“เผดิมชัย” มั่นใจแรงงานกระทบน้ำท่วมตกงานไม่ถึงล้านคน สั่งหน่วยงานในกระทรวงแรงงาน ผนึกกำลังช่วยเหลือรักษาสภาพจ้างงาน หางานให้ทำ สั่ง กสร.รวบรวมปัญหาแรงงานน้ำท่วม หากผลกระทบแรงงานหนัก อาจให้ สปส.ทบทวนชงบอร์ดของบประกันสังคมช่วยแรงงานน้ำท่วมรายละ 3 พันบาท ด้านปลัดแรงงานเตรียมหารือบอร์ดประกันสังคม 27 ธ.ค.นี้
วานนี้ (16 ธ.ค.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “กระทรวงแรงงานห่วงใย ใส่ใจ ผู้ใช้แรงงาน” บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ว่า รัฐบาลพยายามที่จะให้มีการจ้างงานต่อ โดยนำมาตรการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างด้วยการช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้าง 2,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน ซึ่งมีเงื่อนไขนายจ้างต้องทำข้อตกลงกับกระทรวงแรงงานว่า จะต้องไม่เลิกจ้าง และต้องจ่ายค่าจ้าง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างเดิม รวมถึงโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนให้แรงงานที่ได้รับกระทบน้ำท่วมไปทำงานในจังหวัดอื่นที่ไม่ประสบน้ำท่วม ซึ่งมีตำแหน่งงานรองรับกว่า 7.7 หมื่นอัตรา
“จ.ปทุมธานี ถือว่าเป็นจังหวัดตัวอย่างที่นายจ้างให้ความสำคัญ และร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการบรรเทาการเลิกจ้างกว่าร้อยละ 90 ดังนั้น ผมมั่นใจว่าจะไม่มีผู้ใช้แรงงานตกงานเป็นล้านตามที่หลายฝ่ายกังวล เพราะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน นายจ้างและลูกจ้าง หากแรงงานประสบปัญหาเช่น ถูกเลิกจ้างไม่ได้รับเงินชดเชย ตกงาน ก็ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือโทร.สายด่วน 1546, 1506 เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือ” รมว.รง.กล่าว
นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมบางส่วนตกสำรวจ และติดต่อนายจ้างไม่ได้ หยุดงานและไม่ได้รับค่าจ้าง ก็ได้กำชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) ดูแลกลุ่มนี้ให้เข้มข้นขึ้น เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย อีกทั้งยังได้ให้ กสร. รวบรวมปัญหาต่างๆ ของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
“หากพบว่ามีแรงงานได้รับผลกระทบในลักษณะดังกล่าวจำนวนมากก็จะมอบให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือ หรืออาจนำแนวคิดเดิมที่จะมีการนำงบบริหารจัดการของสปส.มาจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือให้กับแรงงานโดยตรงรายละ 3,000 บาท อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมก่อน” รมว.รง.กล่าว
นายดำรงค์ เปรมสวัสดิ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า โดยภาพรวมใน จ.ปทุมธานี มีแรงงานได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 4 แสนคน ในสถานประกอบการกว่า 1 หมื่นแห่ง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแรงงานรับเหมาช่วง (ซัปคอนแทรก)กว่า 3 หมื่นคน และกลับเข้าทำงานแล้วกว่า 3 แสนคน แรงงานถูกเลิกจ้าง 6,407 คน ในสถานประกอบการ 14 แห่ง มีการจ่ายเงินชดเชยรวมกว่า 221 ล้านบาท
“ได้มีแรงงานที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมาขอความช่วยเหลือในกรณีต่างๆ เช่น ติดต่อนายจ้างไม่ได้ หยุดงาน และไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งได้ช่วยเจรจากับนายจ้างเพื่อให้แรงงานเหล่านี้ได้รับค่าจ้างและได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายกรณีถูกเลิกจ้าง ส่วนการป้องกันการเลิกจ้างนั้นได้พยายามเชิญนายจ้างให้เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของกระทรวงแรงงาน” นายดำรงค์ กล่าว
