ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ร้อง สปส.หยุดสร้างมายาภาพในการรักษาพยาบาล ชี้ ไม่มีกลไกรับประกันคุณภาพให้ผู้ประกันตน พร้อมเรียกร้อง รมว.สธ. ทำให้มาตรฐานการรักษาพยาบาลสำหรับทุกคนมีมาตรฐานเดียว
นส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะผู้ประสานงาน ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวว่า ชมรมฯ เรียกร้องสำนักงานประกันสังคมหยุดสร้างมายาภาพ ว่า ผู้ประกันตนจะได้บริการที่ดีขึ้นในกรณีการเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินผู้ป่วยใน และโรคค่าใช้จ่ายสูงในลักษณะ DRG (ตามกลุ่มโรค) เพราะหากสำนักงานประกันสังคมไม่มีกลไกในการติดตามคุณภาพ หรือการจ่ายค่าบริการ DRG ที่เกินกว่าระบบสวัสดิการข้าราชการและบัตรทองก็จะไม่ทำให้เกิดคุณภาพที่ดีได้จริง ทำให้ผู้ประกันตนซึ่งเป็นผู้รับภาระค่ารักษาพยาบาลเพียงกลุ่มเดียวในปัจจุบันเสียประโยชน์ และต้องจ่ายเงินค่าบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันโรงพยาบาลเอกชนซึ่งเป็นผู้ให้บริการได้ประโยชน์
“ถึงแม้การจ่ายเงินตามระบบ DRG จะเป็นวิธีการที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้การจ่ายค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการสอดคล้องกับภาระโรคที่ รพ.รับภาระ แต่บริการที่ผู้ประกันตนได้รับจะดีขึ้นตามเงินที่จ่ายหรือไม่ ต้องมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีกหลายประการ เช่น ในแต่ละโรคที่ว่า รพ.ให้บริการได้มาตรฐานของการรักษาหรือไม่ ระบบติดตามตรวจสอบคุณภาพที่เท่าทันการรักษาของ รพ.มีจริงหรือไม่ เพราะขณะนี้ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานบริการเป็นเรื่องที่ผู้ประกันตนต้องดำเนินการและต่อรองด้วยตนเองทั้งสิ้น อัตราการจ่ายต่อ 1 RW นี้ไม่มีที่ไปที่มาขาดเหตุผลทางวิชาการที่รองรับ เพราะ สปส.จ่ายค่า 1 RW ที่ 15,000 บาท สูงเกินกว่าระบบบัตรทองและข้าราชการ ทั้งที่ระบบสวัสดิการก็จ่ายเงินต่อโรคที่สูงกว่าบัตรทองมาก ซึ่งทำให้ส่งผลต่อกองทุนประกันสังคมในด้านอื่นๆ ได้” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ อยากให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ทบทวนการจ่ายเงินต่อโรคในอัตรา 15,000 บาทครั้งนี้ รวมทั้งให้สำนักงานประกันสังคม พัฒนากลไกและระบบติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานบริการสำหรับผู้ประกันตนพร้อมเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ต้องควบคุมและกำหนดมาตรฐานการจ่ายเงินให้กับหน่วยบริการ ตลอดจนทำให้มาตรฐานการรักษาพยาบาลสำหรับทุกคนมีมาตรฐานเดียว และทำให้การจ่ายเงินจากระบบต่างๆ สอดคล้อง และใกล้เคียงกันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในระบบบริการสาธารณสุข ตลอดจนพัฒนากลไกให้ระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบมีการประสานงาน สร้างกำลังต่อรองกับโรงพยาบาลเอกชน ให้ยอมรับราคากลางที่ไม่ค้ากำไรเกินควร เพื่อมีกลไกกำหนดราคา และคุณภาพการรักษาพยาบาล ไม่ใช่สนับสนุนให้เกิดกติกาที่สร้างความไม่เท่าเทียมและเกิดการเลือกปฏิบัติเพิ่มขึ้น รวมทั้งสะท้อนให้เห็นว่าโรงพยาบาลเอกชนมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคากลางที่สูงเกินความจำเป็น และจะนำไปสู่การล้มละลายของระบบสุขภาพ
