สปส.ยืนยันอัตราค่ารักษากลุ่มโรคร้ายแรงมีผลวิจัยรองรับชัดเจน แจงไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ รพ.เอกชน ประธาน คสรท.หนุนพร้อมแนะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้งบ
วานนี้ (15 ธ.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขตั้งข้อสังเกตการปรับรูปแบบวิธีการจ่าย ค่ารักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมจากแบบเหมาจ่ายรายหัวและครอบคลุมทุกโรคเป็นแบบจ่ายค่ารักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงต่างๆ ในวันที่ 1 ม.ค.2555 โดยระบุว่า เป็นการตั้งอัตราเริ่มต้นที่ระดับละ 1.5 หมื่นบาท และสูงสุดกว่า 6 แสนบาทนั้น สูงเกินไป โดยสูงกว่าระบบการรักษาพยาบาลของข้าราชการและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) นั้นว่า การคำนวณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ หรือ RW มาจากข้อเท็จจริง ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อใคร ที่สำคัญการคำนวณดังกล่าวยังได้นักวิจัยจากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลัก ประกันสุขภาพไทย (สวปก.) มาช่วยจัดทำ โดยได้ทำการศึกษาตั้งแต่ปี 2550-2553 ซึ่งถือว่าใหม่ที่สุด
“ขณะเดียวกัน ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้อแตกต่างระหว่าง 3 ระบบสุขภาพ จริงๆ แล้วต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิทธิสวัสดิการข้าราชการไม่ได้รวมค่าห้องค่าแพทย์ ส่วนบัตรทองซึ่งกำหนดราคาค่าใช้จ่ายดังกล่าวค่อนข้างน้อยก็ต้องถามกลับไปว่า การกำหนดราคาเช่นนี้เพราะอยู่ภายใต้งบจำกัดหรือไม่” นพ.สุรเดช กล่าว
นพ.สุรเดช กล่าวด้วยว่า ขณะที่ สปส.กำหนดราคาค่าใช้จ่ายโรคร้ายแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 15,000 บาท ถือเป็นตัวเลขจริง เพราะรวมค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าแพทย์ ทั้งหมด ซึ่งทำให้โรงพยาบาล (รพ.) คู่สัญญาอยู่ได้ ไม่เป็นการเพิ่มภาระ ขณะที่ผู้ประกันตนก็ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ดังนั้น ขอยืนยันว่า ข้อมูลถูกต้อง และยินดีหากหน่วยงานใดต้องการเข้ามาตรวจสอบ เพราะข้อมูลเปิดเผยได้อยู่แล้ว
นพ.กำพล พลัสสินทร์ ประธานชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดี ทำให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงบริการมากขึ้น และสะดวกขึ้น เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าโรงพยาบาลคู่สัญญาบางแห่ง เมื่อไม่สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคร้ายแรงได้ กลับชะลอเคสเอาไว้ และไม่ยอมส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า เนื่องจากต้องจ่ายเงินให้ ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ที่สำคัญ จากการใช้ระบบเดิม คือ การเหมาจ่ายรายหัวละ 2,050 บาท ในทุกกลุ่มโรค ส่งผลต่อการเพิ่มภาระให้รพ.ทำให้ รพ.เอกชน ที่เป็นคู่สัญญาทยอยออกจากระบบประกันสังคม โดยปัจจุบันเหลืออยู่ราว 89 แห่ง จากเดิมทีมีอยู่ประมาณ 100 กว่าแห่ง ตรงนี้เป็นปัญหามาตลอด แต่เมื่อบอร์ด สปส.มีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงิน ถือเป็นเรื่องดี เพราะถือว่าได้ประโยชน์ทั้ง รพ.และผู้ประกันตน