นางสมปอง ศรประยูร วัย 36 ปี พนักงานบริษัท วู๊ดล๊อค จำกัด ผลิตไม้สำเร็จรูป อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า โรงงานถูกน้ำท่วมจนต้องหยุดงาน และนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในช่วงเดือน ต.ค.และ พ.ย.นี้ พร้อมทั้งไม่มีความชัดเจนเรื่องการจ้างงาน จึงได้ไปยื่นคำร้องที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ปทุมธานี เพราะไม่แน่ใจว่านายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ เนื่องจากช่วงหยุดงานต้องไปกู้เงินนอกระบบกว่า 1 หมื่นบาท เสียดอกเบี้ยร้อยละ 25 มาใช้จ่ายเพื่อดูแลครอบครัว จึงอยากให้กระทรวงแรงงาน หรือรัฐบาล จัดหาเงินมาช่วยเหลือบ้าง ซึ่งอาจจะนำเงินจากกองทุนประกันสังคมมาช่วยเหลือแรงงาน ส่วนนายจ้างหากจะเลิกจ้าง ก็อยากได้ค่าจ้างค้างจ่ายและสิทธิอื่นๆ ตามกฎหมาย
น.ส.ปณยา เพิ่มขุนทด วัย 45 ปี พนักงานฝ่ายผลิตบริษัท คาซิโอ้ประเทศไทย จำกัด อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตนกับเพื่อนพนักงานหลายร้อยคนได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากกระทรวงแรงงาน เนื่องจากเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา บริษัทประกาศเลิกจ้าง เนื่องจากย้ายกิจการไปเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่ จ.นครราชสีมา โดยการเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มกราคม 2555 ส่งผลให้พนักงานทั้งหมด 1,333 คนตกงาน และนายจ้างระบุว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
“บรรดาพนักงานมองว่า บริษัทไม่เป็นธรรม จึงมายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารกระทรวงแรงงาน เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าบอกเลิกจ้างล่วงหน้าให้แก่พนักงาน รวมถึงจ่ายค่าชดเชยเพิ่มขึ้น เนื่องจากพนักงานมีอายุงานตั้งแต่ 6-25 ปี อีกทั้งขอให้กระทรวงแรงงานหางานรองรับพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป” น.ส.ปณยา กล่าว
นายสมาน ถมยา ผู้จัดการฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ บริษัท กู๊ดเยียร์ ( ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ใน จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทมารับเกียรติบัตรจาก รมว.แรงงาน กล่าวว่า บริษัทประสบภัยน้ำท่วม แต่ก็ได้เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของกระทรวงแรงงาน โดยบริษัทจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานเต็ม 100% และหากมาช่วยฟื้นฟูบริษัทจะได้รับค่าจ้าง 150% ซึ่งได้จ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือน ต.ค.2554 ไปจนถึงเดือน มี.ค.2555 เนื่องจากต้องการรักษาสภาพการจ้างงานไว้ ซึ่งในเดือน มี.ค.ปีหน้าคาดว่าจะเปิดโรงงานผลิตสินค้าได้
ด้านนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ตนจะนำแนวคิดในเรื่องการนำงบบริหารจัดการของสปส.มาจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือให้แก่แรงงานโดยตรงรายละ 3,000 บาท ซึ่งเป็นการช่วยเหลือแบบเงินก้อนเดียว เข้าหารือในประชุมบอร์ด สปส.ในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ด สปส.ว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงาน รมว.แรงงาน ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง 27 แห่ง ทั้งนี้ ในส่วนของจ.ปทุมธานีมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ 266 แห่ง ลูกจ้าง 110,118 คน นอกจากนี้ ยังมีการจัดหางานในตำแหน่งงานว่างรองรับกว่า 3986 อัตรา ใน 57 ตำแหน่งงาน ของ 50 บริษัท รวมทั้งการสาธิตการประกอบอาชีพอิสระ 10 อาชีพ ขณะเดียวกัน ใน จ.ปทุมธานี มีบริษัทที่ได้รับกระทบจากน้ำท่วมและส่งคนงานไปทำงานกับบริษัทแม่ในต่างประเทศแล้ว 1,766 คน และเตรียมที่จะส่งเพิ่มอีก 3,321 คน ใน 23 บริษัท ส่วนใหญ่ไปประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย และ เวียดนาม
