บอร์ดค่าจ้างเมินกระแสฟ้องเลื่อนขึ้นค่าจ้าง ยันบังคับใช้ 1 เม.ย.55 คงเดิม เตรียมเชิญสภานายจ้างฯ-สภาอุตฯ ถกนอกรอบ หากมีเหตุผลอันควรก็อาจเลื่อนกรอบเวลาได้ คาดประชุมบอร์ดนัดหน้าหยิบประเด็นขอเลื่อนปรับค่าจ้างมาหารือ
วันที่ (21 ธ.ค.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน และกรรมการค่าจ้างฝ่ายรัฐ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมในวันนี้ ไม่ได้มีการลงมติใดๆ ขณะนี้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ของค่าจ้างในทุกจังหวัด ยังเป็นไปตามเดิมในวันที่ 1 เม.ย.2555 เนื่องจากได้มีการประกาศในราชกิจจานุเษกษาไปเรียบร้อยแล้วยกเว้นแต่มีเหตุผลที่สมควรจึงจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็เป็นเพียงกรอบเวลาในการดำเนินการเท่านั้น เพราะการปรับขึ้นค่าจ้าง 40% เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการตามที่ได้มีการประกาศไว้
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พูดคุยถึงข้อเสนอแนะของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ที่ขอให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ของค่าจ้างในปัจจุบัน จากวันที่ 1 เม.ย.55 ไปเป็น 1 ม.ค.2556 เนื่องจากสถานประกอบการในหลายพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในการประชุมครั้งหน้า บอร์ดค่าจ้างคงจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือกัน และปลัดกระทรวงแรงงานคงจะเชิญสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มาหารือนอกรอบถึงผลดีผลเสียของการเลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
“เมื่อสภาองค์การนายจ้างฯ และสภาอุตฯ มีข้อเสนอแนะเข้ามา บอร์ดค่าจ้างก็คงจะต้องรับฟังถึงเหตุผลของแต่ละฝ่าย หากจะต้องขยายเวลาการปรับค่าจ้างออกไป ก็จะต้องมีเหตุผลอันสมควร ซึ่งก็เข้าใจว่า ฝ่ายนายจ้างก็มีความกังวลในเรื่องนี้ แต่ออกมาเสนอแนะนั้นเป็นภาพกว้าง ไม่ได้มีการลงไปที่รายละเอียด ดังนั้น เชื่อว่าหากได้มีการพูดคุยกันก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น” นายอาทิตย์ กล่าว
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี และ นครราชสีมา รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือใน 6 กลุ่มสาขาอาชีพ ได้แก่ กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์, กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ, กลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล, กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์, กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง และกลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ
นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ประธานสมาคมนายจ้างผู้ประกอบการค้าขนมไทย ในฐานะกรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือมาถึงบอร์ดค่าจ้าง เพื่อขอให้มีการพิจารณาเลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจากวันที่ 1 เม.ย.2555 ออกไปเป็นวันที่ 1 ม.ค.2556 แต่เนื่องจาก นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานบอร์ดค่าจ้าง ติดราชการไม่สามารถร่วมประชุมได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงเสนอให้เป็นการรับทราบข้อเสนอดังกล่าว เพื่อให้ประธานบอร์ดค่าจ้างได้นำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งคาดว่า จะเป็นวันที่ 4 ม.ค.2555
“ส่วนกระแสข่าวที่สภาอุตฯเตรียมฟ้องศาลปกครองให้ระงับการบังคับใช้การปรับขึ้นค่าจ้าง น่าจะเป็นเรื่องของแต่ละองค์กรไปฟ้องร้องเอง หากมีการฟ้องร้องจริง ผมก็ต้องเป็นจำเลยร่วม และที่ผ่านมาสภาอุตฯ ก็ไม่ได้มาหารือกับผม” นายอรรถยุทธ กล่าว
วันที่ (21 ธ.ค.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน และกรรมการค่าจ้างฝ่ายรัฐ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมในวันนี้ ไม่ได้มีการลงมติใดๆ ขณะนี้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ของค่าจ้างในทุกจังหวัด ยังเป็นไปตามเดิมในวันที่ 1 เม.ย.2555 เนื่องจากได้มีการประกาศในราชกิจจานุเษกษาไปเรียบร้อยแล้วยกเว้นแต่มีเหตุผลที่สมควรจึงจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็เป็นเพียงกรอบเวลาในการดำเนินการเท่านั้น เพราะการปรับขึ้นค่าจ้าง 40% เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการตามที่ได้มีการประกาศไว้
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พูดคุยถึงข้อเสนอแนะของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ที่ขอให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ของค่าจ้างในปัจจุบัน จากวันที่ 1 เม.ย.55 ไปเป็น 1 ม.ค.2556 เนื่องจากสถานประกอบการในหลายพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในการประชุมครั้งหน้า บอร์ดค่าจ้างคงจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือกัน และปลัดกระทรวงแรงงานคงจะเชิญสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มาหารือนอกรอบถึงผลดีผลเสียของการเลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
“เมื่อสภาองค์การนายจ้างฯ และสภาอุตฯ มีข้อเสนอแนะเข้ามา บอร์ดค่าจ้างก็คงจะต้องรับฟังถึงเหตุผลของแต่ละฝ่าย หากจะต้องขยายเวลาการปรับค่าจ้างออกไป ก็จะต้องมีเหตุผลอันสมควร ซึ่งก็เข้าใจว่า ฝ่ายนายจ้างก็มีความกังวลในเรื่องนี้ แต่ออกมาเสนอแนะนั้นเป็นภาพกว้าง ไม่ได้มีการลงไปที่รายละเอียด ดังนั้น เชื่อว่าหากได้มีการพูดคุยกันก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น” นายอาทิตย์ กล่าว
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี และ นครราชสีมา รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือใน 6 กลุ่มสาขาอาชีพ ได้แก่ กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์, กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ, กลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล, กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์, กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง และกลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ
นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ประธานสมาคมนายจ้างผู้ประกอบการค้าขนมไทย ในฐานะกรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือมาถึงบอร์ดค่าจ้าง เพื่อขอให้มีการพิจารณาเลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจากวันที่ 1 เม.ย.2555 ออกไปเป็นวันที่ 1 ม.ค.2556 แต่เนื่องจาก นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานบอร์ดค่าจ้าง ติดราชการไม่สามารถร่วมประชุมได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงเสนอให้เป็นการรับทราบข้อเสนอดังกล่าว เพื่อให้ประธานบอร์ดค่าจ้างได้นำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งคาดว่า จะเป็นวันที่ 4 ม.ค.2555
“ส่วนกระแสข่าวที่สภาอุตฯเตรียมฟ้องศาลปกครองให้ระงับการบังคับใช้การปรับขึ้นค่าจ้าง น่าจะเป็นเรื่องของแต่ละองค์กรไปฟ้องร้องเอง หากมีการฟ้องร้องจริง ผมก็ต้องเป็นจำเลยร่วม และที่ผ่านมาสภาอุตฯ ก็ไม่ได้มาหารือกับผม” นายอรรถยุทธ กล่าว