เลขาธิการ สปส.ยันไม่ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาบริหารการลงทุนประกันสังคม ชี้ ลงทุนได้กำไรตามเกณฑ์ โว ม.ค.-เม.ย.2554 ฟันกำไรกว่า 1.1 หมื่นล้าน เตรียมเลิกสัญญาจ้าง 3 บริษัทเอกชน เหตุลงทุนไม่ได้กำไรตามเป้า
วันนี้ (30 พ.ค.) นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข้อเสนอของหลายฝ่ายที่ให้จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาบริหารกองทุนประกันสังคม เพื่อให้กองทุนมีผลกำไรมากขึ้น ว่า ตามกฎหมายประกันสังคมกำหนดให้ใช้เงินกองทุน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 8.4 แสนล้านบาท มาลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 60 ของเงินกองทุนทั้งหมด หรือประมาณ 4.8 แสนล้านบาท แต่ สปส.นำเงินกองทุนประกันสังคมมาลงทุนร้อยละ 80 ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือประมาณ 6.4 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนที่ไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ฯลฯ และลงทุนในลักษณะเสี่ยงขาดทุน 1.6 แสนล้านบาท เช่น ซื้อหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
ทั้งนี้ ในปี 2551 กองทุนประกันสังคมได้กำไร 2.4 หมื่นล้านบาท ปี 2552 ได้กำไร 2.8 หมื่นล้านบาท ปี 2553 ได้กำไร 3.3 หมื่นล้านบาท และปี 2554 ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้เงินตอบแทนแล้ว 1.1 หมื่นล้านบาท โดยผลกำไรทั้งหมดจะนำมาใส่ไว้ในกองทุนประกันสังคมเพื่อไว้เป็นเงินบำเหน็จและบำนาญชราภาพ
เลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า การบริหารเงินกองทุนประกันสังคมในปัจจุบันนั้น สปส.ใช้วิธีการจ้างบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยการทำสัญญาจ้างและให้นำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะต้องทำกำไรให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด หากภายใน 2 ปีลงทุนแล้วไม่ได้กำไรตามเกณฑ์ จะถูกยกเลิกสัญญา
ขณะนี้ สปส.ทำสัญญาจ้างอยู่ 5 บริษัท โดยกระจายเงินประกันสังคมให้แก่บริษัทเหล่านี้นำไปลงทุนบริษัทละ 6 พันล้านบาท และมีบริษัทที่ลงทุนแล้วทำกำไรได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 2 บริษัท ส่วนอีก 3 บริษัททำกำไรได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จึงกำลังจะถูกยกเลิกสัญญา
“ข้อเสนอที่ให้จ้างมืออาชีพมาดูแลการลงทุนเงินประกันสังคมเพื่อให้มีผลกำไรมากขึ้น ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ยาก เพราะมืออาชีพที่จ้างมาบริหารเขาไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเวลาเงินกองทุนประกันสังคมขาดทุน แต่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบก็คือ สปส.ผมจึงคิดว่าระบบการลงทุนของประกันสังคมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ผลดีพอสมควร” นายปั้น กล่าว
วันนี้ (30 พ.ค.) นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข้อเสนอของหลายฝ่ายที่ให้จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาบริหารกองทุนประกันสังคม เพื่อให้กองทุนมีผลกำไรมากขึ้น ว่า ตามกฎหมายประกันสังคมกำหนดให้ใช้เงินกองทุน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 8.4 แสนล้านบาท มาลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 60 ของเงินกองทุนทั้งหมด หรือประมาณ 4.8 แสนล้านบาท แต่ สปส.นำเงินกองทุนประกันสังคมมาลงทุนร้อยละ 80 ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือประมาณ 6.4 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนที่ไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ฯลฯ และลงทุนในลักษณะเสี่ยงขาดทุน 1.6 แสนล้านบาท เช่น ซื้อหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
ทั้งนี้ ในปี 2551 กองทุนประกันสังคมได้กำไร 2.4 หมื่นล้านบาท ปี 2552 ได้กำไร 2.8 หมื่นล้านบาท ปี 2553 ได้กำไร 3.3 หมื่นล้านบาท และปี 2554 ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้เงินตอบแทนแล้ว 1.1 หมื่นล้านบาท โดยผลกำไรทั้งหมดจะนำมาใส่ไว้ในกองทุนประกันสังคมเพื่อไว้เป็นเงินบำเหน็จและบำนาญชราภาพ
เลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า การบริหารเงินกองทุนประกันสังคมในปัจจุบันนั้น สปส.ใช้วิธีการจ้างบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยการทำสัญญาจ้างและให้นำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะต้องทำกำไรให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด หากภายใน 2 ปีลงทุนแล้วไม่ได้กำไรตามเกณฑ์ จะถูกยกเลิกสัญญา
ขณะนี้ สปส.ทำสัญญาจ้างอยู่ 5 บริษัท โดยกระจายเงินประกันสังคมให้แก่บริษัทเหล่านี้นำไปลงทุนบริษัทละ 6 พันล้านบาท และมีบริษัทที่ลงทุนแล้วทำกำไรได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 2 บริษัท ส่วนอีก 3 บริษัททำกำไรได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จึงกำลังจะถูกยกเลิกสัญญา
“ข้อเสนอที่ให้จ้างมืออาชีพมาดูแลการลงทุนเงินประกันสังคมเพื่อให้มีผลกำไรมากขึ้น ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ยาก เพราะมืออาชีพที่จ้างมาบริหารเขาไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเวลาเงินกองทุนประกันสังคมขาดทุน แต่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบก็คือ สปส.ผมจึงคิดว่าระบบการลงทุนของประกันสังคมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ผลดีพอสมควร” นายปั้น กล่าว