มีผู้ประกันตนอาศัยอยู่จำนวนมากซึ่งมีความต้องการแพทย์ในสาขาขาดแคลน ได้แก่ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ทางสมอง แพทย์ทางประสาท แพทย์ผ่าตัดซึ่งโรงพยาบาลทั่วประเทศก็ขาดแคลนโดยเฉพาะในเมืองใหญ่
ทั้งนี้ เบื้องต้นไว้วางร่างหลักเกณฑ์คุณสมบัติของแพทย์และพยาบาลที่จะได้รับทุนนั้น จะต้องเป็นบุตรหลานของผู้ประกันตนโดยกำหนดไว้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.ให้ทุนหลังจากสอบเข้าเรียนต่อแพทย์หรือพยาบาลได้แล้ว 2.เจรจากับสถาบันผลิตแพทย์ให้มีการเพิ่มโควตาสำหรับโครงการนี้ รวมทั้งมีเงื่อนไขว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องทำงานในโรงพยาบาลของสปส.ที่มีผู้ประกันตนจำนวนมาก
สำหรับในรูปแบบแรกก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มจำนวนนักเรียนแพทย์โดยเป็นไปตามการผลิตแพทย์ตามปกติเพียงแต่ สปส.เข้าไปให้ทุน ส่วนรูปแบบที่สอง จะทำให้จำนวนแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถาบันผลิตแพทย์ว่ามีศักยภาพผลิตแพทย์พยาบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมได้หรือไม่ ส่วนต้นทุนการผลิตแพทย์อยู่ที่ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อคน ซึ่งถือเป็นเงินที่ไม่มาก
“ปัญหาการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้อยู่ที่งบประมาณ แต่อยู่ที่การนำระเบียบในการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปใช้ไม่เอื้อให้นำเงินไปใช้ เนื่องจากระเบียบ สปส.กำหนดไว้ว่าจะต้องเงินประกันสังคมไปใช้ในภารกิจของประกันสังคมที่กฎหมายระบุไว้ ทั้งนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการผลิตแพทย์ไม่ใช่ภาระของ สปส.ซึ่งจะต้องไปหารือกับฝ่ายกฎหมายของ สปส.ในการนำเงินของประกันสังคมไปใช้ในการผลิตแพทย์และพยาบาลโดยไม่ผิดระเบียบของ สปส.อย่างไรก็ตาม จะหารือกับเลขาธิการ สปส.และ รมว.รง.ให้ได้ข้อสรุป เพื่อให้ดำเนินการได้ทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ในเดือนพ.ค.ปี 2555” นพ.สุรเดช กล่าว