สภาการหนังสือพิมพ์ฯ รับทราบ “เครือมติชน” และหนังสือพิมพ์อีคอนนิวส์ ลาออกจากภาคีสมาชิก พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กรณี 2 ผู้ถูกพาดพิง ยื่นคัดค้านผลการสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการ
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 เวลา 10.00 น.ในการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่ประชุมได้รับทราบการลาออกขององค์กรสมาชิกหนังสือพิมพ์เครือมติชน จากกรณีผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของนักการเมือง ระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน จึงมีมติให้ยุติการตรวจสอบตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ข้อ 5 และข้อ 10 ประกอบกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อสมาชิก หรือผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์พ้นจากสมาชิกภาพไปแล้ว สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก และผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้สังกัดสมาชิกให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพและข้อบังคับหรือระเบียบปฏิบัติอื่นได้ ส่วนการลาออกของหนังสือพิมพ์อีคอนนิวส์ เป็นการลาออกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัท อีคอนนิวส์ จำกัด และหนังสือพิมพ์อีคอนนิวส์ เท่านั้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาวาระสืบเนื่องจากรายงานผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่อง กรณีอีเมลนักการเมืองซื้อสื่อ ภายหลังแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องและองค์กรสมาชิกที่เกี่ยวข้องพิจารณา หากมีความเห็นคัดค้าน สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการฯ หรือคณะกรรมการ ได้ภายใน 20 วัน ปรากฏว่า มีผู้ยื่นอุทธรณ์ 2 ราย
ที่ประชุมได้พิจารณาเหตุผลในหนังสือคัดค้านแล้วเห็นควรตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2540 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งแรก พ.ศ.2546 ครั้งที่ พ.ศ.2548 ข้อ 22 และ 23 ได้แก่ 1) รศ.จุมพล รอดคำดี 2) นายศักดิ์สิทธิ์ วิบูลศิลป์โสภณ 3) นายสวิชย์ บำรุงสุข 4) นางสาวสารี อ๋องสมหวัง 5) นายจักรกฤชณ์ แววคล้ายหงส์
ทั้งนี้ กำหนดให้ คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ รายงานผลการพิจารณาให้คณะกรรมการฯ รับทราบภายใน 30 วัน หากยังไม่แล้ว ให้ทำหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการ พิจารณาต่อไป
อนึ่ง ที่ประชุมยังมีมติให้สำนักเลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ทำหนังสือขอบคุณองค์กรสมาชิกหนังสือพิมพ์เครือเนชั่น ที่ได้ทำหนังสือแจ้งต่อสภาการฯ ยืนยันและยังคงยึดมั่นปฏิบัติตามหลักว่าด้วยจริยธรรมสื่อมวลชนของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ โดยเคร่งครัด
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 เวลา 10.00 น.ในการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่ประชุมได้รับทราบการลาออกขององค์กรสมาชิกหนังสือพิมพ์เครือมติชน จากกรณีผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของนักการเมือง ระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน จึงมีมติให้ยุติการตรวจสอบตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ข้อ 5 และข้อ 10 ประกอบกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อสมาชิก หรือผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์พ้นจากสมาชิกภาพไปแล้ว สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก และผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้สังกัดสมาชิกให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพและข้อบังคับหรือระเบียบปฏิบัติอื่นได้ ส่วนการลาออกของหนังสือพิมพ์อีคอนนิวส์ เป็นการลาออกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัท อีคอนนิวส์ จำกัด และหนังสือพิมพ์อีคอนนิวส์ เท่านั้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาวาระสืบเนื่องจากรายงานผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่อง กรณีอีเมลนักการเมืองซื้อสื่อ ภายหลังแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องและองค์กรสมาชิกที่เกี่ยวข้องพิจารณา หากมีความเห็นคัดค้าน สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการฯ หรือคณะกรรมการ ได้ภายใน 20 วัน ปรากฏว่า มีผู้ยื่นอุทธรณ์ 2 ราย
ที่ประชุมได้พิจารณาเหตุผลในหนังสือคัดค้านแล้วเห็นควรตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2540 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งแรก พ.ศ.2546 ครั้งที่ พ.ศ.2548 ข้อ 22 และ 23 ได้แก่ 1) รศ.จุมพล รอดคำดี 2) นายศักดิ์สิทธิ์ วิบูลศิลป์โสภณ 3) นายสวิชย์ บำรุงสุข 4) นางสาวสารี อ๋องสมหวัง 5) นายจักรกฤชณ์ แววคล้ายหงส์
ทั้งนี้ กำหนดให้ คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ รายงานผลการพิจารณาให้คณะกรรมการฯ รับทราบภายใน 30 วัน หากยังไม่แล้ว ให้ทำหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการ พิจารณาต่อไป
อนึ่ง ที่ประชุมยังมีมติให้สำนักเลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ทำหนังสือขอบคุณองค์กรสมาชิกหนังสือพิมพ์เครือเนชั่น ที่ได้ทำหนังสือแจ้งต่อสภาการฯ ยืนยันและยังคงยึดมั่นปฏิบัติตามหลักว่าด้วยจริยธรรมสื่อมวลชนของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ โดยเคร่งครัด