นพ.กำพล ยังกล่าวถึงกรณีมีนักวิชาการสาธารณสุขมองว่า การกำหนดค่ารักษาพยาบาลโรคร้ายแรงอัตราละ 15,000 บาท เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อ รพ.เอกชน ว่า ไม่เกี่ยวกัน เนื่องจากราคาที่กำหนดเป็นราคาที่วินๆ แต่ไม่ได้เอื้อประโยชน์กับใคร จะมีผลประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนมากกว่า เพราะจริงๆ แล้วการรักษาพยาบาลกลุ่มโรคร้ายแรงต่างๆ ในโรงพยาบาลเอกชน หากต้องการให้คุ้มทุนจริงๆ เฉลี่ยสูงถึง 25,000 บาท ซึ่งรวมค่าห้องค่าแพทย์ด้วย แต่การที่ รพ.เอกชน ยอมที่ราคาของ สปส.เพราะเห็นว่าพออยู่ได้ และเป็นการช่วยกันมากกว่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อ สปส.มีการปรับเกณฑ์การจ่ายเงินใหม่ ตนจะมีการหารือกับ รพ.เอกชนอื่นๆ ที่ออกจากระบบไปก่อนหน้านี้ ว่า จะสนใจเข้าร่วมอีกครั้งหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่า สปส.ก็ยินดี
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับการปรับระบบการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลของ สปส.เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อผู้ประกันตนไปเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ หากโรงพยาบาลพบว่าแรงงานป่วยเป็นโรคร้ายแรง ก็จะถูกรั้งตัวไว้เป็นเวลานาน โดยไม่ส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพการรักษาสูงกว่า โดยอ้างว่าแพทย์ไม่ว่าง มีคิวการรักษา ผ่าตัดยาวเพราะกลัวต้องเสียงบค่ารักษาโรคร้ายแรงซึ่งใช้งบสูงมาก เนื่องจากงบเหมาจ่ายรายหัวจาก สปส.คนละ 2,050 บาทต่อปี ไม่เพียงพอ จึงมองว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้วที่ผู้ประกันตน จะต้องได้รับการบริการรักษาพยาบาลจากระบบประกันสังคมที่ดีกว่าทั้งสองระบบดังกล่าว
“ส่วนกรณีที่นักวิชาการเป็นห่วงว่าการระบบการจ่ายรักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงต่างๆ ของประกันสังคม จะก่อให้เกิดการเอื้อประโยชน์ต่อโรงพยาบาลเอกชนนั้น ผมคิดว่า สปส.ควรป้องกันไว้ก่อนโดยมีระบบควบคุมและตรวจสอบด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบกองกลางกว่า 4.4 พันล้านบาท เพื่อป้องกันการใช้งบไปในทางที่เอื้อประโยชน์ต่อโรงพยาบาลเอกชน” นายชาลี กล่าว
วานนี้ (15 ธ.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขตั้งข้อสังเกตการปรับรูปแบบวิธีการจ่าย ค่ารักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมจากแบบเหมาจ่ายรายหัวและครอบคลุมทุกโรคเป็นแบบจ่ายค่ารักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงต่างๆ ในวันที่ 1 ม.ค.2555 โดยระบุว่า เป็นการตั้งอัตราเริ่มต้นที่ระดับละ 1.5 หมื่นบาท และสูงสุดกว่า 6 แสนบาทนั้น สูงเกินไป โดยสูงกว่าระบบการรักษาพยาบาลของข้าราชการและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) นั้นว่า การคำนวณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ หรือ RW มาจากข้อเท็จจริง ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อใคร ที่สำคัญการคำนวณดังกล่าวยังได้นักวิจัยจากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลัก ประกันสุขภาพไทย (สวปก.) มาช่วยจัดทำ โดยได้ทำการศึกษาตั้งแต่ปี 2550-2553 ซึ่งถือว่าใหม่ที่สุด
“ขณะเดียวกัน ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้อแตกต่างระหว่าง 3 ระบบสุขภาพ จริงๆ แล้วต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิทธิสวัสดิการข้าราชการไม่ได้รวมค่าห้องค่าแพทย์ ส่วนบัตรทองซึ่งกำหนดราคาค่าใช้จ่ายดังกล่าวค่อนข้างน้อยก็ต้องถามกลับไปว่า การกำหนดราคาเช่นนี้เพราะอยู่ภายใต้งบจำกัดหรือไม่” นพ.สุรเดช กล่าว