นส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะผู้ประสานงาน ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวว่า ชมรมฯ เรียกร้องสำนักงานประกันสังคมหยุดสร้างมายาภาพ ว่า ผู้ประกันตนจะได้บริการที่ดีขึ้นในกรณีการเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินผู้ป่วยใน และโรคค่าใช้จ่ายสูงในลักษณะ DRG (ตามกลุ่มโรค) เพราะหากสำนักงานประกันสังคมไม่มีกลไกในการติดตามคุณภาพ หรือการจ่ายค่าบริการ DRG ที่เกินกว่าระบบสวัสดิการข้าราชการและบัตรทองก็จะไม่ทำให้เกิดคุณภาพที่ดีได้จริง ทำให้ผู้ประกันตนซึ่งเป็นผู้รับภาระค่ารักษาพยาบาลเพียงกลุ่มเดียวในปัจจุบันเสียประโยชน์ และต้องจ่ายเงินค่าบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันโรงพยาบาลเอกชนซึ่งเป็นผู้ให้บริการได้ประโยชน์
“ถึงแม้การจ่ายเงินตามระบบ DRG จะเป็นวิธีการที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้การจ่ายค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการสอดคล้องกับภาระโรคที่ รพ.รับภาระ แต่บริการที่ผู้ประกันตนได้รับจะดีขึ้นตามเงินที่จ่ายหรือไม่ ต้องมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีกหลายประการ เช่น ในแต่ละโรคที่ว่า รพ.ให้บริการได้มาตรฐานของการรักษาหรือไม่ ระบบติดตามตรวจสอบคุณภาพที่เท่าทันการรักษาของ รพ.มีจริงหรือไม่ เพราะขณะนี้ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานบริการเป็นเรื่องที่ผู้ประกันตนต้องดำเนินการและต่อรองด้วยตนเองทั้งสิ้น อัตราการจ่ายต่อ 1 RW นี้ไม่มีที่ไปที่มาขาดเหตุผลทางวิชาการที่รองรับ เพราะ สปส.จ่ายค่า 1 RW ที่ 15,000 บาท สูงเกินกว่าระบบบัตรทองและข้าราชการ ทั้งที่ระบบสวัสดิการก็จ่ายเงินต่อโรคที่สูงกว่าบัตรทองมาก ซึ่งทำให้ส่งผลต่อกองทุนประกันสังคมในด้านอื่นๆ ได้” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ อยากให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ทบทวนการจ่ายเงินต่อโรคในอัตรา 15,000 บาทครั้งนี้ รวมทั้งให้สำนักงานประกันสังคม พัฒนากลไกและระบบติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานบริการสำหรับผู้ประกันตนพร้อมเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ต้องควบคุมและกำหนดมาตรฐานการจ่ายเงินให้กับหน่วยบริการ ตลอดจนทำให้มาตรฐานการรักษาพยาบาลสำหรับทุกคนมีมาตรฐานเดียว และทำให้การจ่ายเงินจากระบบต่างๆ สอดคล้อง และใกล้เคียงกันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในระบบบริการสาธารณสุข ตลอดจนพัฒนากลไกให้ระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบมีการประสานงาน สร้างกำลังต่อรองกับโรงพยาบาลเอกชน ให้ยอมรับราคากลางที่ไม่ค้ากำไรเกินควร เพื่อมีกลไกกำหนดราคา และคุณภาพการรักษาพยาบาล ไม่ใช่สนับสนุนให้เกิดกติกาที่สร้างความไม่เท่าเทียมและเกิดการเลือกปฏิบัติเพิ่มขึ้น รวมทั้งสะท้อนให้เห็นว่าโรงพยาบาลเอกชนมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคากลางที่สูงเกินความจำเป็น และจะนำไปสู่การล้มละลายของระบบสุขภาพ