“วิทยา” ลงนามความร่วมมือ 6 ประเทศ ลุ่มน้ำโขง แก้ปัญหาโรคเอดส์และเอชไอวี กลุ่มประชากรเคลื่อนย้าย เชื่อ ไทยได้ประโยชน์ เหตุแรงงานจากต่างประเทศเข้าสู่ไทยจำนวนมาก พ่วงปัญหาความยากในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข เสี่ยงรับและแพร่เชื้อง่าย
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ว่า ในการเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ จีเอ็มเอส (GMS:Greater Mekong Subregion) ครั้งที่ 4 ที่กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ ไทย ว่า ด้วยการปฏิบัติการร่วมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีจากการเคลื่อนย้ายประชากร ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ว่า จากความร่วมมือดังกล่าวเป็นความริเริ่มของผู้รับผิดชอบโครงการโรคเอดส์ในแต่ละประเทศ ที่เสนอต่อธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยได้ประชุมร่วมกันพิจารณาและเห็นชอบในรายละเอียดของบันทึกความเข้าใจฯ นี้ตั้งแต่ พ.ศ.2552 จนถึงวันลงนาม รวมทั้งหมด 4 ครั้ง โดยมีสาระความร่วมมือ ใน 3ประเด็น ได้แก่ 1.การสนับสนุนให้เกิดนโยบายที่เอื้อต่อการแก้ปัญหา 2.การสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3.ส่งเสริมการเข้าถึงการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ การรักษา การดูแล เพื่อช่วยเหลือกลุ่มแรงงานข้ามชาติและประชากรเคลื่อนย้าย รวมถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี (ADB: ASIAN Development Bank) เป็นองค์กรหลักในการสนับสนุนแผนงานที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการลงนามดังกล่าว ซึ่งจะมีการกำหนดแผนปฏิบัติการร่วมกันต่อไป
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ประเทศไทย จะได้รับประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันของทั้ง 6 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้มีแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย และได้รับอนุญาตให้ทำงานชั่วคราวตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี 2553 จำนวน 1,335,155 คน ในจำนวนนี้ มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง เนื่องจากขาดการเข้าถึงบริการด้านการป้องกัน ดูแลรักษาด้วยข้อจำกัดต่างๆ นอกจากนี้ ผลจากการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มแรงงานข้ามชาติพบมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 1 และป่วยด้วยโรคเอดส์เข้ารักษาในโรงพยาบาลรัฐจำนวน 2,900 คน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกเพื่อการต่อสู้โรคเอดส์ วัณโรค และ มาลาเรีย ที่ผ่านมา ไทยในฐานะประเทศสมาชิกได้มีการร่วมมือกันหลายด้าน โดยงานด้านสาธารณสุขจะอยู่ภายใต้แผนงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขไทย ได้ร่วมมือและให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการฝึกอบรม การจัดระบบเฝ้าระวังโรค รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ และ เอช ไอวีแก่ประเทศสมาชิก
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ว่า ในการเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ จีเอ็มเอส (GMS:Greater Mekong Subregion) ครั้งที่ 4 ที่กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ ไทย ว่า ด้วยการปฏิบัติการร่วมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีจากการเคลื่อนย้ายประชากร ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ว่า จากความร่วมมือดังกล่าวเป็นความริเริ่มของผู้รับผิดชอบโครงการโรคเอดส์ในแต่ละประเทศ ที่เสนอต่อธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยได้ประชุมร่วมกันพิจารณาและเห็นชอบในรายละเอียดของบันทึกความเข้าใจฯ นี้ตั้งแต่ พ.ศ.2552 จนถึงวันลงนาม รวมทั้งหมด 4 ครั้ง โดยมีสาระความร่วมมือ ใน 3ประเด็น ได้แก่ 1.การสนับสนุนให้เกิดนโยบายที่เอื้อต่อการแก้ปัญหา 2.การสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3.ส่งเสริมการเข้าถึงการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ การรักษา การดูแล เพื่อช่วยเหลือกลุ่มแรงงานข้ามชาติและประชากรเคลื่อนย้าย รวมถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี (ADB: ASIAN Development Bank) เป็นองค์กรหลักในการสนับสนุนแผนงานที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการลงนามดังกล่าว ซึ่งจะมีการกำหนดแผนปฏิบัติการร่วมกันต่อไป
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ประเทศไทย จะได้รับประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันของทั้ง 6 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้มีแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย และได้รับอนุญาตให้ทำงานชั่วคราวตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี 2553 จำนวน 1,335,155 คน ในจำนวนนี้ มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง เนื่องจากขาดการเข้าถึงบริการด้านการป้องกัน ดูแลรักษาด้วยข้อจำกัดต่างๆ นอกจากนี้ ผลจากการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มแรงงานข้ามชาติพบมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 1 และป่วยด้วยโรคเอดส์เข้ารักษาในโรงพยาบาลรัฐจำนวน 2,900 คน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกเพื่อการต่อสู้โรคเอดส์ วัณโรค และ มาลาเรีย ที่ผ่านมา ไทยในฐานะประเทศสมาชิกได้มีการร่วมมือกันหลายด้าน โดยงานด้านสาธารณสุขจะอยู่ภายใต้แผนงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขไทย ได้ร่วมมือและให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการฝึกอบรม การจัดระบบเฝ้าระวังโรค รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ และ เอช ไอวีแก่ประเทศสมาชิก