วานนี้ (16 ธ.ค.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “กระทรวงแรงงานห่วงใย ใส่ใจ ผู้ใช้แรงงาน” บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ว่า รัฐบาลพยายามที่จะให้มีการจ้างงานต่อ โดยนำมาตรการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างด้วยการช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้าง 2,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน ซึ่งมีเงื่อนไขนายจ้างต้องทำข้อตกลงกับกระทรวงแรงงานว่า จะต้องไม่เลิกจ้าง และต้องจ่ายค่าจ้าง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างเดิม รวมถึงโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนให้แรงงานที่ได้รับกระทบน้ำท่วมไปทำงานในจังหวัดอื่นที่ไม่ประสบน้ำท่วม ซึ่งมีตำแหน่งงานรองรับกว่า 7.7 หมื่นอัตรา
“จ.ปทุมธานี ถือว่าเป็นจังหวัดตัวอย่างที่นายจ้างให้ความสำคัญ และร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการบรรเทาการเลิกจ้างกว่าร้อยละ 90 ดังนั้น ผมมั่นใจว่าจะไม่มีผู้ใช้แรงงานตกงานเป็นล้านตามที่หลายฝ่ายกังวล เพราะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน นายจ้างและลูกจ้าง หากแรงงานประสบปัญหาเช่น ถูกเลิกจ้างไม่ได้รับเงินชดเชย ตกงาน ก็ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือโทร.สายด่วน 1546, 1506 เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือ” รมว.รง.กล่าว
นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมบางส่วนตกสำรวจ และติดต่อนายจ้างไม่ได้ หยุดงานและไม่ได้รับค่าจ้าง ก็ได้กำชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) ดูแลกลุ่มนี้ให้เข้มข้นขึ้น เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย อีกทั้งยังได้ให้ กสร. รวบรวมปัญหาต่างๆ ของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
“หากพบว่ามีแรงงานได้รับผลกระทบในลักษณะดังกล่าวจำนวนมากก็จะมอบให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือ หรืออาจนำแนวคิดเดิมที่จะมีการนำงบบริหารจัดการของสปส.มาจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือให้กับแรงงานโดยตรงรายละ 3,000 บาท อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมก่อน” รมว.รง.กล่าว
นายดำรงค์ เปรมสวัสดิ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า โดยภาพรวมใน จ.ปทุมธานี มีแรงงานได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 4 แสนคน ในสถานประกอบการกว่า 1 หมื่นแห่ง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแรงงานรับเหมาช่วง (ซัปคอนแทรก)กว่า 3 หมื่นคน และกลับเข้าทำงานแล้วกว่า 3 แสนคน แรงงานถูกเลิกจ้าง 6,407 คน ในสถานประกอบการ 14 แห่ง มีการจ่ายเงินชดเชยรวมกว่า 221 ล้านบาท
“ได้มีแรงงานที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมาขอความช่วยเหลือในกรณีต่างๆ เช่น ติดต่อนายจ้างไม่ได้ หยุดงาน และไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งได้ช่วยเจรจากับนายจ้างเพื่อให้แรงงานเหล่านี้ได้รับค่าจ้างและได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายกรณีถูกเลิกจ้าง ส่วนการป้องกันการเลิกจ้างนั้นได้พยายามเชิญนายจ้างให้เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของกระทรวงแรงงาน” นายดำรงค์ กล่าว