นพ.สุรเดช กล่าวด้วยว่า ขณะที่ สปส.กำหนดราคาค่าใช้จ่ายโรคร้ายแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 15,000 บาท ถือเป็นตัวเลขจริง เพราะรวมค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าแพทย์ ทั้งหมด ซึ่งทำให้โรงพยาบาล (รพ.) คู่สัญญาอยู่ได้ ไม่เป็นการเพิ่มภาระ ขณะที่ผู้ประกันตนก็ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ดังนั้น ขอยืนยันว่า ข้อมูลถูกต้อง และยินดีหากหน่วยงานใดต้องการเข้ามาตรวจสอบ เพราะข้อมูลเปิดเผยได้อยู่แล้ว
นพ.กำพล พลัสสินทร์ ประธานชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดี ทำให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงบริการมากขึ้น และสะดวกขึ้น เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าโรงพยาบาลคู่สัญญาบางแห่ง เมื่อไม่สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคร้ายแรงได้ กลับชะลอเคสเอาไว้ และไม่ยอมส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า เนื่องจากต้องจ่ายเงินให้ ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ที่สำคัญ จากการใช้ระบบเดิม คือ การเหมาจ่ายรายหัวละ 2,050 บาท ในทุกกลุ่มโรค ส่งผลต่อการเพิ่มภาระให้รพ.ทำให้ รพ.เอกชน ที่เป็นคู่สัญญาทยอยออกจากระบบประกันสังคม โดยปัจจุบันเหลืออยู่ราว 89 แห่ง จากเดิมทีมีอยู่ประมาณ 100 กว่าแห่ง ตรงนี้เป็นปัญหามาตลอด แต่เมื่อบอร์ด สปส.มีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงิน ถือเป็นเรื่องดี เพราะถือว่าได้ประโยชน์ทั้ง รพ.และผู้ประกันตน
นพ.กำพล ยังกล่าวถึงกรณีมีนักวิชาการสาธารณสุขมองว่า การกำหนดค่ารักษาพยาบาลโรคร้ายแรงอัตราละ 15,000 บาท เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อ รพ.เอกชน ว่า ไม่เกี่ยวกัน เนื่องจากราคาที่กำหนดเป็นราคาที่วินๆ แต่ไม่ได้เอื้อประโยชน์กับใคร จะมีผลประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนมากกว่า เพราะจริงๆ แล้วการรักษาพยาบาลกลุ่มโรคร้ายแรงต่างๆ ในโรงพยาบาลเอกชน หากต้องการให้คุ้มทุนจริงๆ เฉลี่ยสูงถึง 25,000 บาท ซึ่งรวมค่าห้องค่าแพทย์ด้วย แต่การที่ รพ.เอกชน ยอมที่ราคาของ สปส.เพราะเห็นว่าพออยู่ได้ และเป็นการช่วยกันมากกว่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อ สปส.มีการปรับเกณฑ์การจ่ายเงินใหม่ ตนจะมีการหารือกับ รพ.เอกชนอื่นๆ ที่ออกจากระบบไปก่อนหน้านี้ ว่า จะสนใจเข้าร่วมอีกครั้งหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่า สปส.ก็ยินดี
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับการปรับระบบการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลของ สปส.เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อผู้ประกันตนไปเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ หากโรงพยาบาลพบว่าแรงงานป่วยเป็นโรคร้ายแรง ก็จะถูกรั้งตัวไว้เป็นเวลานาน โดยไม่ส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพการรักษาสูงกว่า โดยอ้างว่าแพทย์ไม่ว่าง มีคิวการรักษา ผ่าตัดยาวเพราะกลัวต้องเสียงบค่ารักษาโรคร้ายแรงซึ่งใช้งบสูงมาก เนื่องจากงบเหมาจ่ายรายหัวจาก สปส.คนละ 2,050 บาทต่อปี ไม่เพียงพอ จึงมองว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้วที่ผู้ประกันตน จะต้องได้รับการบริการรักษาพยาบาลจากระบบประกันสังคมที่ดีกว่าทั้งสองระบบดังกล่าว
“ส่วนกรณีที่นักวิชาการเป็นห่วงว่าการระบบการจ่ายรักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงต่างๆ ของประกันสังคม จะก่อให้เกิดการเอื้อประโยชน์ต่อโรงพยาบาลเอกชนนั้น ผมคิดว่า สปส.ควรป้องกันไว้ก่อนโดยมีระบบควบคุมและตรวจสอบด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบกองกลางกว่า 4.4 พันล้านบาท เพื่อป้องกันการใช้งบไปในทางที่เอื้อประโยชน์ต่อโรงพยาบาลเอกชน” นายชาลี กล่าว