นางสมปอง ศรประยูร วัย 36 ปี พนักงานบริษัท วู๊ดล๊อค จำกัด ผลิตไม้สำเร็จรูป อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า โรงงานถูกน้ำท่วมจนต้องหยุดงาน และนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในช่วงเดือน ต.ค.และ พ.ย.นี้ พร้อมทั้งไม่มีความชัดเจนเรื่องการจ้างงาน จึงได้ไปยื่นคำร้องที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ปทุมธานี เพราะไม่แน่ใจว่านายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ เนื่องจากช่วงหยุดงานต้องไปกู้เงินนอกระบบกว่า 1 หมื่นบาท เสียดอกเบี้ยร้อยละ 25 มาใช้จ่ายเพื่อดูแลครอบครัว จึงอยากให้กระทรวงแรงงาน หรือรัฐบาล จัดหาเงินมาช่วยเหลือบ้าง ซึ่งอาจจะนำเงินจากกองทุนประกันสังคมมาช่วยเหลือแรงงาน ส่วนนายจ้างหากจะเลิกจ้าง ก็อยากได้ค่าจ้างค้างจ่ายและสิทธิอื่นๆ ตามกฎหมาย
น.ส.ปณยา เพิ่มขุนทด วัย 45 ปี พนักงานฝ่ายผลิตบริษัท คาซิโอ้ประเทศไทย จำกัด อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตนกับเพื่อนพนักงานหลายร้อยคนได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากกระทรวงแรงงาน เนื่องจากเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา บริษัทประกาศเลิกจ้าง เนื่องจากย้ายกิจการไปเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่ จ.นครราชสีมา โดยการเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มกราคม 2555 ส่งผลให้พนักงานทั้งหมด 1,333 คนตกงาน และนายจ้างระบุว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
“บรรดาพนักงานมองว่า บริษัทไม่เป็นธรรม จึงมายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารกระทรวงแรงงาน เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าบอกเลิกจ้างล่วงหน้าให้แก่พนักงาน รวมถึงจ่ายค่าชดเชยเพิ่มขึ้น เนื่องจากพนักงานมีอายุงานตั้งแต่ 6-25 ปี อีกทั้งขอให้กระทรวงแรงงานหางานรองรับพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป” น.ส.ปณยา กล่าว
นายสมาน ถมยา ผู้จัดการฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ บริษัท กู๊ดเยียร์ ( ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ใน จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทมารับเกียรติบัตรจาก รมว.แรงงาน กล่าวว่า บริษัทประสบภัยน้ำท่วม แต่ก็ได้เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของกระทรวงแรงงาน โดยบริษัทจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานเต็ม 100% และหากมาช่วยฟื้นฟูบริษัทจะได้รับค่าจ้าง 150% ซึ่งได้จ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือน ต.ค.2554 ไปจนถึงเดือน มี.ค.2555 เนื่องจากต้องการรักษาสภาพการจ้างงานไว้ ซึ่งในเดือน มี.ค.ปีหน้าคาดว่าจะเปิดโรงงานผลิตสินค้าได้
ด้านนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ตนจะนำแนวคิดในเรื่องการนำงบบริหารจัดการของสปส.มาจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือให้แก่แรงงานโดยตรงรายละ 3,000 บาท ซึ่งเป็นการช่วยเหลือแบบเงินก้อนเดียว เข้าหารือในประชุมบอร์ด สปส.ในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ด สปส.ว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงาน รมว.แรงงาน ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง 27 แห่ง ทั้งนี้ ในส่วนของจ.ปทุมธานีมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ 266 แห่ง ลูกจ้าง 110,118 คน นอกจากนี้ ยังมีการจัดหางานในตำแหน่งงานว่างรองรับกว่า 3986 อัตรา ใน 57 ตำแหน่งงาน ของ 50 บริษัท รวมทั้งการสาธิตการประกอบอาชีพอิสระ 10 อาชีพ ขณะเดียวกัน ใน จ.ปทุมธานี มีบริษัทที่ได้รับกระทบจากน้ำท่วมและส่งคนงานไปทำงานกับบริษัทแม่ในต่างประเทศแล้ว 1,766 คน และเตรียมที่จะส่งเพิ่มอีก 3,321 คน ใน 23 บริษัท ส่วนใหญ่ไปประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย และ เวียดนาม